42.195 Km เส้นชัยในมาราธอน  เส้นชัยในทางเศรษฐกิจ

42.195 Km – Marathons’ finishing line. Road to economic goal. 

As a runner, when you meet other amateur  runners, the first thing to look at is their  running shoes. What brand is it? After that,  the second thing to look at is their running  gadgets. 

Don’t misunderstood us and instantly judge  us as a group of materialistic people. 

In fact, timing watches and running shoes are always our main topics in breaking the ice before moving to other topics  such as “Which running event will you  join in the coming month” “Have you  ever been to this running event” or  “Will I pass lotto to join Tokyo Marathon?” 

There is an old belief that running is cheap, but in fact today’s runners are heavy spenders. Spending can cross into the realm of fashion, IT and more.

นักวิ่งมือสมัครเล่นสักคนเดินผ่านมา หากเป็นนักวิ่งด้วยกัน ด้วยสัญชาตญาณแล้ว พวกเขาจะเพ่งมอง ที่รองเท้าวิ่งก่อน ถัดมาเป็นที่นาฬิกาจับเวลาบนข้อมือ รุ่นไหน แบรนด์อะไร   

อย่าเพิ่งด่วนเข้าใจผิด! พวกเราไม่ได้รีบร้อนตัดสิน กันที่ภายนอกหรือว่าวัตถุปรุงแต่ง  

แต่ 2 เรื่องที่ว่ามานี้ นักวิ่งใช้เป็นบทเปิดการสนทนา ทักทายที่ได้ผลเสมอ เพราะพวกเรามักบอกเล่าอย่าง คล่องปากถึงไอเท็มที่มี ก่อนจะยิงคำถามในกันและกัน ข้อถัดมาว่าเดือนหน้าไปวิ่งที่งานไหน” “เคยไปงานนี้ ไหม” “ปีนี้เราสมัครโตเกียวมาราธอนไว้ ไม่รู้จะล็อตโต้ ผ่านไหม?”

เศรษฐกิจ และการจับจ่าย

เป็นอีกมิติหนึ่งที่ล้อไปกับการวิ่ง ฟังดูช่างย้อนแย้งว่านี่เป็นการออกกำลังกายที่ใครเคยหล่นคำพูดว่า  ถูกที่สุด ลงทุนน้อยที่สุด แค่มีรองเท้าคู่เดียวก็วิ่งได้ จะวิ่งที่ไหน เวลาไหนก็ได้หากเป็นไปในเงื่อนไขข้อนี้แล้ว  การวิ่งที่อยู่ในศีลของการไม่ซื้อ ไม่เดินทาง ไม่จ่าย แทบไม่มีอยู่ในสารบบของนักวิ่งสมัยปัจจุบันนี้เลย  

เพราะว่ากันอย่างถึงที่สุด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ราคาของอุปกรณ์เสื้อผ้า นาฬิกา รองเท้าวิ่งบวกกันแล้วเป็น ตัวเลข 5 หลัก เป็นต้นว่า รองเท้าวิ่งคู่ละ 5,000 บาท นาฬิกาจีพีเอสรุ่นเริ่มต้น 8,000 บาทขึ้นไป เสื้อกีฬา ระบายเหงื่อได้ดีไม่เคยต่ำกว่าตัวละ 500 บาท กางเกงกระชับกล้ามเนื้อตามสมัยนิยมราคาโดดไปที่ตัวละ  2,000 บาท ผ้าบัฟซับเหงื่ออย่างน้อยๆ ต้องมีชิ้นละ 500 บาท การวิ่งย่อมไม่ใช่กีฬาราคาถูกอย่างที่เราเคยเข้าใจ  เพราะเมื่อถูกแต้มแต่งด้วยเฉดสีของแฟชั่นและเทคโนโลยี รวมถึงค่านิยมมากมายก่ายกองบนโซเชียลมีเดีย  ภายใต้รอยยิ้มที่สดใสสุขภาพดี ในนั้นมีรายจ่ายหลายรายการ นี่คือ เส้นทางวิ่งที่ตัดผ่านกระเป๋าสตางค์ของ นักกีฬามือใหม่ เป็นภาพเล็กระดับบุคคล แต่ยังมีการวิ่งที่เป็นภาพใหญ่ เส้นทางวิ่งที่ตัดผ่านระบบเศรษฐกิจ ของเมืองและประเทศไม่คิดว่าการวิ่งจะแพงขนาดนี้ผู้เขียนขอลงความเห็นไว้อย่างนี้ครับ

