
คาดการณ์แนวโน้ม สถานการณ์ท่องเที่ยว
The Thai tourism situation trend for the first six months of 2020 showed that foreign arrivals dramatically shrank due to the spread of the COVID-19. Many countries were in lockdown and announced lockdown measures resulting in no foreign tourists entering Thailand during April to June 2020. There were 6.69 million foreign tourists, a decrease of 66 percent, with tourism revenue of 3.32 hundred billion Baht, a decrease of 65 percent. For the third quarter, it is forecast that the number of tourists will be reduced to 0.7-2.7 million tourists or 70-90 percent. Recovery opportunities would be seen in short-haul markets.
The situation of the domestic tourism market in the first half of 2020 was in a serious decline as a result of the COVID-19 outbreak. Thailand applied the measures to reduce the spread of the pandemic in places. Although the situation has begun to ease, an economic slowdown, cost of living, and highly increasing unemployment make the Thai people not have enough budget for travel and tourism. There were 34.38 million Thai visitors/trips, a reduction of 55 percent, with tourism revenue of 2.41 hundred billion Baht, a reduction of 54 percent. It is expected that the number of Thai visitors will be 14-15 million visitors/trips or shrink by 70-71 percent.
แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย (มกราคม-มิถุนายน 2563)
ตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดในประเทศครึ่งปีแรก
(มกราคม-มิถุนายน 2563)
ท่องเที่ยวตลาดในประเทศช่วงครึ่งปีแรกตกอยู่ในภาวะทรุดตัวอย่างหนัก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประเทศไทยพบการติดเชื้อจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย และเดือนมีนาคมมีการติดเชื้อแบบเป็นกลุ่มก้อนจากคนไทยที่เที่ยวสถานบันเทิง เวที สนามมวย และคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดการลุกลามติดเชื้อเป็นวงกว้างถึง 68 จังหวัด จนยากที่จะคุมพื้นที่ในการแพร่ระบาดได้ ทำให้ประเทศไทยต้องยกระดับมาตรการควบคุมโรคเพื่อยับยั้งและลดการแพร่ระบาด โดยมีมาตรการสาธารณสุขด้านการป้องกันเพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสถานที่ต่างๆ ได้แก่ มาตรการ Social Distancing การอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติการประกาศงดการจัดกิจกรรมที่รวมคนจำนวนมาก เช่น การเลื่อนวันหยุดสงกรานต์ การประกาศปิดชั่วคราวของสถานที่ที่เป็นแหล่งชุมนุม อาทิ สถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า สนามมวย สนามกีฬา การเปลี่ยนกำหนดการปิดและเปิดภาคเรียนในปี 2563 รวมทั้งการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.) ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป การประกาศมาตรการเคอร์ฟิว ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป และการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ในแต่ละพื้นที่ ทำให้คนไทยต้องหลีกเลี่ยงหรืองดการทำกิจกรรมนอกบ้านที่ไม่เร่งด่วน/จำเป็นและการเดินทางข้ามพื้นที่/จังหวัด
ซึ่งจากมาตรการต่างๆ สำหรับใช้ควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 และความร่วมมื อของประชาชน ทำให้ช่วงปลายเดือนเมษายน 2563 มีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในอัตราที่ล ดลง และมีพื้นที่ติดเชื้อลดลงเหลือ 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต ยะลา และนราธิวาส โดยในเดือนพฤษภาคม 2563 ภาครัฐได้ประกาศปลดล็อกบางจังหวัดและผ่อนปรนให้ธุรกิจบางประเภทสามารถเปิดบริการได้อีกครั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และผ่อนคลายความตึงเครียดของประชาชนจากการหยดุ อยู่บ้านมาเป็นเวลานาน ประกอบกับธุรกิจสายการบินภายในประเทศกลับมาเปิดทำการบินอีกครั้งเฉพาะบางเส้นทางอย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์การติดเชื้อในประเทศไทยเริ่ม เบาบางลงแต่ด้วยปัญหาเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะตกต่ำปัญหาค่าครองชีพและอัตราการว่างงานที่เพิ่ม ขึ้นสูง ทำให้คนไทยยังไม่มีกำลังพอในการเดินทางท่องเที่ยวคาดว่าสถานการณ์ท่องเที่ยวในประเทศช่วงครึ่งปีแรก 2563 อยู่ในแดนลบเนื่องจากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวโดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 34.38 ล้านคนต่อครั้ง ติดลบร้อยละ 55 และรายได้ทางการท่องเที่ยวอยู่ที่ 2.41 แสนล้านบาท ติดลบร้อยละ 54
จำนวนและรายได้ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย
ปัจจัยอุปสรรค
คาดการณ์สถานการณ์ไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2563)
ตลาดต่างประเทศ
หากเปิดประเทศอนุญาตให้มีการเดินทางเข้ามาจากต่างประเทศ ในไตรมาสที่ 3 คาดว่า นักท่องเที่ยวต่างประเทศจะเดินทางเข้าไทยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเดินทางระหว่างประเทศที่ได้รับการอนุญาต รวมทั้งมีข้อจำกัดด้านอื่นๆ เช่น ประเทศที่อนุญาตให้มีการเดินทาง แนวทางการตรวจคัดกรองนักท่องเที่ยว เส้นทางบินที่เปิดให้บริการ อย่างไรก็ตาม ภาพลักษณ์ที่ดีด้านระบบสาธารณสุขและการควบคุมโรคระบาดของไทย จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยว ผนวกกับธรรมชาติที่สวยงามที่ได้รับการพักฟื้นในช่วงที่ผ่านมา จะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ตลาดที่มีโอกาสฟื้นตัว
ได้แก่ ตลาดระยะใกล้ จากภูมิภาคอาเซียนหรือเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องจากใช้เวลาวางแผนสั้น สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคภายในประเทศได้ และมีสายการบินพร้อมให้บริการหลายสายการบิน
แนวโน้มตลาดต่างประเทศ
ปัจจัยสนับสนุน
- การสร้างข้อกำหนดด้านการจัดการสุขอนามัยในสถานที่/บริการด้านการท่องเที่ยว ‘Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA)’ ช่วยสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว
- โมเดลท่องเที่ยว ‘Travel Bubble’ จับคู่กับประเทศที่ปลอดภัย จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่สนับสนุนให้สามารถเปิดประเทศได้เร็วขึ้น
- ความสวยงามสมบูรณ์ของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ จากการฟื้นตัวในช่วงปิดให้บริการทางการท่องเที่ยว
ข้อจำกัดการฟื้นตัวของตลาด
-
สภาพเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก นักท่องเที่ยวมีกำลังซื้อลดลง
-
การเดินทางระหว่างประเทศจะมีขั้นตอนมากขึ้น เช่น การขอวีซ่า ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ การตรวจคัดกรองก่อนขึ้นเครื่องบิน มาตรการการกักตัว 14 วัน
-
บัตรโดยสารเครื่องบินราคาสูงขึ้นและที่นั่งบนเครื่องบินน้อยลง จากการจัดที่นั่งแบบเว้นที่
-
เส้นทางบิน/สายการบินให้บริการน้อยลง จากปัญหาขาดทุนในช่วงที่หยุดบินเป็นเวลานาน
-
การแข่งขันสูง เนื่องจากประเทศต่างๆ เน้นส่งเสริมท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและป้องกันการนำเข้าเชื้อโรคจากต่างประเทศ
-
New Normal ทำให้ไม่สะดวกในการท่องเที่ยว เช่น จำกัดจำนวนคนเข้าชมแหล่งท่องเที่ยว ต้องจองคิวเข้าชมล่วงหน้า
ตลาดในประเทศ
ทิศทางท่องเที่ยวภายในประเทศในไตรมาส 3 ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 และกระทรวงสาธารณสุขสามารถหยุดการแพร่ระบาดได้ และภาครัฐประกาศมาตรการผ่อนปรนและเปิดการเดินทางข้ามพื้นที่/จังหวัด รวมทั้งธุรกิจขนส่งสาธารณะ อาทิ สายการบิน รถทัวร์ และธุรกิจภาคบริการท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปาสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้อีกครั้งแม้จะไม่เต็ม 100% ก็ตาม ประกอบกับการทำกิจกรรมทางการตลาดของ ททท. จะทำให้บรรยากาศและความต้องการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศค่อยกลับคืนมา สำหรับกลุ่มตลาดที่คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว น่าจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวตลาดบน เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบไม่มากจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ในหลายๆ ประเทศยังไม่ดีขึ้น รวมทั้งแต่ละประเทศต่างมีมาตรการคุมเข้ม และขั้นตอนในการเดินทางเข้าออกในประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน นอกจากนี้ การเปลี่ยนกำหนดการเปิดปิดภาคเรียนใหม่ทำให้ในปี 2563 ไม่มีการปิดภาคเรียนทำให้กลุ่มตลาดบนและกลุ่มครอบครัวที่นิยมพาบุตรหลานเดินทางท่องเที่ยวช่วงปิดเทอม ลดโอกาสที่จะออกเดินทางเที่ยวต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักเป็นเวลานานหลายเดือน ตั้งแต่ต้นปี 2563 ได้ส่งผลกระทบให้มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสูง กำลังซื้อของคนไทยบางกลุ่มยังอ่อนแอและระมัดระวังการใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ทำให้ท่องเที่ยวตลาดในประเทศไตรมาส 3 ปี 2563 คาดว่า มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยประมาณ 14-15 ล้านคน-ครั้ง หดตัวร้อยละ 70-71
นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ไม่เพียงส่งผลกระทบทางลบต่อกิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ แต่ยังส่งผลให้สภาพปัจจัยแวดล้อมของการทำธุรกิจท่องเที่ยวและพฤติกรรมผู้บริโภคต้องเปลี่ยนไป โดยต้องปรับตัวเข้าสู่วิถีใหม่ หรือ New Normal เช่น พฤติกรรมประเภทเที่ยวเป็นกลุ่มใหญ่ก็จะลดลงกลายเป็นกลุ่มที่มีขนาดเล็กลง และใส่ใจในความปลอดภัยและสุขอนามัยมากขึ้น พร้อมกับยังคงรักษาระยะห่างทางสังคม เน้นความเป็นส่วนตัว หลีกเลี่ยงที่จะเดินทางไปในสถานที่ที่แออัด ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยวต้องปรับตัวเข้าสู่วิถีการดำเนินธุรกิจใหม่ โดยการให้บริการที่คำนึงถึงความปลอดภัยจาก COVID-19 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้สภาวะ New Normal ถือเป็นความท้าทายสูง ที่ต้องเผชิญกับปัญหาจำนวนผู้ให้บริการมากกว่าผู้ใช้บริการหรือนักท่องเที่ยว (Over Supply) ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่อาจจะกลับมาอีกครั้ง เนื่องจากยังไม่มีการผลิตวัคซีนป้องกัน ทำให้ท่องเที่ยวภายในประเทศในไตรมาส 3 ปี 2563 ยังไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกได้