Game of Drone

Goldman Sachs, a leading finance and investment consulting firm forecasts that the drone will become an important tool for business, which will be part of a drastic impact to a great leap in the consumer market. It is expected that the drone industry will have a market value of up to 100 billion U.S. dollars within 2020 under the business categories of exploration, security and transportation. 

ในขณะที่ไลฟ์การ์ดชาวออสเตรเลียกำลังฝึกควบคุมโดรนช่วยชีวิตและ สำรวจฉลามบริเวณริมชายฝั่งของชายหาดเลนน็อกซ์ เฮด รัฐนิวเซาท์เวลส์ (Lennox Head, New South Walse) ทันใดนั้นเอง… เขาได้สังเกตเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในท้องทะเลไม่ห่างจากชายฝั่งมากนัก มีนักท่องเที่ยว 2 คนกำลังประสบกับคลื่นทะเลที่ถาโถมอย่างรุนแรง และบ้าคลั่ง ไลฟ์การ์ดเริ่มสังเกตเห็นถึงความน่ากลัวของสถานการณ์ คลื่นพัดนักท่องเที่ยวออกห่างจากชายฝั่งเกินกว่า 700 เมตร โดยไม่รีรอ ต่อไป ไลฟ์การ์ดตัดสินใจควบคุมโดรนบินไปเหนือนักท่องเที่ยวทั้ง 2 และสั่งการปล่อยแพชูชีพทันที 

แพชูชีพจากโดรนช่่วยให้ผู้ประสบภัย 2 คน สามารถลอยตัวและได้รับ การช่วยเหลือในที่สุด เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในวันที่18 มกราคม ค.ศ. 2018 และนับเป็นเหตุการณ์ครั้งแรกของโลกที่โดรนช่วยชีวิตคนจมน้ำได้สำเร็จ 

โดรนเริ่มมีบทบาทสำคัญนอกเหนือจากการนำไปใช้ถ่ายรูปและวิดีโอมุมสูง ที่เราเคยเห็นกันบ่อยๆ ตามช่อง Youtube หรือโฆษณาตามสื่อต่างๆ ปัจจุบันโดรนถูกพัฒนาและนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ มากมาย อาทิ การส่งเสริมการทำธุรกิจ ส่งเสริมการบริการ และการสนับสนุน ด้านความปลอดภัยและการช่วยเหลือ 

Goldman Sachs บริษัทให้คำปรึกษาด้านการเงินและการลงทุนรายใหญ่ ได้คาดการณ์ไว้ว่า โดรนจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญทางธุรกิจ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการก้าวกระโดดซึ่งเกิดขึ้นภายในตลาดผู้บริโภคอย่าง รุนแรงและฉับพลัน และอุตสาหกรรมโดรนจะมีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ ภายในปี 2020 ภายใต้การทำธุรกิจประเภทการสำรวจ ความปลอดภัยและการขนส่ง (Goldman Sachs Reseach 2019) 


โดรนมานานแค่ไหน 

Kettering Bug – 1918 จุดเริ่มต้น 

โดรนเริ่มมีการใช้งานและพัฒนาครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงปลายก่อนจบ สงครามโลกครั้งที่ 1 (ปี ค.ศ. 1918) โดรนต้นแบบตัวแรกของโลกถููกพัฒนาขึ้น ในชื่อ ‘Kettering Aerial Torpedo’ หรือรู้จักในชื่่อว่า ‘Kettering Bug’ ออกแบบโดยนักออกแบบ Charles Kettering และบริษัท Dayton-Wright วัตถุประสงค์ของมันในตอนนั้น คือเป็นเครื่องจักรบินได้ไร้คนขับที่สามารถ ปล่อยระเบิดโจมตีข้าศึกได้ในระยะทาง 40 ไมล์ (ประมาณ 64 กิโลเมตร นับจากจุดออกบินถึงจุดหมาย) เพื่อสนับสนุนกองทัพสหรัฐฯ และกลุ่มพันธมิตรในการทำสงคราม 

ภาพถ่่าย The Kettering 'Bug' จาก พิิพิิธภััณฑ์์สมิิธโซเนีียน

ภาพถ่าย The Kettering ‘Bug’ จาก พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน

Kettering Bug มีน้ำหนักตัวประมาณ 240 กิโลกรัม ถููกทดลองบินครั้งแรก ในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1918 จากการทดลองบินทั้งสิ้น 24 ครั้ง Kettering Bug สามารถบิินทดสอบทำภารกิจสำเร็จเพียง 7 ครั้ง ส่งผลให้้กองทัพสหรัฐฯ ไม่กล้านำมาใช้งานจริงเพราะห่วงเรื่องความปลอดภัยผนวกกับสงครามได้ยุติลง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง Project Kettering Bug ได้ถูกหยุดและปิดไว้เป็นความลับ 


Queen Bee – 1935 ต้นกำเนิดคำว่า ‘โดรน’ 

หลังจากนั้นในช่วง *Inter-war Period การพัฒนาและการทดลอง เครื่องบินขับเคลื่อนไร้คนขับก็ได้ถูกนำกลับมาพัฒนาต่ออีกครั้ง ในปี ค.ศ.1935 สหราชอาณาจักรได้เริ่มพัฒนาเครื่องบิินควบคุมผ่านคลื่นวิทยุ (Radio-Controlled Aircraft) สำหรับเป็นเป้าในการฝึกรบ หลายคนเชื่อกันว่า การนำคำว่า ‘Drone’ ที่หมายถึงผึ้งตัวผู้ มาใช้เรียกเครื่องบินขับเคลื่อน ไร้คนขับนั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น โดยได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อ เครื่องบินควบคุมวิทยุ DH.82B Queen Bee ของสหราชอาณาจักร (Imperial War Musuem 2018) 

ในสมัยนั้น จะเห็นว่ามีเพียงสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่พัฒนาเทคโนโลยีรูปแบบนี้แต่แล้วภายหลังสงครามเวียดนามจบลง (ปี ค.ศ. 1975) บทบาทของโดรนก็เริ่มมีความหลากหลายและเป็นที่สนใจ จากสายตาหลายประเทศทั่วโลก ด้วยเหตุนี้เอง ประเทศอื่นๆ นอกเหนือจาก สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรจึงเริ่มหันมาพัฒนาเทคโนโลยีนี้เพิ่มมากขึ้น เรื่อยๆ 

*Inter-war Period หรือยุคสมัยระหว่างสงครามคือยุคสมัยช่วงระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 1 ยุติลง และก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นหรือระหว่างปี ค.ศ. 1919− 1938


ท่องเที่ยวโดรน ๆ 

ปัจจุบันโดรนถูกพัฒนาไปมากมายหลากหลายรูปแบบมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทั้งระยะทาง ความสูง รูปแบบการควบคุม และขนาด การพัฒนาที่เพิ่มขึ้นทำให้ปัจจุบันโดรนถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในอุตสาหกรรมการขนส่ง การทหาร ความปลอดภัย และการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของโลก ที่ปรับตัวและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ไม่น่าแปลกใจที่โดรนจะกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ยอดเยี่ยม ที่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมชนิดนี้ 

บริษัท Skift (ผู้นำด้านวิจัยและติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยวระดับแนวหน้าของโลก) ได้ระบุไว้ในรายงานติดตามแนวโน้มการตลาดอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว (Content Marketing Trends in the Travel Industry) ไว้ว่า “การมองเห็นคือภาษาที่ดีที่สุดในการสื่อสารในยุคแห่งดิจิทัล” แน่ นอนคงไม่มีสื่อโสตทัศนวัสดุใดที่ กระตุ้ นความสนใจและการมีส่ วนร่ วม ได้ดีเท่ากับวิดีโอ 

ความสามารถในการบินและการจับภาพมุมสูงทำให้โดรนถูกนำมาใช้ ถ่ายภาพและวิดีโอในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างแพร่หลาย ทั้งการถ่ายทำวิดีโอเพื่อโปรโมตโรงแรมที่พัก รีสอร์ต สถานที่ แหล่งท่องเที่ยว หรือแม้แต่การขายทัวร์ การใช้โดรนเพื่อถ่ายวิดีโอมุมสูง อาจเป็นสิ่งเดิมๆ ที่หลายคนทราบกันดีอยู่แล้ว แต่หากเราจะพูดถึง การใช้โดรนเพื่อประโยชน์ด้านอื่นๆ ว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์อะไร ได้บ้างในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีอะไรบ้างที่น่าสนใจและโดดเด่น ลองมาดูตัวอย่างที่น่าสนใจกัน 

Casa Madrona Hotel, California 

โรงแรมที่ยกระดับความหรูหราด้วยการใช้โดรนเสิร์ฟเครื่องดื่ม 

หากคุณกำลังมองหาความหรูหราที่เป็นส่วนตัว การนั่งอยู่ริมระเบียง ห้องพักส่วนตัวจิบแชมเปญ นั่งชิลล์กับคนรู้ใจ รอคนมาเสิร์ฟให้ถึงที่ โดยไม่ต้องเดินไปเปิดประตูหรือพูดคุยกับเด็กเสิร์ฟ อาจเป็นหนึ่งทางเลือก ที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่ใช่น้อยเลยใช่หรือไม่ 

การบริการเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วที่ Casa Madrona Hotel การบริการใช้โดรน บินเสิร์ฟเครื่องดื่มแชมเปญถึงระเบียงสำหรับผู้ใช้บริการห้องพักประเภท Alexandria Suite ที่มีราคาอยู่ราว 10,000 ดอลลาร์ต่อคืน โดยทาง โรงแรมต้องการที่จะนำเสนอการเสิร์ฟแชมเปญที่ไม่รบกวนผู้พัก โดยไม่ต้อง เดินมาเปิดประตู แต่แค่นั่งดื่มด่ำบรรยากาศ รอโดรนมาเสิร์ฟให้ถึงที่แทน (Casa Madrona 2019) 

Seadust Cancun Family Resort, Mexico 

โรงแรมที่มีโดรนเป็นผู้ช่วยไลฟ์การ์ด 

Seadust Cancun Family Resort นับเป็นโรงแรมแห่งแรกของประเทศ เม็กซิโกที่มีโดรนเป็นผู้ช่วยไลฟ์การ์ด ซึ่งไลฟ์การ์ดของที่นี่ทุกคนจะต้อง ผ่านการฝึกอบรมใช้โดรนผู้ช่วย โดยภายในโดรนจะประกอบไปด้วย อุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ รวมทั้งสามารถปล่อยอุปกรณ์ช่วยลอยตัวสำหรับช่วยให้ผู้ประสบภัยสามารถเกาะเพื่อลอยน้ำได้ (Global Travel 2019)


โดรนผู้ช่วยไลฟ์การ์ดของที่นี่จะใช้โดรนที่มีชื่อรุ่นว่า U SAFE  เป็นโดรน เคลื่อนที่บนพื้นผิวน้ำที่ถูกออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท Noras Performance บริษัทพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสัญชาติโปรตุเกส สามารถวิ่งบนผิวน้ำได้ด้วยความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถ ควบคุมได้จากระยะไกลสุด 3 ไมล์ (ประมาณ 4.82 กิโลเมตร) (U Safe 2019) 

Universal Orlando Resort & Universal Studios Hollywood 

การแสดง The Dark Arts at Hogwarts Castle
ที่ใช้โดรนสร้างประสบการณ์เยี่ยมชมบนน่านฟ้า

 

การแสดงแสง สี เสียง  The Dark Arts at Hogwarts™ ที่จัดขึ้นที่ Universal Orlando Resort และ Universal Studios Hollywood ระหว่างช่วงเดือนกันยายน−พฤศจิกายน 2019 ที่ผ่านมา นับเป็นหนึ่ง ในการแสดงโชว์ยามค่ำคืนที่สาวกหนัง Harry Potter หลายคนต่างพูดถึง หลังจากเดินทางไปยัง Universal Orlando Resort และ Universal Studios Hollywood เป็นหนึ่งในการแสดงแสง สี เสียง ที่มีการใช้โดรน LED ผ่านเทคโนโลยีของ Intel เพื่อสร้างสีสันบนน่านฟ้า และประสบการณ์ การเล่าเรื่องราวฉากต่างๆ ของ Harry Potter ที่ไม่สามารถหาดูได้ที่อื่น 


บินยังไงไม่ให้โดน

การพัฒนาที่มีมากขึ้นทำให้โดรนถูกนำไปใช้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ราคาของโดรนก็ถูกลงจนใครๆ ก็สามารถมีไว้ใช้ได้ ทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนซื้อไว้ใช้ถ่ายภาพ/วิดีโอบันทึกเรื่องราวการท่องเที่ยว แต่ในขณะที่ผู้ใช้ได้เห็นวิวสวยๆ ได้วิดีโอสวยๆ ได้โพสต์อวดใน IG มันก็อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณทำผิดกฎหมายและถูกปรับนับพันดอลลาร์ได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เองนักท่องเที่ยวหรือคนที่จะใช้โดรนควรตระหนักถึงสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้

1. ศึกษากฎหมายท้องถิ่น

ทุกๆ ครั้งที่จะบินโดรนควรทำการศึกษาถึงกฎหมายและข้อกำหนดในแต่ละพื้นที่ที่จะใช้ ตรวจสอบว่าจุดที่จะบินโดรนนั้นสามารถบินได้หรือไม่ได้ รวมถึงมีขอบเขตมากน้อยแค่ไหน เพราะแต่ละพื้นที่ แต่ละประเทศนั้นมีข้อกำหนดการบินโดรนที่ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น เกือบ 100% ของพื้นที่ในเมืองปารีสนั้น คือโซนห้ามบิน กรุงวอชิงตัน ดีซี เป็นโซนห้ามใช้โดรน หรือในสหราชอาณาจักรที่ไม่สามารถบินโดรนเข้าใกล้อาคาร บุคคล ยานพาหนะ ในระยะใกล้กว่า 164 ฟุต (50 เมตร) และห้ามบินเข้าใกล้พื้นที่ประชากรหนาแน่นต่ำกว่า 492 ฟุต (150 เมตร)

ดังนั้น หากเดินทางไปประเทศไหนควรหาข้อมูลให้ละเอียดเสียก่อน เช่น หากไปสหรัฐอเมริกา ควรจะศึกษาจากเว็บไซต์สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (Federal Aviation Administration) ใช้แอปพลิเคชัน B4UFLY หากเดินทางและใช้โดรนในประเทศไทย ควรศึกษากฎของสำนักงานการบินพลเรืือนแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ดีนักท่องเที่ยวที่ใช้โดรนสามารถตรวจสอบพื้นที่และความเข้มงวดของกฎหมายการใช้โดรนในแต่ละพื้นที่ได้ไม่ยากนัก ทั้งผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ต่างๆ อาทิ เว็บไซต์ dji.com, แอปพลิเคชัน B4UFLY และแอปพลิเคชัน Airmap แต่ในปัจจุบันยังคงไม่มีแอปพลิเคชันไหนที่แม่นยำ100% และรวบรวมข้อมูลของสถานที่ทั้งหมดทั่วโลกอยู่ดี นักท่องเที่ยวควรตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบของแต่ละพื้นที่เพื่อยืนยันอีกครั้ง (New York Map 2019)

2. สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อโดนจับ

ผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายและรัฐบาลเกือบทุกประเทศให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้โดรนในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างเข้มงวดและจริงจัง อย่างในสหรัฐอเมริกา การบินโดรนในอุทยานแห่งชาตินับเป็นความผิดทางอาญาชนิดไม่ร้ายแรง มีโทษปรับสูงสุด 5,000 ดอลลาร์ และจำคุก 6 เดือน โดยส่วนใหญ่อัตราค่าปรับของแต่ละประเทศนั้น จะมีความใกล้เคียงกันโดยขึ้นอยู่กับความหนักเบาของการละเมิด ในสหราชอาณาจักร ผู้บินโดรนผิดกฎจะถูกปรับตั้งแต่ไม่กี่ร้อยปอนด์ไปจนถึง 2,500 ปอนด์ (มากกว่า 3,000 ดอลลาร์) หรือในญี่ปุ่นที่มีโทษปรับสูงสุด 500,000 เยน (ประมาณ 4,700 ดอลลาร์) (New York Times 2019) 


