บทเรียนที่ได้ จากการขึ้นทะเบียน เป็นมรดกโลก และการส่งเสริม การท่องเที่ยวเชื่อมโยง
World Heritage sites in Thailand and their promotion
As the Thai cultural heritage sites of Sukhothai, Ayutthaya and Ban Chiang were registered within the UNESCO World Heritage List since early 1990s, review of the heritage policies of the time are seen in a more recent perspective is given here. Such analysis highlights that local stakeholders’ participation as well as a more comprehensive planning within a tourism perspective are the major issues blocking their full appreciation as cultural tourism sites.
ปี 2018 ถือเป็นปีที่สำคัญมากสำหรับมรดกทาง วัฒนธรรมของไทย เมื่อสามสิบปีที่ผ่านมา ทับหลัง นารายณ์บรรทมสินธุ์ ซึ่งเดิมเคยตั้งอยู่ที่ปราสาทหินพนมรุ้ง ได้ถูกนำส่งกลับคืนจากสถาบันศิลปะเมืองชิคาโก (Art Institute in Chicago) จากการเรียกร้องของวงดนตรีคาราบาวร่วมกับประชาชนไทย แต่งเพลงที่มีคำร้องตอนหนึ่งต่อสหรัฐอเมริกาว่า “เอาไมเคิลแจ็คสันคืนไป เอาพระนารายณ์คืนมา” การกลับมาของทับหลังแกะสลักนี้ ได้จารึกเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย ในช่วงดังกล่าว มรดกทางวัฒนธรรมครั้งนั้น ถูกสันนิษฐานถึงการเชื่อมโยงของสองมุมมอง ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ โดยในปีเดียวกันนั้นเอง แหล่งมรดกอันทรงคุณค่าของไทยสามแห่งได้ถูกเตรียมความพร้อมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก (UNESCO World Heritage) อันได้แก่ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารของกำแพงเพชรและศรีสัชนาลัย นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยต่อมาได้ขึ้นทะเบียนในปี ค.ศ. 1991 และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ขึ้นทะเบียน ในปี ค.ศ. 1992
ความสำคัญของเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัย และพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ประจักษ์ในหนังสือประวัติศาสตร์ไทย อาทิ
- สุโขทัยลงนามการเริ่มต้นอารยธรรมไทยที่รู้จักในปัจจุบัน โดยพ่อขุนรามคำแหงและศิลาจารึกที่แสดงให้เห็นถึงการประสูติของพระมหากษัตริย์ไทยและยังได้ประดิษฐ์อักษรไทยที่ใช้ในการเขียน
- พระนครศรีอยุธยาสามารถเรียกได้ว่า เป็นผู้สืบทอดของสุโขทัย เนื่องจากมีศิลปะดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในอดีตที่สืบต่อมาจนถึงภายหลัง กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่ทำการสู้รบกับพม่า ซึ่งการต่อสู้ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและกษัตริย์ของพม่า ยังทำให้ระลึกถึงภาพเหตุการณ์สำคัญๆ ของประวัติศาสตร์ไทย และในช่วงสืบต่ออำนาจของสมเด็จพระนารายณ์และข้าราชบริพาร เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (Phaulkon) ได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการติดต่อการค้ากับยุโรปซึ่งเป็นมหาอำนาจในยุคนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศฝรั่งเศส
ในช่วงการบูรณปฏิสังขรณ์ที่กล่าวในประวัติศาสตร์นั้น ได้มีการกำหนดให้แหล่งมรดกอันล้ำค่าของไทยเหล่านั้น ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทย ภายใต้รายชื่อแหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโก และเมื่ออุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เตรียมขึ้นทะเบียนมรดกโลกในช่วงต้น ค.ศ. 1980 จึงทำให้เมืองและวัดสำคัญๆ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ เพื่อเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักการพิจารณา โดยกรมศิลปากรได้ให้การสนับสนุนความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านมรดกจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ช่วยเหลือด้านทักษะและระดมเงินทุน เพื่อนำมาใช้ในการบูรณะสถานที่ต่างๆ ภายในเมืองเพื่อฟื้นฟูบ้านเมืองหรือในด้านอื่นๆ ที่อาจเป็นเสมือนการตั้ง ถิ่นฐานใหม่ของครอบครัวที่อาศัยอยู่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ย้ายไปอยู่อาศัยในพื้นที่ที่ดีกว่าที่อยู่ ในบริเวณนอกรอบ นโยบายการตั้งถิ่นฐานใหม่ถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากแหล่งมรดกโลกต้องแยกออกจาก สิ่งอาจรบกวนหรือก่อให้เกิดความเสียหายทุกประเภทที่สามารถก่อมลภาวะ รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบนั้นด้วย แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีบางส่วนที่มีการต่อต้านอุทยานประวัติศาสตร์ในยุคนั้นด้วยเช่นกัน
จากมุมมองของนักท่องเที่ยว แม้สุโขทัยจะมีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวก็ยัง ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร การที่จุดหมายปลายทางขาดแหล่งท่องเที่ยวอื่นบริเวณใกล้เคียงนั้น มีผลต่อจำนวนผู้มาเยือนเป็นอย่างมาก ผู้ที่เดินทางมาจังหวัดสุโขทัยส่วนใหญ่จะเป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่จะไปภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ และไม่พักค้างคืนมากกว่าหนึ่งคืน นอกจากนี้สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ จะตั้งอยู่ที่เมืองสุโขทัยเก่า ส่วนใจกลางเมืองจะอยู่ห่างออกไปอีกกว่าสิบกิโลเมตร ดังนั้นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ต่างๆ ของอุทยานจึงยังมีข้อจำกัดอยู่ในด้านการคมนาคมและการจัดการเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยว
เมื่อเข้าสู่ยุคอยุธยา การบูรณะจึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งแนวคิดนี้มีรากฐานเดียวกันกับการตั้งถิ่นฐานใหม่ สำหรับสุโขทัยที่มีการวางแผนในช่วงแรก แต่ถูกระงับไปเนื่องจากไม่ได้มีการแยกสัดส่วนระหว่างอุทยาน ประวัติศาสตร์และเมืองใหม่ อาคารเก่าๆ จึงถูกสร้างแทรกด้วยอาคารสมัยใหม่ จากมุมมองของนักท่องเที่ยว การที่อยุธยามีจำนวนผู้ที่มาเยือนมากกว่าสุโขทัย เนื่องจากมีระยะทางที่ไม่ไกลนักจากกรุงเทพฯ จึงทำให้มี นักทัศนาจร (ผู้มาเยือนแบบรายวัน) มากกว่านักท่องเที่ยว (ผู้มาเยือนที่ค้างคืน) และการเข้าเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ในระยะเวลาสั้นนี้สามารถรับบริการได้ทั้งรถทัวร์และทางเรือล่องรายวัน
สถานที่แห่งที่สามที่จะกล่าวถึงต่อไปคือแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นที่รู้จักจากการค้นพบสุสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ที่มีอายุกว่า 3,000 ปี เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีแดง รวมถึง วัตถุต่างและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการฝังศพ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงถูกค้นพบช่วงปลาย ค.ศ. 1960 ถึงต้น ค.ศ. 1970 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ที่รวมถึงการเพาะปลูกข้าว และหล่อสำริดด้วย จึงได้ถูกแก้ไขให้ถูกต้องและนำมาประกอบกับช่วงเวลา ที่ใกล้เคียงมากที่สุด จุดสังเกตที่เห็นได้ชัดที่แหล่งมรดกโลกบ้านเชียง คือ พิพิธภัณฑ์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนการออกแบบจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) โดยการออกแบบได้รวมเอาแบบเดิมที่ค้นพบ ที่บ้านเชียงในช่วงปี ค.ศ. 1974-1975 และสนามเพลาะที่มีร่องรอยทางโบราณคดี ถอดแบบจากโครงกระดูกและเครื่องปั้นดินเผาที่ค้นพบมานานกว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา
บ้านเชียงยังคงตกเป็นเหยื่อของความสำเร็จทางโบราณคดี ความสนใจ เกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผากลับถูกชาวบ้านลักลอบขุด เพื่อจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อโบราณวัตถุหรือทหารอเมริกันที่อยู่ในภูมิภาคในช่วงสงครามเวียดนาม นอกจากนี้การสันนิษฐานทางโบราณคดีต่างๆ จึงผลักดันให้กรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งนี้เป็นมรดกโลก แต่อย่างไรก็ตาม สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ยังไม่สามารถดึงดูดผู้มาเยือนได้จำนวนมากนัก เนื่องจากเวลาที่ใช้ในการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ สนามเพลาะ และปราสาท วัดในบริเวณชุมชนอาจไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง หรือ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างสูง สถานที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีที่แยกตัวออกมา รวมถึงขาดแหล่ง ท่องเที่ยวหลักในจังหวัดอุดรธานี จึงเป็นข้อจำกัดที่ส่งผลต่อจำนวนผู้มาเยือนเป็นอย่างมาก
สถานที่ทั้งสามแห่งได้ขึ้นทะเบียนกว่าสามทศวรรษมาแล้ว ซึ่งแต่ละแห่ง ก็มีประเด็นที่เกิดขึ้นแตกต่างมากมาย
แล้วสิ่งใดบ้าง ที่สามารถนำมาเป็น บทเรียนได้?
ประการแรก – การขึ้นทะเบียนรายชื่อเป็น มรดกโลกขององค์การยูเนสโก (UNESCO World Heritage) ถูกมองว่าเป็นแผนการท่องเที่ยวระยะสั้นเพื่อดึงดูดจำนวนผู้มาเยือน และสร้างรายได้สูงขึ้น ในระหว่างการขึ้นทะเบียนอาจช่วยให้มีผู้มาเยือนมากขึ้น หรือทำให้สถานที่ท่องเที่ยวแหล่งใกล้เคียง มีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
ประการที่สอง – เมื่อพิจารณาถึงคุณค่าของแหล่งมรดกโลกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว กรณีนอกเหนือจากประเทศไทย ปราสาทหินนครวัด ‘เป็นเพียง’ แหล่งมรดกเดียวเท่านั้น รวมถึงใบหน้าของพระอวโลกิเตศวร Bayon ที่เป็นอนุสรณ์ประวัติศาสตร์ ของสถานที่แห่งนั้น การขยายพื้นที่ของแหล่งมรดกก็เป็นการสร้าง แรงดึงดูดให้กับผู้คนมาเยือน สถานที่นี้ แต่อย่างไรก็ตาม ปราสาทวัดต่างๆ ต้องต่อสู้กับแหล่งท่องเที่ยวด้านการเกษตร ที่น่าดึงดูดกว่า รวมถึงการ เจริญเติบโตของเมืองในด้าน อุตสาหกรรม เป็นต้น
ประการที่สาม – ความสนใจในการวางแผนพัฒนา การท่องเที่ยวอย่างจริงจังเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ทั้งสุโขทัยและ อยุธยามีแผนแม่บทการท่องเที่ยว แต่การดำเนินงานยังไม่สมบูรณ์อีกหลายด้าน และแหล่งมรดกบ้านเชียงเองในขณะนี้ก็ยังไม่มีแผนพัฒนาการท่องเที่ยว นอกจากนี้แผนแม่บทดังกล่าว ตามแนวทางของแต่ละช่วงเวลา แต่กลับไม่มีการมีส่วนร่วม ตลอดจนความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องในท้องถิ่นเท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากคนในชุมชนและผู้เชี่ยวชาญที่มีพื้นฐานความรู้ เกี่ยวกับแหล่งมรดกต่างกัน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากพิจารณาแล้ว ผู้ที่เคยอาศัยอยู่ในแหล่งมรดกโลกมาก่อนคือผู้ที่สามารถทำหน้าที่อนุรักษ์และป้องกันได้ดีกว่าการสร้างเส้นทางท่องเที่ยว ภายในจังหวัดและจังหวัดอื่นๆ เพื่อเชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวที่คล้ายคลึงกันก็สามารถช่วยได้อีกช่องทางหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น เส้นทางที่เรียกว่า เส้นทางปราสาทขอม (Khmer Trail) ที่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของไทยและกัมพูชา อันได้แก่ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง และปราสาทหิน พิมาย กับปราสาทหินฝั่งกัมพูชา เป็นต้น
เรื่องโดย : เขียนโดย Dr. Roberto Gozzoli หัวหน้าภาควิชาการจัดการการท่องเที่ยว และการบริการวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
แปลโดย นางสาวนฤมล สุภาพ นักศึกษาปริญญาตรีสาขาการจัดการบริการนานาชาติ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล