คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยว
The tendency of tourism in Thailand in the first 9 months of 2020 was that the number of international tourists had shrank dramatically, which was the result of the lockdown measures to prevent infected people overseas coming into Thailand. Therefore, there have been no international tourists visiting the country since April 2020. The number of tourist arrivals before the lockdown period was 6.69 million, a decrease of 77%. The income from tourism was about 3.32 hundred billion Baht, a decrease of 77%. Also, there was a global economic recession in the second and third quarters due to the impact of the COVID-19 pandemic. As a result, the Thai tourism sector has remained in a slump for the past 9 months. In the fourth quarter, it is expected that the government will allow some specific groups of international tourists to enter Thailand as a pioneer group. This is to prepare for reopening the country to receive general tourists in the future, which would be a limited and relatively small number.
It was found that the situation of tourism in Thailand has been in a severe collapse, affected by the spread of the COVID-19 pandemic since the beginning of 2020. The Thai government imposed the lockdown measures in April 2020, to prohibit people from travelling across provinces. Also, the domestic aviation business temporarily suspended all routes. The country’s economy in all sectors suddenly halted, and domestic tourism was stopped. The average occupancy rate was minus 99%. The domestic tourism situation in the past 9 months in 2020 was still in contraction, with 49.85 million tourists/trips, which reduced by 57% and amounting to 2.73 hundred billion Baht in income, a decrease of 66%. In the fourth quarter of 2020, it is expected that Thais will travel more; however, it is still at a negative level when compared to the same period of last year. The reasons are that the economy has not yet recovered and there is still an unemployment problem.
แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย (มกราคม-กันยายน 2563)
ตลาดต่างประเทศ
ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยหดตัวอย่างรุนแรง เนื่องจากไทยใช้มาตรการล็อกดาวน์ ห้ามการเดินทางเข้า-ออกประเทศเพื่อป้องกันการนำเชื้อไวรัส COVID-19 เข้ามาจากต่างประเทศ ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เป็นต้นมา ซึ่งการใช้มาตรการขั้นสูงสุด ทำให้ไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ ขณะที่การแพร่ระบาดทั่วโลก ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเริ่มเกิดการระบาดระลอกใหม่ในหลายประเทศ เมื่อผนวกกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในไตรมาส 2-3 จากผลกระทบของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยยังคงอยู่ในภาวะทรุดตัวในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา
สถานการณ์ท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 9 เดือน (มกราคม-กันยายน 2563)
ตลาดในประเทศ
ภาพรวมสถานการณ์ทางการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย พบว่า สถานการณ์ท่องเที่ยวในประเทศตกอยู่ในภาวะทรุดตัวอย่างหนัก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 โดยเดือนมีนาคม 2563 พบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและแพร่กระจายเป็นวงกว้างถึง 68 จังหวัด และเดือนเมษายน 2563 ประเทศไทยประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาตรการเคอร์ฟิว มาตรการล็อกดาวน์ประเทศ เพื่อห้ามประชาชนเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด พร้อมกับปิดสถานที่ท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิงต่างๆ งดการจัดกิจกรรมที่รวมคนจำนวนมาก รณรงค์ให้ประชาชนอยู่กับบ้าน เพื่อควบคุมป้องกันและลดโอกาสในการแพร่เชื้อไวรัส Covid-19 นอกจากนี้ ธุรกิจสายการบินภายในประเทศจำนวน 5 สายการบิน ได้แก่ สายการบินไทย, ไทยสมายล์, บางกอกแอร์เวย์, ไทยแอร์เอเชีย และ ไทยไลอ้อนแอร์ หยุดทำการบินชั่วคราวทุกเส้นทาง ส่งผลให้เศรษฐกิจ ทุกภาคส่วนของประเทศตกอยู่ในภาวะหยุดลงแบบฉับพลัน ภาคธุรกิจทยอยปิดกิจการเป็นจำนวนมาก และการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ หยุดชะงัก โดยมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยติดลบอยู่ที่ 99%
อย่างไรก็ตาม ผลจากการใช้มาตรการต่างๆ ประกอบกับความร่วมมือจากประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน ทำให้การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งเดือนพฤษภาคม รัฐบาลประกาศมาตรการผ่อนคลายปลดล็อกพื้นที่และกิจการ/กิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้น การหมุนเวียนของเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะเดียวกันสายการบินในประเทศได้กลับมาเปิดทำการบินอีกครั้ง ส่งผลให้ประชาชนทยอยออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น และเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการเดินทางท่องเที่ยวประกอบกับในเดือนมิถุนายน−กันยายน มีวันหยุดติดต่อกันหลายช่วง กอปรกับภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจท่องเที่ยว ในประเทศ ส่งผลให้สถานการณ์ท่องเที่ยวของคนไทยเริ่มฟื้นตัว แต่อาจ จะยังไม่คึกคักเท่าที่ควร เนื่องจากบางคนยังมีความกังวลกลัวการติดเชื้อ อีกทั้งเศรษฐกิจในประเทศยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลให้นักท่องเที่ยว ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น และหันมาเดินทางท่องเที่ยวในระยะ ทางใกล้ๆ อาทิ ชลบุรี กาญจนบุรี นครราชสีมา ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี หรือเลือกที่จะเดินทางไปยังจังหวัดระยะไกลที่มีการใช้จ่าย ไม่สูงและมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น เชียงใหม่ เชียงราย นอกจากนี้ นิยมเดินทางกันเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน และเน้นการใช้รถยนต์ส่วนตัว ซึ่งให้ความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย และสุขอนามัยเป็นหลัก
ดังนั้น สถานการณ์ท่องเที่ยวในประเทศช่วง 9 เดือนปี 2563 ยังคงอยู่ใน ภาวะหดตัว โดยมีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 49.85 ล้านคน−ครั้ง ลดลงร้อยละ 57 และรายได้อยู่ที่ 273,100 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 66
คาดการณ์สถานการณ์ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563)
ตลาดต่างประเทศ
ไตรมาสที่ 4 คาดว่ารัฐบาลจะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเฉพาะ บางกลุ่มเดินทางเข้าไทย โดยที่สามารถกำกับ/ควบคุมการเดินทางได้ เดินทางเข้ามาด้วยเที่ยวบินพิเศษ และไปท่องเที่ยวได้เฉพาะพื้นที่ที่กำหนด เพื่อเป็นกลุ่มนำร่องเตรียมความพร้อมสำหรับการขยายเปิดรับ กลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ ระบาดทั่วโลกมีแนวโน้มเกิดการระบาดระลอกใหม่ ทำให้หลายประเทศ เริ่มกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อนโยบาย เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ทั้งนี้ จากภาพรวมการแพร่ระบาดทั่วโลก ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัญหาการว่างงาน ข้อจำกัดทางการบินในการเดินทางระหว่างประเทศ และข้อกำหนดเงื่อนไขการเข้าประเทศไทย คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่จะเดินทางเข้าไทยในไตรมาสที่ 4 อาจมีจำนวนที่จำกัดและค่อนข้าง น้อยมาก
ตลาดในประเทศ
ในไตรมาส 4 ปี 2563 คาดว่า คนไทยจะออกเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีแผนออกเดินทางท่องเที่ยวช่วงปลายปี เพราะเป็นช่วงฤดูกาล ของการท่องเที่ยว กอปรกับเริ่มผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ ระบาด ทำให้สถานการณ์ท่องเที่ยวในประเทศอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยัง อยู่ในระดับติดลบเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา เพราะผลจากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และปัญหาการว่างงาน ส่งผลต่อชาวไทยมีการใช้จ่ายต่อหัวต่อคนน้อยลง
โดยมีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยประมาณ 33.25 ล้านคน−ครั้ง ลดลงร้อยละ 33 และมีรายได้ทางการท่องเที่ยว 141,600 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 50 โดยภูมิภาคที่มีระยะทางใกล้กรุงเทพฯ ได้แก่ ภาคตะวันออกและภาคกลาง จะมีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนสูงกว่าภูมิภาคที่ไกลกว่า ทั้งนี้เพราะกลุ่มตลาดในประเทศ ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ และนิยมเดินทางด้วยรถยนต์ กอปรกับกำลังซื้อที่ชะลอตัวตามสภาพเศรษฐกิจ การเดินทางระยะใกล้จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี ตอนบนของประเทศไทยเริ่มมีอากาศหนาวเย็นเหมาะแก่การท่องเที่ยว จึงคาดว่าภูมิภาคภาคเหนือน่าจะมีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับ 2 ภูมิภาคที่กล่าวมา
ประเด็นจับตามอง
- ต่างประเทศยังพบการติดเชื้อไวรัส Covid-19 และยังไม่เปิดทำการบินระหว่างประเทศ หรือบางประเทศอาจเปิดให้เดินทางแบบมีเงื่อนไข จะทำให้โอกาสในการเดินทางออกต่างประเทศของคนไทยลดลงและหันมาท่องเที่ยวในประเทศแทน
- มาตรการส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จะช่วยกระตุ้นให้คนไทยออกเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น
- ภาวะเศรษฐกิจในประเทศถดถอยในปี 2563 โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดการคาดการณ์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศไทยล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2563 จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยคาดว่าหดตัวร้อยละ 8 เกิดปัญหาหนี้สาธารณะและจำนวนผู้ว่างงานที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการใช้จ่ายและการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย