FACE Forward ‘หน้า’ นั้น สำคัญฉะนี้

In 2002, ‘Minority Report’, one of Hollywood’s  mind-blowing sci-fi films, was released. At the time, many people won’t believe  cutting-edge technologies such as facial recognition would become a reality, yet we can see it now in our everyday lives.  What lies in the future? Let’s see how this technology was developed and utilized by mankind.

ปี 2002 มีภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด ชื่อ Minority Report เป็นภาพยนตร์ที่แสดง ความล้ำสมัยของเทคโนโลยีในโลกอนาคต อาทิ เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า  (Facial Recognition) เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) รถขับเคลื่อน ด้วยตัวเอง (Self-Driving Car) โดยในอีก 10 ปีต่อมา เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ล้วนเกิดขึ้นจริงในโลกปัจจุบัน

จุดกำเนิด Facial Recognition 1960s

1960s – ‘Bledsoe’

จุดกำเนิดของเทคโนโลยี Facial Recognition แท้จริงแล้วเกิดขึ้น ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 60 (1960s) โดยระบบ Facial Recognition  ระบบแรกนั้นถูกคิดค้นขึ้นโดย Woodrow Wilson Bledsoe ในตอนนั้น เทคโนโลยี Facial Recognition ทำงานในรูปแบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-automated System) โดยระบบดังกล่าวสามารถจำแนกภาพ ใบหน้าด้วยมือผ่านการใช้งาน RAND Tablet (อุปกรณ์ที่ผู้ใช้งานสามารถ วาดและกำหนดตำแหน่งได้ด้วยปากกาที่ส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)  ผู้ควบคุมสามารถใช้ในการบันทึกและจำแนกอัตลักษณ์ต่างๆ บนใบหน้า อาทิ ตา หู จมูก ปาก และไรผม (FBI 2018; Norman 2018)

 

1970s – ‘21 Specific Subjective Markers’

ในปีช่วงทศวรรษที่ 70 (1970s) Goldstein, Harmon, และ Lesk  ได้พัฒนาความแม่นยำของระบบ Manual Facial Recognition ระบบเดิมให้มีความแม่นยำมากขึ้น ผ่านการใช้งานการระบุอัตลักษณ์เจาะจง  21 จุด (21 Specific Subjective Markers) อาทิ สีผม ความหนา ของริมฝีปาก โดยในครั้งนี้ระบบสามารถจำแนกใบหน้าได้โดยอัตโนมัติ แต่อย่างไรก็ตาม ระบบยังต้องใช้การคำนวณวัดและระบุตำแหน่งแบบ  Manual จากผู้ใช้เช่นเดิม (FBI 2018)

 

1998 – ‘Linear Algebra Technique’

ต่อมาในปี 1988 Kirby และ Sirovich ได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ องค์ประกอบหลัก (Principle Component Analysis) ร่วมด้วย โดยใช้เทคนิคพีชคณิตเชิงเส้นทั่วไป (Standard Linear Algebra Technique) เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องเดิมที่ต้องคำนวณวัดค่าและระบุ ตำแหน่งแบบ Manual (FBI 2018)

 

2001 – ‘Snooper Bowl’

เทคโนโลยีชนิดนี้ได้รับความสนใจจากสาธารณชนอย่างมากในครั้งแรก  จากการตอบสนองและประโคมข่าวของสื่อมากมายในเรื่องสิทธิส่วนบุคคล  (Privacy) และความปลอดภัยทางสังคม (Public Safety) หลังจากที่ รัฐบาลสหรัฐฯ มีการแอบทดลองใช้งานเทคโนโลยี Facial Recognition  กับแฟนผู้เข้าชมฟุตบอลในการแข่งขันชิงแชมป์ Super Bowl 2001 (Super Bowl XXXV) โดยการเก็บภาพใบหน้าของผู้เข้าชมและเปรียบเทียบกับภาพในฐานข้อมูลผู้กระทำความผิด (FBI 2018; ABC News 2001)

Facial  Recognition  คืออะไร

เทคโนโลยีการจดจำและเรียนรู้ใบหน้า (Facial Recognition)  คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ข้อมูลทางชีวภาพ (Biometric  Software) ที่มีความสามารถในการเรียนรู้และแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างบุคคลแต่ละคน ผ่านการวิเคราะห์ รูปแบบเค้าโครงใบหน้าของบุคคลที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนมากแล้วเทคโนโลยีชิ้นนี้จะถูกใช้งานโดยมี วัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย แต่ในบางครั้งเทคโนโลยีชนิดนี้ก็ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ หรือแม้แต่ การสร้างความสนุกและสีสันในชีวิต  

แน่นอนว่าหลายคนคงคิดในใจว่าเทคโนโลยี Facial Recognition นั้นมีมาตั้งนานแล้ว ใครๆ ก็รู้จักและเคยใช้งาน ซึ่งเป็นเรื่องจริง แต่กาลเวลาเปลี่ยนไปและเทคโนโลยีมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นจนทำให้เทคโนโลยีชนิดนี้ได้ วิวัฒนาการตัวเองจนกลายเป็นเทคโนโลยีแนวหน้าที่แบรนด์ดังๆ หลายแห่งหยิบยกขึ้นมาพัฒนาและใช้เป็น อาวุธไม้ตายบนสินค้าของบริษัท ยกตัวอย่าง Feature แอนิโมจิ (Animoji) และ Face ID ของแบรนด์ Apple

 

เทรนด์ Face  Forward กับการท่องเที่ยว

หลายคนคงพอนึกออกและได้เห็นถึงเทคโนโลยีจดจำและเรียนรู้ใบหน้าใหม่ๆ จากหลายแบรนด์ในปีนี้มาบ้าง แน่นอนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็มีนวัตกรรมที่ตอบโจทย์เทรนด์นี้เช่นเดียวกัน ตามมาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง ที่ตอบโจทย์แนวโน้มเทรนด์ Face Forward ได้บ้าง

DESTINATION U : TUI โปรแกรมสแกนใบหน้าเพื่อหาที่เที่ยวที่โดนใจ

เมื่อปลายปี 2017 TUI บริษัทยักษ์ใหญ่เครือข่ายท่องเที่ยวชั้นนำของโลกจากเกาะอังกฤษได้ออกมาแนะนำเทคโนโลยีการบริการชิ้นใหม่ ซึ่งเกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยวพักผ่อนที่สอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกของนักท่องเที่ยวในช่วงเวลานั้นๆ ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า ‘Destination U’ ซึ่งเจ้าอุปกรณ์ เทคโนโลยีชิ้นนี้จะใช้งานระบบอัลกอริทึมในการประมวลความรู้สึกที่ แสดงออกมาผ่านทางสีหน้าของผู้ใช้งานและจะแนะนำรายชื่อสถานที่ ท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้งานแต่ละคน  อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์เทคโนโลยีชิ้นนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการทดสอบการใช้งานอย่างละเอียดเท่านั้น แต่แน่นอนว่าอีกไม่นาน TUI จะนำตัวเครื่องนี้มาใช้สู่สาธารณชนอย่างแน่นอน

DUBAI INTERNATIONAL AIRPORT อุโมงค์ตู้ปลาเสมือนจริงในสนามบินกับเทคโนโลยี รักษาความปลอดภัยด้วยระบบจดจำใบหน้า  

ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2018 สนามบินนานาชาติดูไบวางแผนที่จะติดตั้ง  ช่องตรวจหนังสือเดินทางเป็นอุโมงค์ตู้ปลาด้วยเทคโนโลยี VR (Virtual Reality) โดยผู้โดยสารที่สนใจสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเดินชม ความสวยงามของอุโมงค์ตู้ปลานี้ได้ อุโมงค์ดังกล่าวประกอบไปด้วย กล้องรักษาความปลอดภัยกว่า 80 ตัวเพื่อใช้สำหรับการจดจำใบหน้า นักท่องเที่ยว โดยสนามบินนานาชาติดูไบเชื่อมั่นในระบบการรักษา ความปลอดภัยแบบใหม่นี้ว่าจะมีประสิทธิภาพและแม่นยำกว่าการใช้ ระบบ E-Gates แบบเดิมๆ

CHINA SOUNTHERN AIRLINES จีนเริ่มใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในสนามบิน

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา สายการบินไชน่า เซาท์เทิร์น แอร์ไลน์ สายการบินจีน เจ้าแรกที่นำเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าหรือ Face Recognition มาใช้ กับระบบการตรวจคนเข้าเมือง ทั้งระบบ Check-in และการตรวจสอบ  Boarding Pass ณ สนามบินนานาชาติเจียงยิน มณฑลเจียงซู แทนการ ใช้ระบบเดิม โดยผู้โดยสารจะต้องผ่านขั้นตอนการจับภาพและตรวจสอบใบหน้าผ่านเครื่องที่ได้รับการติดตั้งด้วยเทคโนโลยี Facial Recognition บริเวณประตูทางเข้าเครื่องบินซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น ทั้งนี้  สายการบินดังกล่าวยังวางแผนขยายการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวไปยัง สนามบินอื่นๆ ในอนาคต เช่น กรุงปักกิ่ง เป็นต้น

THE HIPSTER BAR ระบบ AI (Artificial Intelligence) ตรวจจับใบหน้าที่นำมาใช้สำหรับการเข้าบาร์

เมื่อปลายปี 2017 The Hipster Bar ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในสหราชอาณาจักร The Hipster Bar เป็นบาร์ที่ใช้งานระบบ Facial  Recognition ในการวิเคราะห์ เสื้อผ้า หน้า ผม ของผู้บริโภคว่า มีความเป็นฮิปสเตอร์มากน้อยแค่ไหน โดยจะทำการเปรียบเทียบอัตลักษณ์การแต่งตัวกับภาพในแคตตาล็อกกว่า 20,000 ภาพ  และผู้ที่ผ่านการสแกนแล้วมีค่าแสดงความเป็นฮิปสเตอร์สูงกว่า 90% จึงสามารถเข้าบาร์ได้

 

อนาคต

การพัฒนาของเทคโนโลยี Facial Recognition ที่มีขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลทั้งด้านบวกและด้านลบ สำหรับผลทางด้านบวก เทคโนโลยีตัวนี้จะทำให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น รวดเร็วทันใจ ไม่ต้องรอต่อแถวตรวจคนเข้าเมืองเป็นระยะเวลานาน ซึ่งในอนาคต เทคโนโลยีนี้จะกลายเป็นตัวกรองชั้นเลิศในการป้องกันการก่อการร้ายทั้งภายในท่าอากาศยาน ตามท้องถนน อาคารสถานที่ต่างๆ  ไม่แน่ว่าการพัฒนาของเทคโนโลยี Facial Recognition รวมกับการประมวลผลชิป AI (Artificial Intelligence) ที่ฉลาดมากขึ้น จะทำให้กล้องทุกตัวมีการอัพเดตตัวเอง เรียนรู้รูปพรรณสัณฐานเพื่อตรวจจับใบหน้าผู้ก่อการร้ายจากฐานข้อมูลทั่วโลก หรือแม้แต่ ตรวจจับอารมณ์และวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ที่บุคคลคนนี้จะก่ออาชญากรรมก็เป็นได้ ในทางกลับกัน เทคโนโลยีตัวนี้อาจกลายเป็น เทคโนโลยีที่หันกลับมาทำร้ายผู้ใช้งานเองก็เป็นได้ จากผู้ล่ากลายเป็นผู้ถูกล่า จากคนไม่ได้ทำกลายเป็นคนทำ และหากลอง ยกตัวอย่างใกล้ตัวเป็นเคสสมมุติ ก็คงหนีไม่พ้นบริษัท Apple บริษัท Apple สร้างชิปประมวลผล Face ID ที่ประมวลผลแบบ  Real-time ตั้งแต่หน้าคนใช้ยังเด็กยันหน้าแก่ โดยชิปดังกล่าวสามารถเรียนรู้และเก็บข้อมูล Face ID ของผู้ใช้งาน ซึ่งหากผนวกเข้ากับข้อมูลชีวิตประจำวันที่ถูกจดบันทึก ทั้งกินข้าวเวลาไหน ออกจากบ้านเมื่อไหร่ ไปรับลูกเมื่อไหร่ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกบันทึก ไว้บน Cloud Server ของบริษัท หากวันใดวันหนึ่งมีแฮ็กเกอร์มือดีเข้ามาขโมยข้อมูลและนำไปใช้งานในทางที่ผิด ข้อมูลเหล่านั้น จะสามารถนำไปใช้งานเพื่อก่ออาชญากรรมได้อย่างดีแน่นอน

 

เรื่องโดย : บัณฑิต เอนกพูนสินสุข  งานวิชาการ กองวิจัยการตลาด ททท.

Share This Story !

4.6 min read,Views: 857,

Related projects

  • ¡Hola! Spanish Travelers

    พฤศจิกายน 26, 2024

  • ‘เรื่องเล่น’ เรื่องเล็กน้อยมหาศาล

    พฤศจิกายน 26, 2024

  • ‘DESERT SUPERCITY’ มหานคร แห่งทะเลทราย

    พฤศจิกายน 26, 2024