คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยว

Since the beginning of 2020, Thailand has been facing difficulties in the wake of the COVID-19 outbreak, which has continuously stalled the foreign tourist arrivals. In the first quarter of 2020, the total arrivals of international tourists were approximately 8.3 million, which accounted for a 23 percent decrease, generating tourism revenue of 4.4 hundred billion Baht or down by 21 percent. The impact included the cancellation of hotel rooms and flights to Thailand. In the second quarter, it is expected that the number of foreign travellers will continue to contract by 30 percent or approximately 6.3 million people.

For domestic travel, in the first quarter of 2020, the slowdown in the country’s economy from last year in conjunction with the rise of the PM 2.5 (hazardous ultra-fine dust) level blanketing many regions and the outbreak situation of the COVID-19 resulted in the stagnation in the market overall. The number of travelling was 33.58 million people/trips, down by 5 percent, generating income of 2.64 hundred billion Baht, which accounted for a 4 percent decrease. In the second quarter, it is predicted that the slow economic recovery will cause Thai travellers to be cautious about their spending with the ongoing fear of virus infection, which overall will result in a 4 percent contraction of visitors or about 40.31 million people/trips.

 


คาดการณ์สถานการณ์ท่องเที่ยวไทย (มกราคม-มีนาคม 2563)

ตลาดต่างประเทศ

 

 

ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2563 สถานการณ์ท่องเที่ยวไทยเผชิญกับอุปสรรคใหญ่หลายประการ ตั้งแต่เดือนมกราคมอย่างต่อเนื่อง แต่อุปสรรคสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างมาก คือ การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งฉุดให้การเดินทางในเอเชียและไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าวิกฤตการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบมากกว่าการระบาดของโรคซาร์ส เมื่อปี 2546 เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้ตลาดจีนหดตัวอย่างรุนแรง และภาคการท่องเที่ยวของไทยก็พึ่งพาตลาดจีนในสัดส่วนที่สูงกว่าอดีต ทั้งนี้คาดว่าไตรมาสแรกปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวไทยจะลดลงมากกว่าร้อยละ 20 และจะหดตัวต่อเนื่องไปถึงไตรมาสถัดไป

 

 


สถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 (24 ก.พ. 63)

ที่มา : กรมควบคุมโรค (23 ก.พ. 63)

 

 

  • จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในภูมิภาคเอเชียมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเริ่มกระจายไปทั่วโลก โดยเฉพาะภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง
  • ประเทศที่มีการระบาดเพิ่มขึ้นสูง หันมาใช้มาตรการ ‘ปิดเมือง’ เช่น จีน อิตาลี
  • ประเทศต่างๆ ใช้มาตรการป้องกัน/ลดการแพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศ โดยประกาศเตือน หรือจำกัดการเดินทาง ไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส

 

 

ผลกระทบเบื้องต้นต่อการท่องเที่ยวไทย

• ยกเลิกเที่ยวบินเข้าสู่ไทย มากกว่า 100 เที่ยวบิน/สัปดาห์ จากประเทศจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

• ยกเลิกห้องพักในพื้นที่ท่องเที่ยวหลักเช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ ชะอำ พัทยา สมุย มากกว่า 5 หมื่นห้อง

• ยกเลิกการจองบัตรโดยสารเครื่องบินล่วงหน้ามายังประเทศไทย ประมาณ 60% ของยอดจองล่วงหน้าฯ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2563 (ที่มา ระบบ Forwardkeys ณ 25 ก.พ. 63)

• หลายประเทศประกาศเตือนให้ระมัดระวังการเดินทางมาไทย เช่น สเปน นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหราชอาณาจักร อิสราเอล และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

• เกิดกระแส Xenophobia เหยียดชาวจีนและชาติเอเชีย

• ยกเลิกกิจกรรมระดับนานาชาติในไทย เช่น Honda LPGA Thailand 2020, คอนเสิร์ต Legend Festivals

 


แนวโน้มท่องเที่ยวตลาดในประเทศ

ไตรมาสที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 63)

 

ตลาดในประเทศ

ท่องเที่ยวตลาดในประเทศไตรมาสที่ 1 แม้ว่าจะมีการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวเมื่อเดือนมกราคม แต่เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความผันผวนของสถานการณ์โลก เศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ประชาชนเริ่มไม่มั่นใจและระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับค่าฝุ่นละอองที่ปกคลุมในหลายภูมิภาค อาทิ กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งการระบาดของไวรัสที่เป็นโรคติดต่ออันตรายในประเทศจีนเมื่อช่วงต้นปี และเกิดการแพร่กระจายไปสู่หลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้บั่นทอนบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยวตลาดในประเทศทำให้ภาพรวมไตรมาสที่ 1 เข้าสู่ภาวะซบเซา โดยมีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 33.58 ล้านคน-ครั้ง ลดลงร้อยละ 5 และรายได้อยู่ที่ 2.64 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 4

หมายเหตุ : สถิติจำนวนและรายได้ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2563
เป็นข้อมูลประมาณการจากงานวิเคราะห์ตลาดในประเทศ กกต.

สถานการณ์รายภูมิภาค

 

 

จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 สู่ประเทศไทย มีผลให้ 8 จังหวัดท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวจีนนิยมเดินทางเข้าพื้นที่ ถูกจัดเป็นพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน-ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อ) ภูเก็ต กระบี่ เชียงใหม่ เชียงราย ชลบุรี และสมุทรปราการ และส่งผลกระทบให้นักท่องเที่ยวเกิดความไม่มั่นใจด้านอนามัยในพื้นที่ท่องเที่ยว และวิตกกังวลต่อการติดเชื้อโรค จึงหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางเข้าพื้นที่ ส่งผลให้จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยและรายได้ท่องเที่ยวในจังหวัดดังกล่าวอยู่ในภาวะติดลบ

ขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะเกาหลีและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีกำหนดออกเดินทางไปยังประเทศดังกล่าวในช่วงเวลานี้ เกิดความตื่นกลัว ห่วงความปลอดภัยของตนเอง จึงตัดสินใจเลื่อนการเดินทาง หรือยกเลิกการเดินทาง ซึ่งสถิติการเดินทางออกนอกประเทศรายวันของชาวไทยจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) พบว่า ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่มีการพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในสองประเทศ รวมทั้งการประกาศเตือนนักท่องเที่ยวให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศดังกล่าว ยิ่งส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางออกนอกประเทศลดลงประมาณร้อยละ 20-30

ปัจจัยอุปสรรค

  • ภาวะเศรษฐกิจโลกและภายในประเทศ ชะลอตัว
  • การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 จากประเทศจีน

 


แนวโน้มสถานการณ์ไตรมาสที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2563)

ตลาดต่างประเทศ

ในไตรมาสที่ 2 คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติยังหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงร้อยละ 30 หรือมีจำนวนประมาณ 6.3 ล้านคน คาดว่าทุกภูมิภาคจะมีแนวโน้มลดลงเพิ่มขึ้น จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ มากขึ้น ผนวกกับมาตรการป้องกันการระบาดของแต่ละประเทศที่ยกระดับความเข้มข้นขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ หลายประเทศเริ่มได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการปิดเมือง/การหยุดงานของพนักงาน ซึ่งคาดว่าการหดตัวดังกล่าว จะยังคงต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 3

 

 

ตลาดหลักที่มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง

จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดียอิตาลี สเปน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

 

 

ตลาดในประเทศ

ท่องเที่ยวในประเทศไตรมาสที่ 2 แม้ว่าจะมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายช่วงและปิดภาคเรียนฤดูร้อน ที่กลุ่มตลาดหลักชาวไทยคือ กลุ่มครอบครัว กลุ่มเพื่อน ส่วนใหญ่จะนัดหมายออกเดินทางท่องเที่ยวในช่วงนี้ แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัวช้า ปัญหาค่าครองชีพส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทยระมัดระวังการใช้จ่าย นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังแพร่กระจายในวงกว้าง และไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลาย ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดภาวะตื่นกลัว วิตกกังวลกลัวการติดเชื้อและหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง

 

 

ส่งผลให้ภาพรวมท่องเที่ยวในประเทศ มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยลดลงร้อยละ 4 หรือประมาณ 40.31 ล้านคน-ครั้ง และรายได้ลดลงร้อยละ 3 หรือประมาณ 2.51 แสนล้านบาท โดยพื้นที่เมืองหลักมีแนวโน้มจำนวนผู้เยี่ยมเยือนท่องเที่ยวลดลง ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5 เนื่องจากเป็นพื้นที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวคนไทย เมื่อมีปัจจัยลบเกิดขึ้น จึงส่งผลกระทบมากกว่าพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นขณะที่พื้นที่เมืองรองมีแนวโน้มจะฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยวได้ดีกว่า โดยมีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2 เนื่องจากมีขนาดตลาดที่เล็กกว่า

 

Share This Story !

5.5 min read,Views: 1642,

Related projects

  • ¡Hola! Spanish Travelers

    เมษายน 5, 2025

  • ‘เรื่องเล่น’ เรื่องเล็กน้อยมหาศาล

    เมษายน 5, 2025

  • ‘DESERT SUPERCITY’ มหานคร แห่งทะเลทราย

    เมษายน 5, 2025