1. Abbott World Marathon Majors องค์กรธุรกิจด้านกีฬาข้ามชาติที่เข้ามา  มีส่วนร่วมบริหารงานมาราธอนบิ๊กเนม 6 รายการของโลก ที่เรียงร้อย จัดขึ้นใน 1 ปี มีเส้นชัยกระจายอยู่ใน 3 ทวีป 6 เมือง ได้แก่ บอสตัน  ชิคาโก นิวยอร์ก เบอร์ลิน ลอนดอน และโตเกียว หากนักวิ่งสามารถ พิชิตครบทั้ง 6 เส้นชัยจะได้รับการโปรโมตที่แอบบอตเรียกว่า ‘Six Star  Finishers’ ได้รับเหรียญพิเศษที่รวม 5 เมือง 6 สนามไว้ มีชื่อเรียก ติดปากว่าเหรียญพอนเดอริงโปรแกรมนี้เป็นทั้งความใฝ่ฝัน ความพยายาม เป็นจุดหมายปลายทางของนักวิ่งทางเรียบหลายล้านคนทั่วโลก และแน่นอนว่านี่คือโกลบอลมาร์เก็ตติ้งที่ทรงพลังในโลกของนักวิ่งมาราธอน 

ทว่าในแต่ละปีมีนักวิ่งได้ลงวิ่งในโปรแกรมสนามใหญ่นี้รวมกันไม่เกิน  250,000 คน นั่นเพราะถูกจำกัดด้วยกติกาที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละที่  เช่น บอสตันเน้นเรื่องความเร็ว โตเกียวมาราธอนต้องลุ้นผลจับฉลาก  ความยากในการวิ่งสะสมความสำเร็จให้ต่อเนื่องตามที่องค์กรนี้ตั้งธงไว้  ส่งผลให้แบรนด์แอบบอตเป็นขาใหญ่ของวงการยิ่งใหญ่แบบไร้คู่ต่อกร  ถึงขนาดว่าสามารถทำเงินได้ปีละ 150 ล้านเหรียญฯ หรือ 4.9 พันล้าน บาทไทย จากการบริหารแบรนด์รับค่าโฆษณา ขายสินค้าพรีเมี่ยมที่ระลึก  มีกำไรงาม ถึงขนาดว่าบริษัทอสังหาฯ เบอร์หนึ่งของจีนอย่าง  Wanda Group ขอร่วมทุนเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับแอบบอตเวิลด์มาราธอนเมเจอร์ ทำสัญญา 10 ปีเต็ม ระหว่างในปี 2017-2027  ด้วยมูลค่าสัญญาราคาหลายร้อยล้านเหรียญฯ นั่นทำให้มองได้ว่า งานมาราธอนเป็นเหมืองแร่แห่งใหม่ในสายตานักลงทุน เพราะมหกรรม Mass Participation หรือกิจกรรมมวลชนนี้ ประกาศวันรับสมัครเมื่อไหร่  ก็สามารถช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ทันที นำไปสู่การจับจ่าย อาทิ การเดินทาง การจองโรงแรม marathon as a journey การเข้า มามีส่วนร่วมเพื่อซื้อหาไลฟ์สไตล์สุขภาพดีและการพบปะสังสรรค์กัน ของกลุ่มนักวิ่ง ที่นับว่าเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อมหาศาล

