BIG DATA BIG PICTURE การสร้างอนาคต ด้วยพลังของข้อมูล

The TAT Academy conducted the seminar ‘Tomorrow’s Tourism: The Future Is Now’ at the Bangkok Marriott Marquis Hotel on 21 September, 2018. In the seminar, there was a lecture on ‘Big Data Big Picture’, -to trap the future with the power of data-, which indicated the possibility of using ‘big data’ to study consumers’ behaviour. Thus, we can design the promotion of tourism, which is of interest to tourists. Also, big data would allow us to see new markets.

The lecture gave importance to the matters of the voice of tourists, route analysis, and a tourist group of digital nomads.

ศูนย์พัฒนาวิชาการด้านการตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดสัมมนา ท่องเที่ยวไทย เดินหน้าสู่อนาคต Tomorrow’s Tourism: The Future is Now เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค จากการสัมมนาดังกล่าว ททท. ได้จัดทำสรุปสาระสำคัญการบรรยายในหัวข้อ BIG DATA BIG PICTURE การสร้างอนาคตด้วยพลังของข้อมูล โดย คุณศิเวก สัจเดว กรรมการผู้จัดการบริษัทไมนด์ทรี จำกัด

สรุปสาระสำคัญในการบรรยาย

Big Data ทำให้เห็น Big Picture

เมื่อช่วงต้นปี 2018 เกิดเทรนด์ข้าวซอยฟีเวอร์ในสหรัฐอเมริกา โดยผู้กำกับ Netflix ชื่อดัง Philip Rosenthal ผู้กำกับซีรีส์ยอดนิยม ‘Everybody loves Raymond’ เป็นผู้ทำให้คนทั้งประเทศลุกขึ้นมา Search คำว่าข้าวซอย หลังจากได้ดูรายการโทรทัศน์บน Netflix ของเขาที่ชื่อว่า ‘Somebody Feed Phil’ ออกอากาศวันแรกวันที่ 12 มกราคม 2018 โดย Episode แรก พูดถึงอาหารไทย โดยเริ่มจากการชิมอาหารที่กรุงเทพฯ และปิดท้ายรายการด้วยการพาไปกินข้าวซอยที่เชียงใหม่ จากรายการดังกล่าวทำให้คนอเมริกันที่มีโอกาสดูรายการรู้สึกว่า ‘ฉันต้องไปกินให้ได้’

Big Data เก็บข้อมูลว่าคนเห็นวิดีโอนี้แล้วพูดว่าอะไรบ้างที่สหรัฐอเมริกา ข้อเท็จจริงที่ปรากฏออกมาคือ

“ดู VDO เสร็จจะออกไปกินข้าวซอย”

“ดูรายการที่พูดถึงข้าวซอยแล้ว ฉันจะไปประเทศไทยให้ได้”

Phil คือ Influencer ที่ทำให้รายการอาหารที่เชียงใหม่ที่ชื่อ ‘ข้าวซอย’ มีคนดูจำนวนมากและอยากมาเที่ยวเมืองไทย อยากมาเที่ยวเชียงใหม่ อยากมาทานข้าวซอยที่เดียวกับ Phil กระแสข้าวซอยฟีเวอร์ ทำให้คนพูดถึงข้าวซอยเป็นจำนวนมาก เกิดการทำคอนเทนต์มากมายบนโลกอินเทอร์เน็ต อาทิ 40 Bucket list food (อาหารที่คุ้มค่ากับการเดินทางเพื่อไปกิน) และทำให้เริ่มมีร้านอาหารที่ขายเฉพาะข้าวซอยเปิดตัวขึ้นในสหรัฐฯ

เป็นกระแส
เพราะคนเริ่มพูดผิด
จาก ข้าวซอย เป็น ข้าวสาร

จะรู้ว่าอะไรที่กำลังเป็นกระแสเมื่อพบว่า ‘คนเริ่มพูดผิด’ ยกตัวอย่าง ข้อมูลที่ดึงมาจาก Big Data พบข้อมูลการโพสต์บนสื่อออนไลน์ที่ผิดเรื่องข้าวซอยเป็นจำนวนมาก มีคนพูดว่า “การท่องเที่ยว nightlife ในประเทศไทยนี่สุดยอดมาก สถานที่แนะนำ 2 แห่ง คือ สุขุมวิท และ ข้าวซอย (เข้าใจผิดระหว่างข้าวสาร)

2 Big Data ช่วยในการโหนกระแส

เมื่อกราฟ Big Data แสดงถึงสิ่งที่คนพูดถึงมากพุ่งสูง สิ่งที่ควรจะทำจากปรากฏการณ์นี้ก็คือ การดักอนาคต หรือ ‘การโหนกระแส’ ยกตัวอย่าง เมื่อคนเริ่มพูดถึงข้าวซอย ททท. ก็ออกมาสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยพูดถึงข้าวซอยให้มีความถี่มากขึ้น กระแสเป็นสิ่งที่มีคนทำให้เราอยู่แล้ว มีคนมาจุดไฟให้ สิ่งที่ต้องทำก็คือเทน้ำมันลงให้ไฟลุกแรงขึ้นเท่านั้นเอง

ข้อมูล Big Data ของนักท่องเที่ยวนี้สามารถเอามาจาก Hashtag และ Social Media

การดึงข้อมูลออกมาจากโซเชียลมีเดีย แล้วทำข้อมูลออกมาเป็นกราฟที่แสดงถึง Voice of Tourists เสียงของนักท่องเที่ยว จะรู้ว่าพวกเขาพูดถึงเราในแง่ไหน แง่บวกหรือแง่ลบ จะส่งผลอะไรกับเรา

So this is what we do… ขั้นตอนการทำ Big Data

เริ่มจากการดึงข้อมูล (Gather Data) -> จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ (Analyze Data) -> และการทำให้ทุกคนเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวออกมาในเชิงบวกหรือเชิงลบ (Visualize Data) ประเด็นสำคัญคือ Big Data นี้ถ้าทำแล้วไม่วิเคราะห์ก็ไร้ประโยชน์ เหมือนการเก็บข้อมูลมาไว้เฉยๆ

ข้อมูล Big Data จาก Voice of Tourists (VOT) เด่นๆ ที่น่าจับตามองในปี 2018

คาเฟ่สุนัขฮัสกี้กับคาเฟ่ยูนิคอน

พูดถึงกรุงเทพฯ คนอเมริกาและคนที่ใช้ภาษาอังกฤษบนโซเชียลมีเดียเขามองเรื่องอะไร สิ่งที่น่าแปลกคือเรื่องที่เรามองข้าม เรื่องคาเฟ่ต่างๆ เช่น คาเฟ่สุนัขฮัสกี้ คาเฟ่แมว หรือแม้แต่ยูนิคอน คนอเมริกาก็จะแสดงความคิดเห็นออกเป็น 2 พวก คือพวกอยากมาเที่ยว กับพวกต่อต้านมองว่า เป็นการทารุณกรรมสัตว์ การที่จะมีฮัสกี้มาอยู่ในเมืองร้อนอย่างกรุงเทพฯ เป็นเรื่องที่ผิด แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังพูดถึงในเชิงบวกอยู่ อยากจะมาเที่ยวกรุงเทพฯ เพราะสถานที่ 2 อย่างนี้

ชาวต่างประเทศบางส่วนมองว่ากรุงเทพฯยังเป็นเมืองที่คนขี่ช้าง ยังอยู่ในป่า

กระแสข่าวเรื่องงูโผล่มาจากโถส้วมในห้องน้ำ ทำให้คนรู้สึกว่า Bangkok off the bucket list… ไม่อยากมากรุงเทพฯ เพราะกลัวเข้าห้องน้ำแล้วโดนงูฉก มีจำนวนคนพูดถึงมากและเห็นด้วย ส่วนหนึ่งเกิดจากจิตวิทยาที่เรียกว่า Social Prove – สุภาษิตไทย ‘เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง’

