Insight ไทยเท่

The TAT’s Tourism Intelligence Division has revealed the survey findings regarding the travel behaviour taken from the sample group of 22,223 Thai tourists all over the country. Its objective is to understand and study the travel behaviour of Thai tourists, so that it can be useful for the concept of tourism marketing and promotion. To be able to send messages that meet the needs of tourists is the heart and the beginning of doing marketing, which will lead to the information development that is compatible with the needs of tourists.

การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวได้ดี เริ่มต้นต้องเข้าใจลูกค้าผ่านการติดตามพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันมีพฤติกรรมที่ซับซ้อน และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป การมองกลุ่มเป้าหมายจากเดิม แบบ Segmentation เปลี่ยนเป็นแบบ Fragmentation ซึ่งมีความละเอียดมากยิ่งขึ้น โดยการแบ่งตามลักษณะส่วนย่อยๆ ของลูกค้า ตามความชอบรายบุคคล เพื่อการทำตลาดที่มีประสิทธิภาพ ตรงความต้องการ เพราะยิ่งรู้ถึงพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจนสามารถกำหนดกลุ่มลูกค้าได้ละเอียดมากเท่าไหร่ การทำตลาดยิ่งเกิดความคุ้มค่า เพราะจับกลุ่มเป้าหมายในการทำตลาดได้ถูกต้องเหมาะสมกับสินค้าและบริการที่จะเสนอขาย ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ทางการท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จากการติดตามแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวมีการคาดการณ์ว่าในปี 2573 นักท่องเที่ยวจะแบ่งลักษณะพฤติกรรมการท่องเที่ยวเป็นกลุ่มต่างๆ ได้แก่

นักท่องเที่ยวผู้ตามหารางวัลแก่ชีวิต

นักท่องเที่ยวที่ค้นหาความแตกต่างทางวัฒนธรรม

นักท่องเที่ยวที่เดินทางเพื่อสร้างความโดดเด่นทางสังคม

นักท่องเที่ยวที่เสาะหาความเรียบง่าย

นักท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับจริยธรรม

นักท่องเที่ยวที่มีข้อผูกมัด

และในปี 2561 ที่ผ่านมา กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว ททท. ได้มีการสำรวจพฤติกรรม การเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 22,223 รายทั่วประเทศ โดยผลการศึกษาพบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ :

นอกจากภาพรวมพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยแล้ว จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อจัดกลุ่มเฉพาะของคนไทย สามารถแบ่งกลุ่มลักษณะพฤติกรรมการเดินทางออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่

กลุ่มที่ 1 ‘Everything New’

มีประมาณร้อยละ 41 ของกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มที่มักท่องเที่ยว ในจุดหมายปลายทางใหม่ๆ และมักทำกิจกรรมประเภทใหม่ๆ

ปัจจัยที่กระตุ้นให้กลุ่มนี้เดินทางท่องเที่ยว
  • ต้องการความผ่อนคลาย/คลายเครียด
  • ต้องการให้รางวัลกับชีวิต
  • ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ/วัฒนธรรมใหม่ๆ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกจุดหมายปลายทาง
  • วิวทิวทัศน์/ธรรมชาติที่สวยงาม
  • ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว
  • เอกลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรม
พฤติกรรมของการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ
  • ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งและร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • ชอบแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น เกาะ ทะเล ศูนย์ศึกษา ธรรมชาติ/ดอกไม้/พืชพันธุ์

กลุ่มที่ 2 ‘Activity Compulsive’

มีประมาณร้อยละ 38 ของกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มที่มักท่องเที่ยว ในจุดหมายปลายทางใหม่ๆ แต่มักทำกิจกรรมประเภทเดิมๆ

ปัจจัยที่กระตุ้นให้กลุ่มนี้เดินทางท่องเที่ยว
  • ต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมทางคนอื่นๆ
  • ต้องการทดลองรับประทานอาหารใหม่ๆ
  • ต้องการถ่ายรูป
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกจุดหมายปลายทาง
  • ความสงบของพื้นที่ (ผู้คนไม่พลุกพล่าน)
  • ความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวก
  • ความปลอดภัยของพื้นที่
พฤติกรรมของการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ
  • ชอบถ่ายรูป นวด/สปา และเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์
  • ชอบแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น เกาะ ทะเล แม่น้ำ น้ำตก