โดรน ไม่ โดรน 


ถึงแม้ว่าโดรนจะมีประโยชน์ต่างๆ มากมาย แต่ในขณะเดียวกัน โดรนก็กลาย เป็นสิ่งก่อกวนที่สามารถก่่อให้้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้เช่นเดียวกัน เหมือนเหตุการณ์เมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2019 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติ นูอาร์กฯ ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ (Newark Liberty International Airport) ปิดฉุกเฉินเนื่องจากพบโดรนเข้ามาบินบริเวณใกล้เคียง หรือแม้กระทั่ง การสั่งปิดท่าอากาศยานแกตวิก (Gatwick Airport) 36 ชั่วโมง ก่อนวันคริสต์มาสที่เกิดจากการตรวจพบโดรนบินใกล้บริเวณสนามบิน สามสัปดาห์ต่อมาหลังจากนั้น โดรนก็ได้สร้างปัญหาทำให้ท่าอากาศยาน ลอนดอน ฮีทโธรว์ (London Heathrow Airport) สนามบินอันดับ 3 ที่มีจำนวนเครื่องบินเดินทางเข้าออกถี่ที่สุด ต้องปิดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เช่นเดียวกัน เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาไม่นาน ย้อนกลับไปปี 2017 ท่าอากาศยานสตอกโฮล์ม−อาร์ลันดา (Stockholm’s Arlanda Airport) ประกาศหยุดเที่ยวบินชั่วคราว หลังตรวจพบโดรน ในขณะที่นักบินหลายคน ได้รายงานว่าเครื่องบินของพวกเขาเกือบปะทะเข้ากับโดรน 

นอกจากนี้โดรนยังถูกนำไปใช้เป็นอุปกรณ์สังหารและก่อการร้ายในหลายเหตุการณ์ ทั้งการพยายามใช้โดรนติดระเบิดลอบสังหารประธานาธิบดีเวเนซุเอลา (นิโกลาส มาดูโร) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018 การโจมตีฐานทัพ ใหญ่สุดในเยเมนของกบฏฮูตีเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 ที่สังหารทหารของรัฐบาลจำนวน 6 นาย หรือแม้แต่การใช้โดรนของสหรัฐฯ ที่หวังสังหารทหารไอเอส แต่โจมตีพลาดฆ่าชีวิตคนงานไร่ถั่วผู้บริสุทธิ์ดับ 30 คน เมื่อกันยายน ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา 

จากที่กล่าวมาทั้งหมด สรุปได้ว่าโดรนเป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้เพื่อก่อ ประโยชน์ได้มากมายหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ความสุขที่ได้ภาพถ่ายสวย สู่ประโยชน์ในการทำรายได้ ไปจนถึงประโยชน์ ระดับการช่วยชีวิตมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งเดียวกันนี้ก็สามารถนำมาใช้เพื่อก่อเหตุร้าย ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ด้วยเช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญ ก็คือหน่วยงานที่รับผิดชอบของแต่ละประเทศจำเป็นที่จะต้องกำกับดูแล อย่างจริงจังใกล้ชิด จากผลสำรวจของ FBI พบว่าอัตราการเติบโตของ การใช้โดรนเพื่อการโจมตีและก่อการร้ายในปัจจุบันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้เอง กฎหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้เป็นส่วนหนึ่ง เพื่อรับประกันว่าโดรนที่ใช้นั้นปลอดภัย ในขณะที่ผู้ผลิตสามารถเป็นส่วนหนึ่ง ของการป้องกันได้เช่นกัน เช่น การใส่ระบบป้องกัน (Safeguard) เข้าไปในโดรนหรือระบบนำทางดิจิทัล (Digital-Navigation System) เพื่อกันไม่ให้โดรนบินสูงเกินค่ากำหนด หรือบินเข้าใกล้บริเวณที่มีข้อกำหนด ที่เปราะบาง อย่างบริเวณท่าอากาศยาน (The Econnomist 2019) 

Share This Story !

4.6 min read,Views: 1325,

Related projects

  • ¡Hola! Spanish Travelers

    เมษายน 3, 2025

  • ‘เรื่องเล่น’ เรื่องเล็กน้อยมหาศาล

    เมษายน 3, 2025

  • ‘DESERT SUPERCITY’ มหานคร แห่งทะเลทราย

    เมษายน 3, 2025