เมื่อโลกต้องการพาสปอร์ตภูมิคุ้มกัน

 

เมื่อการเดินทางท่องเที่ยวแห่งศตวรรษที่ 21 อาจต้องพึ่งพา ‘วัคซีนพาสปอร์ต’ เพื่อไปต่อ

 

วัคซีนพาสปอร์ต (Vaccine Passport) คืออะไร?

จะมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อการท่องเที่ยวโลกหลังสถานการณ์ COVID-19

ถ้าทั่วโลกต้องการใช้ ‘วัคซีนพาสปอร์ต’ จริง ๆ ทำไมในอังกฤษถึงเกิดการประท้วงเรื่องนี้ขึ้น?

 

มาติดตามกันกับ #TATReviewMagazine ได้เลยค่า

 

Vaccine Passport จะกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเดินทางท่องเที่ยวแห่งศตวรรษที่ 21

 

 

วัคซีนพาสปอร์ต (Vaccine Passport) คือเอกสารที่ระบุสถานะการมีภูมิคุ้มกันหรือได้รับการปลูกฝังภูมิคุ้มกันโรคระบาดบางอย่างของผู้ที่ถือ อย่างเช่นในสมัยก่อนโน้น เมื่อต้องการที่จะเดินทางไปแอฟริกา ต้องไปฉีดวัคซีนโรคบางอย่างเสียก่อน 

 

เอกสารที่ว่านี้ เดิมทีเราคุ้นกันในชื่อ ‘ใบเหลือง’ หรือ The International Certificate of Vaccination or Prophylaxis หรือ ICVP 

 

มีการคาดการณ์กันไว้ว่า ทางออกใหม่ของการท่องเที่ยวในอนาคต ก็คือวัคซีนพาสปอร์ตนี้เอง ที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยยืนยันว่าเราได้รับวัคซีน COVID-19 แล้ว เพื่อให้สามารถเดินทางเข้าประเทศต่าง ๆ ได้ 

 


 

ย้อนรอยดู ‘ใบเหลือง’ หรือ The International Certificate of Vaccination or Prophylaxis (ICVP)

 

 

ใบเหลืองเป็นเอกสารที่ออกโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ถือเป็นเอกสารการเดินทางประเภทที่เรียกว่า Medical Passport อย่างหนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก 

 

ใบเหลืองกำเนิดมาตั้งแต่การประชุมในปี ค.ศ. 1933 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แล้วก็มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย ๆ ตามแต่ว่าจะเกิดโรคระบาดอะไรขึ้นมาบ้าง เช่น อหิวาตกโรค ไข้เหลือง ไข้ไทฟัส หรือฝีดาษ ซึ่งในใบเหลืองนั้น จะมีรายละเอียดว่าผู้เดินทางคนนั้น ๆ ได้รับการฉีดวัคซีนอะไรมาแล้วบ้าง 

 


 

เกณฑ์การพัฒนาและใช้งานวัคซีนพาสปอร์ต COVID-19 มีความซับซ้อนและต้องพิจารณาหลายเรื่อง

 

 

การคิดทำ ‘วัคซีนพาสปอร์ต’ ขึ้นมาใหม่อีกครั้งในโลกที่ซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมนี้ มีปัญหาที่ต้องพิจารณาหลายเรื่อง 

 

ราชสมาคม หรือ The Royal Society แห่งอังกฤษ ได้คิดเกณฑ์สำหรับการพัฒนาและใช้งานวัคซีนพาสปอร์ตสำหรับ COVID-19 เอาไว้ โดยมีหลักเกณฑ์มากถึง 12 ข้อ ได้แก่

 

  1. ต้องได้เกณฑ์มาตรฐานของภูมิคุ้มกัน COVID-19 คือวัคซีนที่ว่าต้องป้องกันโรคได้จริง ๆ
  2. พาสปอร์ตต้องรองรับไวรัสที่ก่อให้เกิด COVID-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ต้องได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ
  4. ต้องได้รับการพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ
  5. มีรายละเอียดการใช้งานตามที่กำหนด
  6. ตัวพาสปอร์ตต้องสามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้
  7. มีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล
  8. มีขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายไปมาได้
  9. ต้องราคาไม่แพง บุคคลและรัฐสามารถซื้อหาได้
  10. ถูกต้องตามกฎหมาย
  11. ถูกต้องตามมาตรฐานจริยธรรม
  12. ผู้ถือพาสปอร์ตต้องเข้าใจเงื่อนไขการใช้งานและยอมรับ

 

ในอังกฤษเองมีผู้ประท้วงการใช้วัคซีนพาสปอร์ตมากกว่า 200,000 ราย

 

 

การประท้วงที่ว่า เป็นการประท้วงแบบออนไลน์ที่เรียกว่า Online Petition เหตุผลของผู้ประท้วงก็คือการริเริ่มนำพาสปอร์ตนี้มาใช้ อาจจะ ‘จำกัดสิทธิ’ ของคนที่ปฏิเสธไม่ยอมฉีดวัคซีน

 

คำประท้วงบอกว่าการแบ่งแยกคนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ฉีดวัคซีนแล้วกับกลุ่มที่ยังไม่ (หรือไม่อยาก) ฉีดวัคซีน จะทำให้เกิดสังคมสองระดับชั้น (Two-Tier Society) ขึ้นมาในสังคมอังกฤษ โดยข้อเรียกร้องบอกว่า รัฐบาลจะต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง ว่าจะไม่ใช้วัคซีนพาสปอร์ตในการกีดกันคนบางกลุ่ม ทำให้คนบางกลุ่มสามารถเข้าถึงการสนับสนุน บริการ และเสรีภาพบางอย่างได้ ในขณะที่อีกบางกลุ่มถูกกีดกันออกไปจนกลายเป็นคนชายขอบ 

 

อย่างเช่นกรณีที่ผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไม่ได้ ต้องไม่ถูกกีดกัน เลือกปฏิบัติ ไม่ให้เข้ารับบริการต่าง ๆ ของรัฐ

 

ผู้ประท้วงจึงออกมาเรียกร้อง เพื่อให้รัฐบาลมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น ว่าสำหรับคนที่ไม่อยากฉีดวัคซีน รัฐบาลจะมีนโยบายอย่างไรกับคนเหล่านี้

 


 

 

🗺️ อ่านบทความเต็ม เมื่อโลกต้องการพาสปอร์ตภูมิคุ้มกัน โดยโตมร ศุขปรีชา ได้เลยที่ https://bit.ly/3o40jub

 

💬 และสามารถติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ใน TAT Review Magazine | Consequences โปรดติดตามตอนต่อไป
คลิกเลย!

Share This Story !

1.8 min read,Views: 902,

Related projects

  • ¡Hola! Spanish Travelers

    เมษายน 3, 2025

  • ‘เรื่องเล่น’ เรื่องเล็กน้อยมหาศาล

    เมษายน 3, 2025

  • ‘DESERT SUPERCITY’ มหานคร แห่งทะเลทราย

    เมษายน 3, 2025