
“What clicks for Baby Boomer”
โดย กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว
เรียบเรียงจากผลการศึกษาโครงการสำรวจข้อมูล
เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงลึก ระหว่างปี 2557-2561
จัดทำโดย บริษัทอินทัช รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลแทนซี่ จำกัด
เพื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
When the so-called baby boomer generation is rapidly expanding, every business sees the potential of this market segment on the spending ability and time usage. Since Thailand positions itself as a tourism destination, if we want to do marketing promotion for the baby boomer segment, we have to know and understand their travel behaviour including what they like, the reasons for making decisions and learning about what their preferences are. Let’s decode the survey result of foreign tourists in this segment from this article.
♦ 1. Introduction : Silver Age Travelers
– นักท่องเที่ยวที่ปัจจุบันอายุ 60 ปีขึ้นไป หมายความถึงผู้เกิดปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) หรือก่อนหน้านั้น จัดอยู่ในเจเนอเรชั่นที่ชื่อว่า Baby Boomer ซึ่งเติบโตขึ้นในช่วงยุค 1950’s เป็นช่วงเวลาที่มี เหตุการณ์สำคัญของโลกหลายประการ อาทิ สงครามเวียดนาม และกระแสการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิเท่าเทียมของกลุ่มคนแอฟริกัน – อเมริกัน
– เนื่องจากถูกเลี้ยงดูด้วยพ่อแม่ที่มาจากยุคสงครามที่ยากลำบาก คนในเจเนอเรชั่นนี้จึงถูกปลูกฝังให้ทำงานหนัก และเชื่อว่าการลงแรง ที่มากขึ้นจะหมายถึงความสำเร็จในอนาคต แต่ในขณะเดียวกัน ก็เริ่มมองหาความมั่นคงและความสุนทรีย์ ในชีวิตมากกว่ารุ่นก่อน เป็นที่มาของค่านิยม ‘ความฝันแบบอเมริกัน’ (American Dream) ที่นิยาม ความสำเร็จด้วยเศรษฐฐานะผ่านวัตถุ อย่างบ้านเดี่ยว รถยนต์คันงาม หรือตำแหน่งการงานในบริษัทที่มั่นคง
– ณ ปัจจุบันนี้ นักท่องเที่ยวกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มที่เราเรียกว่า ‘Silver Age’ กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดท่องเที่ยวที่น่า ดึงดูดใจ เนื่องจากเป็นวัยเกษียณที่ไม่ต้องส่งเสียเลี้ยงดูบุตรอีกต่อไป หลายคนมี Disposible Income จากเงินเก็บหรือบำนาญ ผนวกกับ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าทำให้คนกลุ่มนี้ยังคงแอ็กทีฟ และแข็งแรง หลังจากที่ตรากตรำทำงานหนักมาทั้งชีวิต ช่วงเวลา ณ ตอนนี้นี่เองที่พวกเขาจะเริ่มออกท่องโลกกว้างจากเงินที่สะสม มาเป็นรางวัลแก่ชีวิตหลังเกษียณเสียที
♦ 2. Overall Trend
ผลการสำรวจข้อมูลฯ ในปี 2014– 2016 พบกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มี อายุ 60 ปีขึ้นไป ถึงจะยังเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวอายุน้อยลงมา ทว่า ก็ยังเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
♦ 3. Travel Solo when getting old – เมื่อเติบโตก็อยากปลีกวิเวก?
