Tourism smart data : Big data กับการท่องเที่ยว
Tourism Authority of Thailand (TAT) places importance on developing tourism marketing database to meet market needs. By utilizing the advantage from digital technologies, we are currently working on. The TAT Big Data Road Map with the objective to gather sources of useful information and analysis in one place. By doing this, TAT will be able to utilize all useful information to create suitable marketing tactics and strategies.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาฐานข้อมูล ทั้งด้านตลาดการท่องเที่ยว รวมถึงด้านความต้องการของตลาดหรือนักท่องเที่ยว ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล จึงได้มีการเตรียมพร้อมในการดำเนินงาน ด้าน Big Data และจัดเตรียมการทำโครงสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ไว้แล้ว โดยมีแนวทางการดำเนินงานด้าน Big Data ดังต่อไปนี้
แนวทางการดำเนินงานด้าน Big Data (TAT Big Data Road Map)
วัตถุประสงค์ของการทำ Big Data ของ ททท. คือการนำข้อมูล ด้านการท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูลแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่ง มาประมวลผลเพื่อให้ ททท. มีข้อมูลสนับสนุนสำหรับใช้ในการกำหนด กลยุทธ์การตลาดด้านการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ ดังนั้น ก่อนการดำเนินการ ททท. จึงกำหนดเป้าหมายของการทำ Big Data ที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถระบุแหล่งข้อมูล กำหนดแนวทางการเก็บข้อมูล คัดเลือกวิธีการประมวลผล และรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์
โจทย์ที่สำคัญของประเทศไทยด้านการท่องเที่ยว ได้แก่
• การรักษาฐานตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมให้เดินทางกลับมาเที่ยวซ้ำ (Revisit)
• การหาฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ (New Visitor)
• การกระจายการท่องเที่ยวจากเมืองหลักไปยังเมืองรอง
• การหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่
ซึ่ง ททท. สามารถนำข้อมูล Big Data ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่มาช่วยสนับสนุนการวางแผนด้านการตลาดได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยพันธกิจของ ททท. ที่มุ่งประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นหลัก ททท. จึงไม่ได้เป็นเจ้าของข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวจะปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายสังคม เว็บไซต์ ที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยว ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือร้านค้า และแหล่งท่องเที่ยวโดยตรง
ดังนั้น ททท. จึงวางแผนการเก็บเกี่ยวประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ ดังนี้
1. ช่วงเตรียมความพร้อม
นำโจทย์ที่ได้ไปแปลงเป็นรายการข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำตลาดด้านการท่องเที่ยว และคัดเลือกแหล่งข้อมูล ที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งสำคัญของขั้นตอนนี้คือการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในองค์กรและ ภายนอกองค์กร เพื่อให้ได้ภาพที่จะเกิดขึ้นจากการทำ Big Data ที่สามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกัน ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
2. ช่วงการพัฒนา
แผนพัฒนาระยะสั้น : ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเพื่อนำข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ประโยชน์ โดยข้อมูลที่จะขอแบ่งปันจากบริษัทเอกชนควรเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เช่น จำนวนการจองห้องพักหรือการเข้าพักใน แต่ละพื้นที่ สรุปจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติแต่ละเดือนที่เดินทางเข้าประเทศไทยโดยเครื่องบินไปยังจังหวัด ต่างๆ ในกรณีนี้ ททท. ไม่จำเป็นต้องดำเนินการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่เอง เนื่องจากข้อจำกัดเรื่อง ความลับทางธุรกิจและสิทธิส่วนบุคคล ส่งผลให้บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ไม่สามารถให้ข้อมูลระดับที่ลงลึกถึง รายละเอียด
แผนพัฒนาระยะยาว : การพัฒนากลไกลและเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายวิธี อาทิ
1.ร่วมมือกับบริษัทให้บริการด้านโทรคมนาคม เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงการกระจายตัวในพื้นที่ท่องเที่ยว
2.ร่วมมือกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย ในการนำข้อมูลด้านการท่องเที่ยวมา วิเคราะห์โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลคำวิจารณ์ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งต้องนำไปประมวลผลเพื่อการวิเคราะห์ ความพึงพอใจในสถานที่ที่ถูกอ้างอิงถึง ซึ่ง ททท. สามารถนำผลการวิเคราะห์นี้มาจัดเก็บเพื่อประมวลผล และนำแสดงในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปสนับสนุนการวางแผนการตลาดต่อไป
3.การพัฒนาระบบสำหรับรวบรวมข้อมูลจากเครือข่ายสังคม (Social Listening) และประมวลผลข้อมูล
ช่วงการประยุกต์ใช้ : นอกจากการรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ททท. มีหน้าที่ต้องนำข้อมูลที่ผ่านการ วิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยี Big Data ไปประยุกต์ใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์และตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจขององค์กรได้ อีกทั้งเพื่อแบ่งปันข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยได้ใช้ประโยชน์ ร่วมกันด้วย
มิติของข้อมูลที่คาดว่าจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว
ข้อมูล 3 ประเภทที่จะนำมาใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว
1. Marketing แสดงข้อมูลทางด้านการตลาด และการดำเนินงานของ ททท. ทั้งหมดจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อม รับมือในธุรกิจท่องเที่ยว
2. Tourism แสดงข้อมูลนักท่องเที่ยวและยอดค่าใช้จ่ายจากนักท่องเที่ยว เพื่อประเมินผลวิธีการสื่อสารทางการตลาดให้สะท้อนกลับไปเป็นผล เชิงรายได้
3. Voice of Customer รวบรวมข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนา ประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการพัฒนา Big Data
Big Data นั้นมีวิธีการทำงาน และเครื่องมือต่างๆ ให้เลือกใช้เป็นจำนวนมาก แต่ละหน่วยงานสามารถ ขอจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อพัฒนาระบบมาใช้งาน ซึ่งเครื่องมือแต่ละผู้ผลิตจะสามารถตอบสนองต่อ ความต้องการและการใช้งานพื้นฐานคล้ายๆ กัน แต่สิ่งที่สำคัญและทำให้แต่ละองค์กรสามารถทำโครงการ ด้าน Big Data ให้ประสบความสำเร็จได้หรือไม่ มากน้อยแตกต่างกัน มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่มีความสำคัญ ประกอบด้วย
1. เป้าหมาย (Goal) หรือสิ่งที่ต้องการจากการทำ โครงการ Big Data ก่อนที่จะทำโครงการใดๆ ก็ควรมีการตั้งเป้าหมาย ทราบปัญหาที่อยาก แก้ไข หรือสิ่งที่ต้องการในการทำงานให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร เพื่ออะไร การตั้งเป้าหมายนี้จะมีผลต่อการออกแบบวิธีการทำงาน และส่วนประกอบ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินโครงการให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ ได้ หากเป้าหมายมีความชัดเจน การดำเนินโครงการก็จะมีโอกาสสำเร็จ มากยิ่งขึ้น ตรงกันข้าม หากโครงการใดมีเป้าหมายที่ไม่ชัดเจนก็เป็น การยากที่จะดำเนินโครงการให้ประสบผลสำเร็จได้ หรืออาจต้องใช้เวลา ในการพัฒนามากกว่าที่ควรจะเป็น
2. ข้อมูล (Data) องค์กรที่มีข้อมูลสนับสนุนจำนวนมาก ข้อมูลที่มีคุณภาพ ข้อมูลมีความ ทันสมัย ใกล้เคียงความเป็นจริงเป็นปัจจุบัน (Realtime) ย่อมได้เปรียบ ในการทำงาน สามารถนำข้อมูลนั้นๆ ไปศึกษา วิเคราะห์ให้ได้ผลลัพธ์ เป็นสารสนเทศ จนสร้างมูลค่าของธุรกิจจากการนำข้อมูลจำนวนมาก ทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาวิเคราะห์ประมวลผล และสามารถ นำไปใช้ในการกำหนดทิศทาง นโยบาย หรือกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
3. บุคลากร (People) ประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องหลักๆ ดังนี้
1. ผู้บริหาร (Administrator) จะต้องเข้าใจ Big Data และสามารถกำหนดทิศทางการใช้งาน Big Data ในองค์กรได้อย่างชาญฉลาด สามารถนำหรือกำหนดทิศทางองค์กรให้สามารถใช้ประโยชน์จาก Big Data ได้อย่างเต็มที่
2. นักวิเคราะห์ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) จะเป็นผู้ที่นำข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีอยู่มาวิเคราะห์และแปลผลให้เกิดประโยชน์ โดยผ่านเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. ผู้ใช้งาน (User) ผู้ใช้งานจะต้องสามารถนำผลที่ได้จากการดำเนินงาน Big Data ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานขององค์กรได้
เรื่องโดย : กลุ่มฐานข้อมูลการตลาด ททท.