The Travel Trends to know in 2020 มองให้ออก… ตลาดการท่องเที่ยวปี 2020 ผ่าน 8 เทรนด์มาแรง

On the days that the competitiveness of the tourism industry is very intense, the best way for unpredictable chaos is to mainly focus on the clients or tourists in order to gain a competitive advantage. The first to know and respond to the right lifestyle has the upper hand and can easily win over the target. TAT Review, hence, has gathered the essential information of the 8 trends of this year for marketers and tourism-related business operators to understand and adapt themselves to catch the global demand ahead. Let’s hear from the TAT Review how interesting they are. 

แม้ว่าโลกจะกำลังเผชิญอยู่กับวิกฤตการณ์ต่างๆ มากมาย สงคราม โรคระบาด เฮอร์ริเคน วิกฤติหนี้ สงครามการค้า ไปจนถึงราคาน้ำมันสูงลิบ แต่ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรที่สามารถระงับความต้องการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไปได้เลย และไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ในช่วงปีที่ผ่านมานี้ การท่องเที่ยวก็ยังเป็น ตัวอย่างที่ดีเสมอมาในแง่ของอุตสาหกรรม ที่มีความคล่องตัวและมีความคิดสร้างสรรค์ โดยแปรเปลี่ยนข้อจำกัด ความท้าทายที่ต้องเผชิญให้เกิดเป็นสินค้าและบริการใหม่ๆ business model ที่นักท่องเที่ยวคาดไม่ถึง ตลอดจนนวัตกรรม เทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามา ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีพร้อมกับรอยยิ้มและความสุขใจเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางกลับบ้าน

อย่างไรก็ตาม ในวันที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับความยุ่งเหยิงที่ยากจะคาดเดาที่กล่าวมาข้างต้น นั่นคงเป็นการโฟกัสไปที่ตัวลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวเป็นหลัก เพื่อชิงความได้เปรียบเชิงธุรกิจ เพราะถ้าใครรู้ก่อน ตอบไลฟ์สไตล์ได้ตรงจุด ก็ถือไพ่เหนือกว่า เอาชนะใจกลุ่มเป้าหมายได้ไม่ยาก ΤΑΤ Review จึงได้รวบรวมข้อมูลแนวโน้มสำคัญผ่าน 8 เทรนด์มาแรงในปีนี้ เพื่อให้นักการตลาดและผู้ที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยวได้ทำความเข้าใจและปรับตัวให้ทันความต้องการของตลาดโลกกันก่อนใคร เทรนด์เหล่านี้น่าสนใจ อย่างไร ΤΑΤ Review จะเล่าให้ฟัง


1. World is going to be ‘grey’

ผู้สูงวัย โตไม่หยุด 

อย่างที่รู้กันว่าในปี 2020 ประชากรโลกที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีเป็นต้นไป จะเพิ่มขึ้นราว 3 เท่าตัวหรือ 700 ล้านคน เนื่องจากอัตราการเกิดที่ลด น้อยลง และประเทศไทยก็มีสภาวะไม่ต่างจากทั่วโลก ทำให้เรากำลังก้าว เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ นั่นหมายถึง 1 ใน 4 ของประชากร ชาวญี่ปุ่น 1 ใน 5 ของชาวเยอรมัน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และ 1 ใน 6 ของชาวอเมริกัน แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ คือ สัดส่วนของ ประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี (United Nations Demographic Indicators 1950−2050) แต่ก็พบว่าประชากรกลุ่มนี้กลับมีแนวโน้ม สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้น พร้อมๆ กับความมั่งคั่งมากขึ้นด้วย 

เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2020 แล้วนั้น ต้องตระหนักเลยว่าธุรกิจที่มาแรงคงหนีไม่พ้น กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีกำลังซื้อมหาศาล และพร้อมจะจ่ายให้กับสิ่งที่พวกเขาคิดว่าจะสามารถช่วยให้มี สุขภาพแข็งแรงและความสุขกับการใช้ชีวิตอย่างที่โหยหามาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวพักผ่อนสำหรับผู้สูงอายุ ตลอดจนสินค้าจำพวกสุขภาพ และอาหารเสริม รวมถึงธุรกิจทางด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย


2. On the go with ‘Gen Z’
นักเดินทางรุ่นใหม่ที่เอาใจยาก และใส่ใจสิ่งแวดล้อมสุดๆ

GEN Z มีอายุระหว่าง 16−24 ปี คือ นักท่องเที่ยวกลุ่มต่อไปในอนาคตอันใกล้ เป็นกลุ่มเยาวชนที่กำลังจะก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นเจเนอเรชั่นแรกที่เกิดมาพร้อมกับสารพัดโซเชียลรองรับเต็มไปหมด การตัดสินใจส่วนใหญ่ ของกลุ่มนี้จึงได้รับอิทธิพลหลักมาจากข้อมูลบนโลกโซเชียลมีเดียแทบทั้งสิ้น และส่วนใหญ่ใช้อินสตาแกรมเป็นแหล่งหาข้อมูลและสร้างแรงบันดาลใจในการเดินทาง หน้าจอโทรศัพท์จึงเป็นเพื่อนในการเดินทาง อย่างแท้จริง

นักการตลาดที่จับจุดได้ GEN Z จะรู้สึกว่าเรามีแนวคิดเดียวกัน การจะตีตลาดกลุ่ม GEN Z  จึงควรหาพรีเซนเตอร์กลุ่มเน็ตไอดอล ศิลปิน หรือ Influencer คนที่มียอด Follower เยอะๆ จะได้รับความสนใจจาก GEN Z เป็นพิเศษ นิตยสาร Forbes ได้อธิบายไว้ว่า สำหรับ GEN Z แล้ว การท่องเที่ยวไม่ใช่เพียงแค่การไปถึงจุดหมายปลายทาง แต่คือการสร้าง ‘ประสบการณ์’ แน่นอนว่าGEN Z จะรู้สึกดีมากหากมีกิจกรรมสนุกๆ ให้ได้ลงมือทำในแหล่งท่องเที่ยวที่เดินทางไป 

อีกหนึ่งการศึกษาที่น่าสนใจคือการสำรวจของ Booking.com พบว่า กลุ่ม GEN Z เป็นกลุ่มที่ใส่ใจเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่า คนรุ่นก่อนมาก กลุ่มนี้เป็นนักเดินทางที่มีจิตอนุรักษ์ และเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม มีความต้องการ ‘ให้กลับคืน’ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนที่เดินทาง ไปท่องเที่ยว และยังสนใจจะทำงานด้านจิตอาสาที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพื่อช่วยดูแลโลกให้น่าอยู่ขึ้นด้วย


3. Digital Nomad Bandwagon
ยุคที่คนเทใจให้งานฟรีแลนซ์

ยุคนี้เป็นยุคแห่งฟรีแลนซ์จริงๆ ด้วยไลฟ์สไตล์คนทำงานยุคใหม่ที่รักอิสระกันมากขึ้้น ทำให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้านผู้รับจ้างก็นิยมจ้างแบบ outsource มากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะลดต้นทุนและเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจ

บริษัท Morgan Stanley ยังออกมาฟันธงว่าอีก 7 ปีข้างหน้า ครึ่งหนึ่งของแรงงานในสหรัฐฯ จะเป็นฟรีแลนซ์ สอดคล้องกับที่ Pieter Levels ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ nomadlist.com คาดคะเนไว้ว่าในปี 2035 จะมี Digital Nomad มากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก สิ่งเหล่านี้ทำให้ประเทศเล็กๆ อย่าง เอสโทเนีย เปิดตัว ‘Digital Nomad Visa’ เป็นฟรีวีซ่าสำหรับเหล่า Nomad ครั้งแรกของโลกที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่รักการเดินทางออกไปดูโลกกว้าง ย้ายที่ทำงานไปเรื่อยๆ ได้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศได้หนึ่งปีเต็ม 

แนวโน้มดังกล่าวยังปรากฏออกมาเป็นโมเดลธุรกิจโรงแรมแบบใหม่ ‘700,000 Heures’ โรงแรมเคลื่อนที่แห่งแรกของโลกสัญชาติฝรั่งเศส (ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเวลาเฉลี่ยที่เรามีชีวิตอยู่บนโลกราวๆ 700,000 ชั่วโมง) โรงแรมนี้จะรีโลเคชันทุกๆ 6 เดือน เพื่อมอบประสบการณ์ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นส่วนตัว และ authentic ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน บนโลก แต่ละแห่งจะมีห้องพักไม่เกิน 8 ห้องเพื่อรักษาคุณภาพ ด้านการบริการและความพิเศษให้กับผู้เข้าพัก แล้วในปี 2020 โรงแรมนี้ จะย้ายไปอยู่ที่ไหน? คำตอบคือประเทศญี่ปุ่น 2 แห่งด้วยกัน นั่นก็คือ วัดในเมืองโคยะซังและบ้านโบราณในหมู่บ้านชาวประมงอิเนะ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะพักได้ต้องเป็นสมาชิกเท่านั้น โดยมีค่าสมัครรายปีอยู่ที่ 570 เหรียญสหรัฐ (ราว 17,300 บาท)


4. Responsible Tourism
ความยั่งยืนยังคงเป็นคีย์เวิร์ดของการท่องเที่ยว

ด้วยการเดินทางท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบที่น่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ เราพอทราบได้ว่าในอนาคตนักท่องเที่ยวจะหวนกลับไปหาการเดินทาง ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และได้ใกล้ชิดกับชุมชนมากยิ่งขึ้น เกิดความหวงแหน วัฒนธรรมท้องถิ่น มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการได้รับประสบการณ์แบบ authentic ขณะเดียวกันคนในพื้นที่ก็ต้องได้รับประโยชน์ด้วย คุณค่าเหล่านี้ ที่กำลังจะถูกปลูกฝัง จะทำให้นักท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอยกับสินค้าจาก คนท้องถิ่นมากขึ้น Booking.com ชี้ว่าในปี 2020 นักท่องเที่ยวมีแนวโน้ม จะเลือกจองที่พักแบบ Eco-Friendly หรืือ Green Accommodation กันมากขึ้นกว่า 73% ขณะที่ Google ก็ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่าในช่วง 3 เดือนก่อนการเดินทาง นักท่องเที่ยวจะเริ่มหาข้อมูลที่เกี่ยวกับ ‘ประสบการณ์’ จากการเดินทาง แทนการเสิร์ชที่พักมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า และมากกว่าเสิร์ชหาตั๋วเครื่องบินถึง 8 เท่า

 


5. Selfless drive will hit the road
เทคโนโลยีการเดินทางที่เป็นจริง 

ไม่นานมานี้ The Economist ชี้ให้เห็นถึงภาพรวมการเติบโตของ การขนส่งทางอากาศของโลกที่น่าสนใจในหลายประเด็นด้วยกัน เช่น ในปี 2030 ผู้ขับขี่รถยนต์ในสหรัฐฯ จำนวน 1 ใน 4 จะเดินทางโดยการใช้ รถยนต์ขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ ปี 2035 คนเมืองราว 8 ใน 10 จะหันไปใช้ Robo Taxi (แท็กซี่ไร้คนขับที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Tesla ซึ่งคาดว่า จะเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2020) 

หรือจะพูดให้ถูก อาจจะเรียกได้ว่ารถยนต์บินได้ในนิยายวิทยาศาสตร์ ใกล้จะกลายเป็นจริงขึ้นมาทุกที โดรนโดยสาร (Passenger Drone) และเฮลิคอปเตอร์ Hybrid ที่ สามารถทำความเร็วได้มากกว่าเฮลิคอปเตอร์ ทุกแบบบนโลก ซึ่งจะทำให้การเดินทางไปมาระหว่างประเทศมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นไปด้วย และถ้าวันนั้นมาถึง พาหนะบินได้และรถยนต์ต่างๆ จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น เทรนด์นี้ยังสอดคล้องไปกับโปรเจกต์ใหญ่ของจีนที่ต้องการเชื่อมโยงเมืองต่างๆ ในประเทศด้วยรถไฟความเร็วสูง ที่คาดว่าในปี 2020 กว่า 80% ของการเดินทางในจีนทั้งหมดจะเชื่อมต่อกันด้วยพาหนะดังกล่าว 