กลุ่มที่ 3 ‘Ambience Connected’

มีประมาณร้อยละ 12 ของกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มที่มักท่องเที่ยวในจุดหมายปลายทางเดิมๆ แต่มักทำกิจกรรมประเภทใหม่ๆ

ปัจจัยที่กระตุ้นให้กลุ่มนี้เดินทางท่องเที่ยว
  • ต้องการเรียนรู้รูปแบบการใช้ชีวิตของคนในพื้นที่
  • ต้องการพิสูจน์ตนเอง/ท้าทายตนเอง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกจุดหมายปลายทาง
  • ความสะดวกในการเดินทางไปยังพื้นที่
  • เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรม
  • ความหลากหลายของกิจกรรม
พฤติกรรมของการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ
  • ชอบช้อปปิ้งและถ่ายรูป
  • ชอบแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น เกาะ ทะเล แม่น้ำ น้ำตก

กลุ่มที่ 4 ‘Habit Circle’

มีประมาณร้อยละ 9 ของกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มที่มักท่องเที่ยว ในจุดหมายปลายทางเดิมๆ และมักทำกิจกรรมประเภทเดิมๆ

ปัจจัยที่กระตุ้นให้กลุ่มนี้เดินทางท่องเที่ยว
  • ต้องการระลึก/สร้างความทรงจำที่ดีในชีวิต
  • ต้องการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์/ไหว้พระ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกจุดหมายปลายทาง
  • เอกลักษณ์ของวิถีชุมชน
  • ความเป็นมิตร/อัธยาศัยที่ดีของคนในพื้นที่
  • ประวัติ/เรื่องราวของพื้นที่
พฤติกรรมของการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ
  • ชอบเที่ยวชมโบราณสถาน วิถีชุมชน/วัฒนธรรม ชม/ชิมอาหาร ท้องถิ่นและอาหารแปลกๆ
  • ชอบแหล่งท่องเที่ยวประเภทโบราณสถาน ศาสนสถาน และ พื้นที่ธรรมชาติ

 

จากผลการศึกษาสามารถสรุปแนวคิด

เพื่อการส่งเสริมการตลาดเบื้องต้น ดังนี้

  1. ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มุ่งให้นักท่องเที่ยวได้ท่องเที่ยวอย่าง คุ้มค่า เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้มากขึ้นและหลากหลายขึ้น โดยให้ความรู้และการให้ข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ หรือผ่าน แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นและแรงจูงใจ ให้เกิดการวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวบ่อยขึ้น

  2. นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่มีความปรารถนาที่จะเดินทาง ไปยังแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆเป็นอีกโอกาสในการโน้มน้าวให้เกิดการท่องเที่ยวในจำนวนครั้ง/ความถี่ที่มากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งเสริม ในมิติของการได้ไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีคนไม่มากนักได้ไป (ก่อนที่พื้นที่นั้นจะกลายเป็นเมืองดัง : Hidden Attraction)

  3. อุปสรรคสำคัญของการเดินทางไกลกว่าที่เคยคือ ค่าใช้จ่ายหลักที่เพิ่มขึ้นและจำนวนวันหยุดที่มีจำกัด ดังนั้น การที่นักท่องเที่ยวจะตัดสินใจเที่ยวให้ไกลขึ้นหรือนานขึ้น เป็นเรื่องที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะพิจารณาจากความคุ้มค่าเป็นหลัก ว่าคุ้มหรือไม่กับการที่จะต้องเพิ่มวันเที่ยวหรือค่าใช้จ่ายที่เสียเพิ่มขึ้นมีความคุ้มค่าหรือไม่ ถ้าจะต้องค้างคืนอยู่ต่อ

Share This Story !

2.2 min read,Views: 1909,

Related projects

  • ¡Hola! Spanish Travelers

    พฤษภาคม 16, 2025

  • ‘เรื่องเล่น’ เรื่องเล็กน้อยมหาศาล

    พฤษภาคม 16, 2025

  • ‘DESERT SUPERCITY’ มหานคร แห่งทะเลทราย

    พฤษภาคม 16, 2025