Big Data ช่วยเรื่องผลกระทบ

อ่าวมาหยาปิดจะไปเที่ยวไหนแทน ตัวอย่างเช่น ตรัง ก็จะมีคนพูดถึงว่าสามารถทดแทนได้

ภูเก็ต และ Boracay ฟิลิปปินส์

Boracay เป็นเกาะในประเทศฟิลิปปินส์ที่สวยติดอันดับโลก และถือว่าเป็น จุดหมายปลายทางที่เป็นคู่แข่งกับภูเก็ตของไทย ในฐานะที่เป็น Destination Competition จะเห็นว่าเมื่อคนเสิร์ชหาภูเก็ต ก็จะเสิร์ชหา Boracay ด้วย เปรียบเทียบกันว่าจะไปที่ไหนดี Big Data สามารถบอกได้

Big Data สุดท้ายจะแสดงภาพออกมาเป็น ทัศนคติเชิงบวกและทัศนคติเชิงลบ

กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต มีอยู่ช่วงหนึ่งที่คนพูดถึงพัทยาในมุมบวกจำนวนมาก ปกติคนจะมองว่าเป็น Sin City แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ กลับกัน ภูเก็ตกลับมีคนพูดถึงในเชิงลบจำนวนมาก สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ พัทยาที่พูดถึงในเชิงบวกก็คือกระแสตอบรับที่จะมีไฟลต์บินตรงจากการ์ตาไปที่อู่ตะเภา และมองว่าสามารถที่จะเดินทางต่อไปพัทยาได้ คนมองว่าจะเป็นประโยชน์ ต่อการเดินทาง ส่วนภูเก็ตมีข่าวเรื่องคนเมายาเดินแก้ผ้าที่สนามบินภูเก็ต และเรื่องนี้กลับเป็น Viral มีคนพูดถึงมาก จนเกิดกระแสคนพูดถึงในเชิงลบ

Big Data ช่วยให้สามารถคาดเดาอนาคตได้

ดีขึ้นหรือแย่ลง ยกตัวอย่าง กระบี่ ปกติคนจะมองว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเบอร์ 1 ตลอด คนจะพูดถึงในเชิงบวก แต่มาภายหลังกระบี่เริ่มติดลบ ปรากฏว่าคนเริ่มพูดถึงกระบี่ว่านักท่องเที่ยวเริ่มล้น หรือ overtourism ข้อมูลตัวนี้เริ่มแสดงให้เห็นตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2018 เป็นตัวชี้วัดบอกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร

Big Data แสดงให้เห็นว่า Segment กลุ่ม Digital Nomad กำลังสร้างอิทธิพลต่อการท่องเที่ยว

VDO ของ Net Idol หรือ Influencer คนหนึ่ง ที่มีคน Follow อยู่ประมาณล้านกว่าคน VDO เปรียบเทียบกรุงเทพฯ กับกัวลาลัมเปอร์ เปรียบเทียบ 2 เมือง โดยวัดจาก 5 ปัจจัย อาหาร กิจกรรม Nightlife ผู้คน และ Lifestyle ผลปรากฏว่าใน Comment VDO กลับมีกระแสโพสต์ I’m Thai but… I love Malaysia และในวิดีโอมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ

  • อาหาร กัวลาลัมเปอร์ ชนะ กรุงเทพฯ
  • Things to do และ Nightlife กรุงเทพฯ ชนะ กัวลาลัมเปอร์
  • People และ Lifestyle กัวลาลัมเปอร์ ชนะ กรุงเทพฯ