ยกตัวอย่างของนักวิ่งคนหนึ่งต้องการเป็น Six Star Finishers พวกเขาต้องทุ่มเทฝึกซ้อมแรมปี แน่นอนว่า คงไม่ได้มีรองเท้าวิ่งแค่ 1 คู่ หรือเสื้อผ้ากีฬาไม่กี่ชุด นักวิ่งคนนั้นต้องสมัคร ต้องออกแข่ง เดินทางอย่างน้อย 6 ครั้ง ดั้นด้นไปยังจุดสตาร์ทที่กระจายอยู่ใน 4 ประเทศใหญ่ มีมูลค่าจำนวนไม่น้อยทีเดียว หากต้องไปอเมริกา 3 ครั้ง บินไปยุโรป 2 ครั้งและพาตัวเองไปอยู่ที่ชินจุกุในโตเกียวให้ได้อีก 1 ครั้ง นี่คือกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่อย่างน้อยมีนักวิ่ง 250,000 คนต่อปี เกี่ยวข้องด้วย มีการบุ๊กกิ้งสายการบิน โรงแรมที่พัก พอจะเห็นได้ว่า  เป็นตัวเลขที่แสนหอมหวานและสร้างความครึกครื้นเงินสะพัดให้เมืองนั้นๆ ในช่วงเวลาไม่กี่วัน

2. ตัดภาพไปที่นิวยอร์ก คอลัมนิสต์สายธุรกิจของนิตยสารฟอร์บส์ (Forbes) ลงข้อมูลเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการจัดนิวยอร์กซิตี้ มาราธอน รายการใหญ่กลางนครแมนฮัตตันในเดือนพฤศจิกายนปี 2014 เคิร์ธ บาเดนเฮาเซน รายงานว่าธุรกิจในเมืองบิ๊กแอปเปิ้ลมีรายรับ จากรายการนี้มากถึง 415 ล้านเหรียญฯ หรือกว่า 13,500 ล้านบาท  เพราะมีนักวิ่งจากทั่วโลกเดินทางมาร่วมงานกว่า 51,000 คนเศษ  (ยังไม่รวมผู้ติดตาม) ว่ากันว่าทุกๆ 1 กิโลเมตรในมหกรรมมาราธอนที่นี่ ถูกตีมูลค่าได้ถึง 9.8 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 321 ล้านบาท!   

ด้านชิคาโกมาราธอนในปี 2015 สร้าง Economic impact ได้สูง  277 ล้านเหรียญฯ มาราธอนอีเวนต์จึงเป็นที่เฝ้ารอของบรรดาห้างร้าน และธุรกิจท่องเที่ยว การเดินทางขนส่ง งานที่จัดขึ้นเพียง 1 วันในรอบปี  ทว่าเกิดผลลัพธ์ที่ดีไปทุกภาคส่วนของชิคาโก   

ด้านโอลิเวียร์ เด็ง แห่งเว็บข่าว The Daily Free Press ให้ข้อมูล ในเชิงลึกว่าสำหรับบอสตัน เมืองที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นเมืองท่องเที่ยว แต่เด่นทางด้านการศึกษา ปีทั้งปีไม่ได้มีงานหรือเทศกาลท่องเที่ยวที่หวือหวานัก เศรษฐกิจในเมืองนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยนักศึกษาเสียส่วนใหญ่  เพราะมีสถาบันเอ็มไอที มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด บอสตันคอลเลจ   

แต่ทุกคนก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ที่เป็นฤดูกาล ของบอสตันมาราธอน งานวิ่งที่เก่าแก่ที่สุดของโลก งานนี้ได้เข้ามาสร้าง สีสันและทำให้เมืองมีชีวิตชีวา มีการจับจ่ายสูงถึง 188 ล้านเหรียญฯ  ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่มีการจัดงาน ในปีล่าสุดที่มีการจัดงานมาราธอน ครั้งที่ 122 เมืองมีรายรับสูงขึ้นแตะตัวเลข 201 ล้านเหรียญฯ หรือ 6.5 พันล้านบาท  

ที่น่าสนใจไปยิ่งกว่านั้นก็คือ แม้สภาพอากาศในช่วงที่จัดงานจะมีฝนตกหนักและอุณหภูมิติดลบ เป็นบอสตัน ที่ทัศนวิสัยแย่ที่สุดในรอบหลายปี หากเป็นธุรกิจท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวย่อมมีการยกเลิกห้องพัก แต่เมื่อ เป็นการวิ่งมาราธอนที่ประธานจัดการแข่งขันอย่าง BAA-Boston Athletic Association ไม่ประกาศยกเลิกการแข่งขัน ทุกอย่างยังคงดำเนินต่อไป เส้นชัยในสนามวิ่งก่อให้เกิดการสร้างเส้นชัยในอุตสาหกรรมการบริการ ต่างๆ ของเมืองนี้ นักวิ่ง นักท่องเที่ยวยังคงถ่ายภาพโพสต์โซเชียลฯ กันหรา ติดแฮชแท็ก #BostonStrong  ตอกย้ำจิตวิญญาณของมาราธอน

3. ต่อเรื่องเส้นชัยมาราธอนในทางเศรษฐกิจ ไม่อ้างอิงถึง โตเกียวมาราธอน  ไม่ได้ ผู้เขียนเชื่อว่านี่เป็นสนามวิ่งต่างแดนสนามต้นๆ ที่นักวิ่งไทย อยากไปวิ่งมากที่สุดเพราะใกล้ไทยเพียง 6 ชม. มีความคุ้นเคยทางวัฒนธรรม  ได้รับการบอกเล่ากันปากต่อปากและเห็นผ่านสื่อโซเชียลฯ ถึงบรรยากาศ  การวิ่งที่เป็นหนึ่งเดียวกันของคนหลากหลายเชื้อชาติ ตามคอนเซปต์งาน ‘The Day We Unite’ – วันที่พวกเราเป็นหนึ่งเดียวกัน วิ่งไปบนถนน สายเดียวกัน ทุกปีมีใบสมัครมาที่นี่กว่า 337,000 ใบ แต่มีนักวิ่งได้วิ่ง จริงผ่านการสุ่มเลือกจำนวน 35,000 คน ในฐานะของประเทศและเมือง ที่เคยผ่านการจัดมหกรรมโอลิมปิกมาแล้ว และเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพ ในปี 2020 สำหรับงานโตเกียวมาราธอนที่ผ่านมาเมื่อต้นปี 2018  นับเป็นการซ้อมใหญ่ที่ทรงประสิทธิภาพ เศรษฐกิจคึกคักมีเม็ดเงิน หมุนเวียนมหาศาลจากบรรดาของที่ระลึก เสื้อยืดแบรนด์ Asics  ที่ออกแบบด้วยโลโก้งานมาราธอนกว่า 40 แบบ ทยอยขายหมดสต็อก ตั้งแต่งานแสดงสินค้าเปิดได้ไม่กี่ชั่วโมง ราคาคิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ตัวละ  1,100 บาท ถูกขายออกไปนับหมื่นๆ รายการในเวลา 4 วัน มีข้อมูล จากผู้จัดงานว่ามีผู้สนใจชมงาน Tokyo Expo กว่า 1 แสนคนต่อวัน  ที่จัดขึ้นที่ศูนย์แสดงสินค้า Tokyo Big Sight บนเกาะโอไดบะ เดินทาง สะดวกสบายห่างจากสถานีชิมบาชิ (Shimbashi JR) ไปราว 20 นาที    

ย้อนกลับไปดูสถิติตัวเลขที่โตเกียวมาราธอนสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้กับตัวเลขในปี 2017 สูงถึง 13.35 พันล้านเยน หรือราว 120 ล้านเหรียญฯ (3.9 พันล้านบาท) นอกจากกระตุ้นในเชิงธุรกิจได้แล้ว มูลนิธิโตเกียว มาราธอนฟาวน์เดชั่นยังสามารถระดมจากกิจกรรมงานวิ่งนี้ได้สูงถึง  313 ล้านเยน หรือ 2.8 ล้านเหรียญฯ เพื่อส่งมอบให้องค์กรทำ สาธารณประโยชน์ต่อไป 

ประสบการณ์ตรงที่ผู้เขียนอยู่ในงานวิ่งโตเกียวมาราธอนปีที่ผ่านมา  พบว่า ญี่ปุ่นยังคงเก่งเสมอในการสร้างสินค้าทางวัฒนธรรม การเดิน อยู่ในงานเอ็กซ์โปมีบูทแสดงสินค้าที่เกี่ยวกับเรื่องวิ่งมากกว่า 300 ร้าน  ฮอลล์แสดงสินค้าขนาด 3 สนามฟุตบอลดูแคบลงไปถนัดตา จากจำนวน ผู้สนใจ คิวการจ่ายเงินก็ยาวเหยียดแต่ฉับไวเป็นระเบียบ มาถึงวันจริง แม้การวิ่งมาราธอนต้องแลกกับการปิดถนนใหญ่ 7 ชั่วโมงในย่านการค้า สำคัญๆ ของเมืองอย่าง ชินกุจุ กินซ่า หรือย่านท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง อย่าง  อาซากุสะ แต่ด้วยการวางแผน การประชาสัมพันธ์อย่างดี ด้วยการมี ตัวเลือกการคมนาคมของเมืองอย่างรถไฟใต้ดิน โครงข่ายที่เชื่อมถึงกัน  โดยที่เมืองทั้งเมืองที่มีนักวิ่ง 35,000 คนเคลื่อนตัวด้วยสองเท้าอยู่บนถนน  และคนอีกกว่า 1 ล้านคนออกมาเชียร์ริมทางตลอด 42.195 กิโลเมตร    

ไม่มีภาพที่ จุดหนึ่งจุดใดของเมืองการจราจรเป็นอัมพาต มิหนำซ้ำงานด้านการท่องเที่ยวยังทำหน้าที่ โปรโมตการแข่งขัน แจกแผ่นพับขนาดเล็กให้ข้อมูลการเดินทางเชียร์นักวิ่งของคุณตามกิโลเมตรต่างๆ  ที่เข้าถึงได้ด้วยรถไฟใต้ดินบรรดาร้านรวงที่อยู่สองข้างทาง มีโปรโมชั่นรายการอาหารเพื่อต้อนรับทัพ นักท่องเที่ยวกองเชียร์ ตั้งแต่เก้าโมงเช้าไปจนถึงบ่ายสองของวันนั้น เมืองทั้่งเมืองแปรสภาพเป็นมาราธอน สเตเดียมอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด เป็นการบอกชาวโลกอีกนัยหนึ่งว่า โตเกียวกำลังเตรียมความพร้อมไปสู่ มหกรรมกีฬาโอลิมปิก Tokyo 2020 สู่ศตวรรษแห่งใหม่ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยยุทธศาสตร์ การบริหารงานด้านกีฬาครั้งที่ท้าทายที่สุดของประเทศ

4. จากตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมา น่าจะพอทำให้เห็นทั้งภาพเล็กและภาพใหญ่  ทางเศรษฐกิจที่เชื่อมร้อยกันผ่านการวิ่ง 

ตัดภาพมามองแผนที่ประเทศไทยเรื่องการจัดงานมาราธอนที่มีผลกระทบ ทางเศรษฐกิจน่าจะมีนัยสำคัญ มีกรณีศึกษาล่าสุดจากสนามขนอมมาราธอน  ชายหาดขนอมวางตัวเรียบอ่าวไทยในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชายหาด ที่ทรายขาว น้ำทะเลใสไม่เหนอะหนะ บรรยากาศสงบเงียบไม่อึกทึก ด้วยเสียงเพลงหรือปาร์ตี้ จุดท่องเที่ยวมีโลมาสีชมพู มีวิถีชีวิตชุมชน ชาวบ้านและธรรมชาติที่ผ่อนคลาย แต่ทั้งนี้นักท่องเที่ยวต้องลงเครื่องบิน จากสนามบินนครศรีธรรมราช เดินทางด้วยรถยนต์ อีก 1 ชั่วโมง 15 นาที จึงจะถึงบริเวณหาดขนอม แน่นอนว่า ขนอมไม่ใช่ตัวเลือกแรกแน่ๆ  หากอยากท่องเที่ยวทะเลใต้   

นปี .. 2559 ชุมชนเล็กๆ ที่นี่ริเริ่มจัดงานวิ่งขนอมมาราธอนขึ้นมา  ชูความน่าสนใจเรื่องการวิ่งมาราธอนริมหาดทราย เวลานั้นเมืองคนดี นครศรีธรรมราชมีงานมาราธอนที่นักวิ่งทราบกันดีอย่างลานสะกา มาราธอนเป็นการวิ่งในวิวทิวทัศน์ของต้นไม้ป่าเขา ขนอมชูเรื่องทะเล  ในปีแรกมีนักวิ่งบ้านใกล้เรือนเคียงจากจังหวัดใกล้ๆ สงขลา พัทลุง  สุราษฎร์ธานี และภูเก็ตมาร่วมวิ่ง ทั้งงานมีนักวิ่งราว 1,000 คน  งานจัดต่อเนื่องมาทุกปีได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ จนมาถึงปี  .. 2561 จำนวนนักวิ่งทุกระยะโตขึ้น 5 เท่าในเวลา 3 ปี มีนักวิ่ง นักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศสนใจไปร่วมวิ่งขนอมมาราธอนประเภท ต่างๆ รวมกันกว่า 5,000 คน โรงแรมรีสอร์ตที่พักตลอดเส้นทาง  พ่อค้าแม่ขายรายเล็กรายน้อยในชุมชนมีรายได้ขายดีในชั่วข้ามคืน  เศรษฐกิจชุมชนครึกครื้นจากกองทัพนักวิ่งที่เข้าไปใช้ชีวิตช่วงสุดสัปดาห์ ที่นั่น การผสมผสานการท่องเที่ยวในเชิงกีฬาหรือว่า Sport Tourism  น่าจะเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีเมื่อกระบวนการนี้ถูกคลุกเคล้าไปกับการจัด งานวิ่งมาราธอนอย่างมีคุณภาพที่ชุมชนนั้นๆ มีส่วนร่วม การขับเคลื่อน เศรษฐกิจแบบไร้ปล่องควันแบบไร้ท่อไอเสีย ด้วยสองขาและหยาดเหงื่อ ของนักวิ่งนักกีฬานั่นเอง 

คำอ้างอิงต่อความเป็นไปได้เรื่องเส้นชัยในมาราธอน เส้นชัยในทางเศรษฐกิจตอนท้ายนี้ ขอยกงานวิจัยของ เกรกอรี่ พาแพนนิกอส (Gregory Papanikos) ที่ตีพิมพ์งานวิจัยในปี 2015 ว่าด้วยเรื่อง ‘The Economic  Effects of a Marathon as a Sport Tourism Event’ โดยอาศัยการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์จากงาน  Athens Marathon ระหว่างปี 2014-2015 เป็นที่ทราบกันดีว่าอยู่ในช่วงที่ประเทศกรีซประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ รุมเร้า ถูกลดความเชื่อมั่นจากนักลงทุนในตลาดค่าเงินยูโร เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน มหกรรมการจัด มาราธอนในกรุงเอเธนส์ ได้เข้ามากอบกู้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของกรีซไว้ในช่วงเดือนที่มีงาน รายงานชิ้นนี้ พบว่าชื่อเสียงของมาราธอนตลอดจนการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยมในทุกภาคส่วน ย่อมมีส่วนช่วยการันตีผลตอบแทน ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับเมืองที่เป็นเจ้าภาพ เมืองที่ทุกคนทุกฝ่ายร่วมเป็นเจ้าภาพ ไม่เฉพาะแค่หน่วยงาน หนึ่งหน่วยงานใด เมื่อเป็นเช่นนี้มาราธอนที่จัดก็จะตอบแทนทุกคนทั้งเรื่องเศรษฐกิจและขวัญกำลังใจไปพร้อมๆ กัน  

การวิ่งเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าและราคาแพงในทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่เล่ามานั่นเอง

 

เรื่องโดย : มนตรี บุญสัตย์

 

เกี่ยวกับผู้เขียน 

มนตรี บุญสัตย์ เคยทำงานเป็น บรรณาธิการเซคชั่นนิตยสาร GM  เป็นนักวิ่งมาราธอน ร่วมงานกับแบรนด์ กีฬาต่างๆ เคยร่วมงานนิวยอร์กซิตี้ มาราธอน โตเกียวมาราธอน สนใจ งานสื่อสารเรื่องการวิ่งและวัฒนธรรม  ปัจจุบันเป็นบล็อกเกอร์เรื่องวิ่งที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ Running Insider |  facebook.com/runninginsider

Share This Story !

4.2 min read,Views: 758,

Related projects

  • ¡Hola! Spanish Travelers

    พฤษภาคม 11, 2025

  • ‘เรื่องเล่น’ เรื่องเล็กน้อยมหาศาล

    พฤษภาคม 11, 2025

  • ‘DESERT SUPERCITY’ มหานคร แห่งทะเลทราย

    พฤษภาคม 11, 2025