พบว่านักท่องเที่ยวกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนที่จะเคยเดินทาง มาเยือนประเทศไทยแล้ว มากกว่า 5 ครั้งในอดีต มากที่สุด (ร้อยละ 50.37) ซึ่งมากกว่านักท่องเที่ยวกลุ่มอายุน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด ถือว่าเป็น สัญญาณที่ดีว่านักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวนี้ มีความจงรักภักดีต่อ ประเทศไทยในระดับหนึ่งทีเดียว
– ข้อค้นพบที่น่าสนใจอีกหนึ่งประการ คือ นักท่องเที่ยวกลุ่มอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีสัดส่วนการเดินทางมา เยือนประเทศไทยคนเดียวมาก ที่สุด (ร้อยละ 40.15) ในขณะที่ นักท่องเที่ยวอายุน้อยกว่า 60 ปี มีสัดส่วนการเดินทางมากับเพื่อนมากที่สุด
– จากข้อมูลบ่งชี้ว่า พฤติกรรมของ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ที่เคยมาเยือน ประเทศไทยหลายครั้งในอดีต ที่ผ่านมา ทำให้มีความมั่นใจ ในการท่องเที่ยวเพียงคนเดียว มากขึ้น หรือไม่ก็เลือกมาพักผ่อน กับสามี/ภรรยาที่อยู่ในวัยเกษียณ อายุเหมือนกันเท่านั้น
♦ 4. Online User, Offline Inspiration – ใช้เครื่องมือ Online แต่ให้น้ำหนักข้อมูล Offline
– นักการตลาดหลายกลุ่มอาจจะยังติดภาพว่าผู้คนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะไม่มีความเชี่ยวชาญในการใช้ช่องทางออนไลน์ได้เท่ากับเจเนอเรชั่น หลังๆ ทว่าจากข้อมูลกลับพบว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป กลับมีการจองและจัดการทริปผ่านช่องทางออนไลน์พอๆ กับ เจนฯ คนรุ่นใหม่เลยทีเดียว (ร้อยละ 59.44)
– แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า นักท่องเที่ยวอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังคงมีสัดส่วนที่ พึ่งพาบริษัท/ตัวแทนนำเที่ยว (Tour Agent/Tour Operation) มากกว่านักท่องเที่ยวที่อายุน้อยลงมา (ร้อยละ 36.77 และร้อยละ 32.42 ตามลำดับ)
– ความแตกต่างที่น่าสนใจคือ ในขณะที่นักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ให้น้ำหนักกับสื่อออนไลน์มากที่สุด (ร้อยละ 27.68) ในแง่ของช่องทางที่ให้แรงบันดาลใจ ทว่านักท่องเที่ยวอายุ 60 ปีขึ้นไป กลับเทสัดส่วนความสำคัญไปยังช่องทางที่ Back to Basic ที่สุด อย่างการฟังคำแนะนำจากครอบครัวและญาติ (ร้อยละ 25.58)
♦ 5. Slower Life: Less Activities – Longer Stays
ถึงแม้ว่าจากรายงานพฤติกรรมของคนกลุ่ม Silver Age จากหลากหลาย แหล่งจะกล่าวตรงกันว่า เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังแอ็กทีฟอยู่ (อาจจะแข็งแรง กว่าคนวัยหนุ่มสาวหลายคนด้วยซ้ำ!)