ไม่ใช่แค่รถไฟความเร็วสูง แต่เราจะได้เห็น Hyperloop Pods หรือการเดิน ด้วย Pod ผ่านท่อสุญญากาศ ขับเคลื่อนด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้าความเร็ว สูงถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บริษัท Virgin ได้ตัดสินใจลงทุนใน เรื่องนี้กันอย่างจริงจัง ตั้งเป้าให้โครงการนี้สำเร็จและเปิดใช้บริการ ในเชิงพาณิชย์ได้จริงในปี 2025 แต่ประเด็นความปลอดภัยทางการเดินทาง ด้วยความเร็วสูงขนาดนั้น รวมทั้งต้นทุนที่สูงลิบ ก็อาจส่งผลให้ Hyperloop อาจยังไม่ได้ถูกนำมาใช้งานจริงในอนาคตอันใกล้ 

ส่วนการเดินทางทางอากาศก็จะมี Supersonic Jet เข้ามาช่วยย่นระยะ เวลาการเดินทางทางอากาศ ด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วเสียงถึง 1.4 เท่า (ราว 1,236 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องบินโดยสารในปัจจุบัน กว่า 60% ช่วยให้การบินจากลอนดอน−นิวยอร์ก จะใช้เวลาเพียงไม่เกิน 3 ชั่วโมงครึ่ง (NASA)


6. Biometrics Passport
เทคโนโลยีีการยืนยันตัวตน 

เริ่มทำความคุ้นเคยกับระบบเทคโนโลยีข้อมูลชีวภาพ Biometrics กันไว้ได้เลย เพราะทุกคนจะได้พบเจอสิ่งนี้ยามเดินทางมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน มีการใช้ระบบ Biometrics จดจำใบหน้าในสนามบินบางแห่งแล้ว แต่ต่อไป เราจะเจอมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เว้นแต่บริเวณประตูทางออกผู้โดยสาร

ปีนี้เราจะได้เห็นหลายๆ สนามบินนำระบบนี้มาใช้กันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เช่น สนามบินนานาชาติดูไบ (ใช้ระบบการตรวจ หนังสือเดินทางอัตโนมัติ โดยให้ผู้โดยสารเดินผ่านอุโมงค์ตู้ปลาที่มีกล้อง กว่า 80 ตัวซ่อนอยู่ เพื่อใช้จดจำใบหน้าระหว่างที่เดินเข้าไป) สนามบินนานาชาติคันไซ ฟุกุโอกะ ในประเทศญี่ปุ่น สนามบินนานาชาติชางงี ในสิงคโปร์ รวมถึงอีกกว่า 25 สนามบินในสหรัฐฯ และไม่ใช่แค่สนามบินเท่านั้น บางสายการบินก็ได้เริ่มนำระบบนี้มาใช้ในการ Check In อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นท่าอากาศยานแอตแลนตา โดยสายการบินเดลตา ในสหรัฐฯ และท่าอากาศยานฮีโธรว์ ในสหราชอาณาจักร ที่เริ่มใช้ Biometrics Terminal ตรวจจับใบหน้าเป็นครั้งแรก

นอกจากนี้หลายสายการบินชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น American Airlines, British Airways และ Lufthansa ต่างก็เร่งศึกษาพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Biometrics มาใช้ บริเวณประตูทางออกผู้โดยสารเช่นกัน 

สรุปได้ว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการสนามบินที่มากขึ้น ส่งผลโดยตรง ต่อระยะเวลาการตรวจสอบเอกสารก่อนขึ้นเครื่อง ซึ่งระบบจดจำใบหน้า จะเข้ามาช่วยเจ้าหน้าที่ในสนามบินให้ทำงานได้รวดเร็วกว่าเดิม ด้วยระบบ การตรวจจับสิ่งต้องสงสัย อุโมงค์เซนเซอร์ที่ใช้เวลาเพียงแค่ 5 วินาที เครื่องตรวจจับจะสแกนและวิเคราะห์ออกมาเป็นคะแนนบันทึกไว้เป็นรายบุคคล เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเดินทางในครั้งต่อๆ ไป ช่วยให้ การรักษาความปลอดภัยในสนามบินก็จะเป็นเรื่องง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น


7. Hyper Personalised
การทำตลาดแบบเฉพาะบุุคคล ที่เข้มข้นขึ้น

ในอนาคตบริษัททัวร์ต่างๆ จะเล่นใหญ่ยิ่งกว่า เพราะกำลังพัฒนาตัวเองให้เป็นผู้ช่วยวางแผนการเดินทางให้กับลูกค้าที่ต้องการความเป็นส่วนตัว โดยวิเคราะห์ลึกลงไปถึงความต้องการที่แท้จริงจนได้แผนการเดินทาง ที่คิดขึ้นมาใหม่ตามคาแรกเตอร์เฉพาะตัวบุคคล เรียกได้ว่าเป็นผู้ช่วยส่วนตัวและสามารถให้คำแนะนำอย่างละเอียดยิบ ปัจจุบันนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่แทบจะเลิกยกโทรศัพท์ไปหาตัวแทนเพื่อให้จองตั๋วให้แล้ว และหัน มาใช้บริการออนไลน์ที่มีความสะดวกและรวดเร็วมากกว่า ตามด้วยการโฆษณาแบบเฉพาะบุคคลที่มุ่งสู่ผู้บริโภคโดยตรง 

ด้านธุรกิจโรงแรมที่พักก็จะหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเพื่อสนอง ความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มนักเดินทางรุ่นใหม่ที่รักการใช้เทคโนโลยี เป็นชีวิตจิตใจมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะให้ความสะดวกสบายแล้ว เทคโนโลยี นั้นถือเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวยุคใหม่ที่ชอบประสบการณ์ในแบบฉบับที่เฉพาะตัวสุดๆ ที่โรงแรมควรจะลงทุน เช่น ระบบการจองที่ทันสมัย มากยิ่งขึ้น จัดทำเว็บไซต์ แบบครบวงจร สวยและทันสมัยเพราะนอกจากความสะดวกสบายที่เป็นหัวใจหลักแล้ว การเข้าพักโรงแรมที่ดีก็เป็นการแสดงถึงตัวตนและรสนิยมของนักท่องเที่ยวด้วยนั่นเอง


8. Space Tourism การท่องเที่ยวอวกาศ 

ทีนี้มาว่ากันถึงเรื่องการท่องเที่ยวนอกโลก ใครที่อยากไปอดใจรออีกนิด เพราะมีข่าวว่าเรากำลังจะได้ออกไปท่องเที่ยวในอวกาศกันเร็วๆ นี้! 

อีกไม่นาน อวกาศจะกลายเป็นจุดหมายเบอร์หนึ่งในใจของนักเดินทางท่องเที่ยว เราจะได้เห็นอุตสาหกรรมเกิดใหม่ในทศวรรษ 2020 (นับตั้งแต่ ปี 2020 ถึง 2029) ตั้งแต่เที่ยวบินชมวิวโลกจากอวกาศ (Sub Orbital Flight) ผลก็คือเราจะมีโรงแรมในห้วงอวกาศที่มีวงโคจรอยู่นอกโลกด้วย

โดยบริษัท Virgin Galactic วางแผนจะพาลูกค้าที่สนใจออกไปเที่ยว นอกโลกแล้ว (การท่องเที่ยวในอวกาศจะนับจากความสูงไม่ต่ำกว่า 50 ไมล์ จากพื้นโลก ซึ่งเป็นจุดที่เราจะเรียกตัวเองว่ามนุษย์อวกาศ และอยู่ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง) ทริปนี้จะมีระยะเวลาราว 90 นาที โดยมีค่าใช้จ่ายที่ 250,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 7.6 ล้านบาท) ขณะเดียวกันกับที่ NASA เริ่มวางแผนจำหน่ายบัตรให้กับผู้ที่สนใจไปเที่ยวค้างคืนที่สถานีอวกาศ นานาชาติ (International Space Station) มีราคาต่อคืนอยู่ที่ 35,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 1.1 ล้านบาท) โดยได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน เพื่อให้บริการขนส่งคนขึ้นไปบนอวกาศ ได้แก่ บริษัท Space X และ Boeing

Share This Story !

4.7 min read,Views: 1066,

Related projects

  • ¡Hola! Spanish Travelers

    เมษายน 5, 2025

  • ‘เรื่องเล่น’ เรื่องเล็กน้อยมหาศาล

    เมษายน 5, 2025

  • ‘DESERT SUPERCITY’ มหานคร แห่งทะเลทราย

    เมษายน 5, 2025