กลุ่ม Segment Digital Nomad

จำนวนประชากรในอเมริกาที่ทำงาน Freelance หรือเป็น Digital Nomad มีจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนไม่ต้องการทำงานประจำ ในขณะที่ Speed Wifi ทั่วโลกเพิ่มขึ้น คนแต่งงานน้อยลง “A Decline in the incidence of marriage mechanically lowers home ownership” หรือคนไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเจ้าของบ้าน งานประจำก็ไม่ต้องทำ งานก็ไม่ต้องแต่ง จะซื้อบ้านทำไม พวกเขาก็เลยออกเที่ยวเพราะบัตรโดยสารก็ราคาถูกลง เครื่องบินก็ดีขึ้นและไวขึ้น

“There will be 1 billion digital nomads by 2035” เกี่ยวกับประเทศเราตรงที่ว่ากลุ่ม Digital Nomad เหล่านี้จะมีการรวมตัวกัน Nomad list จะเป็นเว็บไซต์แนะนำจัดอันดับเมืองสำหรับกลุ่ม Nomad เหมือน Tripadvisor ที่ทำขึ้นมาสำหรับกลุ่มที่เรียกว่า Digital Nomad กลุ่มคนที่เรียกได้ว่าชอบเร่ร่อน ผจญภัย ทำงาน จุดหมายปลายทางเชียงใหม่ กรุงเทพฯ ไม่เคยหลุดจาก Top 3 Top 5 และเชื่อหรือไม่

กลุ่ม Digital Nomad จะเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เราจะต้องคิดว่าจะทำอย่างไรกับคนกลุ่มนี้

ตัวอย่างน่าสนใจในกรณีตลาดอินเดีย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Voice of Tourists ที่อาศัยการนำข้อมูล Online Data หรือ Social Media Data มาวิเคราะห์เพื่อจะเข้าใจถึง Sentiment (ทัศนคติของนักท่องเที่ยว) ได้ทำการจับกระแสและมองเห็นถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวอินเดียที่ได้พูดถึงประเทศไทย โดยเฉพาะ Shopping และ Street Food ในกรุงเทพฯ

นักท่องเที่ยวชาวอินเดียสามารถที่จะก่อตัวเป็น ‘The Next Wave’ – หากประเทศไทยสามารถเข้าใจว่า สิ่งที่นักท่องเที่ยวชาวอินเดียต้องการคืออะไร หรือพฤติกรรมเป็นอย่างไร เช่น การเปรียบเทียบระหว่าง Street Food Thai vs. Street Food India – จะเห็นว่ามีอิทธิพลสูงมากกับการทำให้คนอินเดียอยากมาเที่ยวเมืองไทย (จากตัวอย่างที่เห็น คือ Influencer ชาวอินเดียมาเดินชิม Street Food ในกรุงเทพฯ และมีการพูดเปรียบเทียบกลับไปเป็นภาษาฮินดี และเทียบกับอาหารที่ใกล้เคียง ทำให้คนอินเดียสามารถเข้าถึงการท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น)

อีกพฤติกรรมที่ Big Data สามารถบอกได้เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย คือ เมื่อเดินทางออกนอกประเทศ เช่น มาเที่ยวประเทศไทย ก็จำเป็นที่จะต้องมีอาหารอินเดียสักมื้อสองมื้อ เพราะความเคยชิน จะเห็นได้จากตัวอย่างที่ Influencer ชาวอินเดียมา review อาหารอินเดียตามโรงแรมที่เมืองไทย

เรื่อง : ศูนย์พัฒนาวิชาการด้านการตลาดการท่องเที่ยว ททท.

Share This Story !

6 min read,Views: 636,

Related projects

  • ¡Hola! Spanish Travelers

    เมษายน 20, 2025

  • ‘เรื่องเล่น’ เรื่องเล็กน้อยมหาศาล

    เมษายน 20, 2025

  • ‘DESERT SUPERCITY’ มหานคร แห่งทะเลทราย

    เมษายน 20, 2025