ทว่าสำหรับการเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทย นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้กลับเลือกที่จะ Slow Life มากกว่า แอ็กทีฟกับการทำกิจกรรมเห็นได้จากจำนวนวันพักเฉลี่ยในไทยที่ยาวนานกว่า แต่กลับมีจำนวนกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ทำโดยเฉลี่ย รวมทั้งจำนวนจังหวัดที่ไปท่องเที่ยวน้อยกว่านักท่องเที่ยวที่อายุน้อยลงมา
♦ 6. Seeking for Sea & Beach Destination – จังหวัดติดชายทะเลและหมู่เกาะที่ได้รับความนิยม
จังหวัดที่ได้รับความนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวในหมู่นักท่องเที่ยวอายุ 60 ปีขึ้นไป นอกเหนือจากกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 48.44) และจังหวัด เชียงใหม่ (ร้อยละ 11.39) ล้วนแล้วแต่เป็นจังหวัดติดชายทะเล อย่างจังหวัดชลบุรี (ร้อยละ 25.56), ภูเก็ต (ร้อยละ 18.76), ประจวบคีรีขันธ์ (ร้อยละ 7.49), สุราษฎ์ธานี (ร้อยละ 7.19) และ กระบี่ (ร้อยละ 5.93)
– ร้อยละของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปจังหวัดชลบุรี
จังหวัดชลบุรี ยังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวอายุ 60 ปีขึ้นไป จากทวีปยุโรป อเมริกา และโอเชียเนีย มากกว่านักท่องเที่ยวจากทวีป เดียวกันที่อายุน้อยกว่า 60 ปี อย่างเห็นได้ชัด
♦ 7. Medical & Local Tourism – การท่องเที่ยวแนวสุขภาพและวิถีชีวิตชุมชนมาแรงในหมู่นักท่องเที่ยวสูงวัย
– กิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่ได้แตกต่างจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวทั่วไปเท่าใดนัก ซึ่งได้แก่ การชิมอาหารไทย (ร้อยละ 89.78) ทะเลและชายหาด (ร้อยละ 56.06) การเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ (ร้อยละ 52.37) สปาและนวดแผนไทย (ร้อยละ 51.51) และแสงสี ยามค่ำคืน (ร้อยละ 35.98)
– และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างนักท่องเที่ยวอายุ 60 ปีขึ้นไป และ นักท่องเที่ยวอายุน้อยกว่า 60 ปี พบว่ากิจกรรมที่ได้รับความนิยม ในหมู่นักท่องเที่ยวอายุ 60 ขึ้นไป ที่มากกว่านักท่องเที่ยวกลุ่มอายุน้อยลงมา ได้แก่ การท่องเที่ยวแนวเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน การเยี่ยมชม แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ เช่นกัน
♦ 8. Shop Less, Spend More ช้อปน้อย (แต่จ่ายเยอะนะ)
จากข้อมูลพบว่า นักท่องเที่ยวอายุ 60 ปีขึ้นไปจากทวีปส่วนใหญ่มีสัดส่วนการทำกิจกรรมชอปปิงน้อยกว่านักท่องเที่ยวที่อายุน้อยกว่า 60 ปี ทว่ากลับมีค่าใช้จ่าย เฉลี่ยต่อหัวสำหรับกิจกรรมนี้ มากกว่า ซึ่งหมายความว่า ถึงแม้จะมีนักท่องเที่ยวอายุ 60 ปีขึ้นไป บางส่วนไม่สนใจกิจกรรมชอปปิงแต่สำหรับผู้ที่ชอปปิงแล้วยอมควักกระเป๋าจ่ายหนักกว่าแน่นอน
– ซึ่งสินค้าหมวดผ้าไหมไทย (Thai Silk) เป็นหมวดสินค้าที่นักท่องเที่ยว กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนการซื้อมากกว่านักท่องเที่ยวกลุ่มอายุ น้อยกว่า 60 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวจากทวีปยุโรป อเมริกา และโอเชียเนีย
– ในขณะที่สินค้าเครื่องประดับและอัญมณี (Jewelry) เป็นหมวด สินค้าที่นักท่องเที่ยวอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีการใช้จ่ายมากกว่า นักท่องเที่ยวที่อายุน้อยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวจากทวีป ตะวันออกกลาง โอเชียเนีย ยุโรป และอเมริกา
♦ 9. Drawing in more Silver Age Travelers – จูงใจนักท่องเที่ยววัย Silver Age อย่างไร
นักท่องเที่ยวอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้ม Advocate ประเทศไทยมากกว่ากลุ่มอายุ น้อยกว่า 60 ปีเล็กน้อย
สิ่งสำคัญที่สุดที่ไม่ควรละเลยสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่ม 60 ปีขึ้นไป คือ สิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนกลุ่มนี้เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและสะดวกสบาย ในการเดินทาง เช่น ป้ายบอกทางที่ชัดเจน การใช้สี/โลโก้ ทางลาดและราวจับที่เหมาะสม รวมถึงผู้ดูแลหรือผู้ให้บริการในจุดที่มีความเสี่ยงด้าน ความปลอดภัย เป็นต้น