
สรุปสาระสำคัญ จากการบรรยาย ภายในงาน WTM 2019
On 4-6 November, 2019, TAT Review had an opportunity to participate in the World Travel Market (WTM) 2019, the world’s second largest tourism promotion event after ITB. One of the highlights of this event was the seminar, of which TAT Review selected 4 interesting topics comprising: 1. Inbound Ranking, who really loves the U.K., 2. Brexit, Trade Wars & Populism: 2020 Outlook & Risks, 3. What’s next for LGBT travel in the 2020’s?, and 4. Best Practices of Smart Tourism in Cities.
เมื่อวันที่ 4-6 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา TAT Review ได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน World Travel Market (WTM) 2019 นับเป็นงานส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากงาน ITB แน่นอนว่าไฮไลท์สำคัญ ของงานนี้ที่หลายๆ คนเฝ้ารอคงหนีไม่พ้นการสัมมนาภายในงาน TAT Review ฉบับนี้ เราได้คัดเลือกหัวข้อการสัมมนาที่น่าสนใจมาบางส่วน ดังนี้
◊ 1. Inbound Rankings, who really loves UK
สถานการณ์การท่องเที่ยวสหราชอาณาจักร
การบรรยายนี้บอกเล่าถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวภาพรวมของสหราชอาณาจักรในรูปแบบ long-haul โดยบอกเล่าถึงพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2014-2019) ผ่านการจัดอันดับประเทศและเมืองที่เดินทางเข้าสหราชอาณาจักร ผลการศึกษา สามารถสรุปได้ดังนี้
การจัดอันดับรายประเทศ
3 ประเทศที่เดินทางเข้าสหราชอาณาจักรมากที่สุดประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอินเดีย ตามลำดับ (ไม่เปลี่ยนแปลงในรอบ 5 ปี) สำหรับประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นอย่างน่าสังเกต ได้แก่ บังกลาเทศ (+32.5% จากปี 2018) จีน (+19.8% จากปี 2018) และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) (+16% จากปี 2018) สำหรับประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสหราชอาณาจักรเป็นอันดับที่ 19 (+3.9% จากปี 2018) สิ่งที่แสดงถึึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของจำนวนนักท่องเที่ยวเดิินทางเข้าสหราชอาณาจักรประกอบด้วย การเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจของประเทศจีีนและหลายประเทศในเอเชีย การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ การพัฒนาด้านการเชื่อมโยง การฟื้นตัวของราคาสิินค้าโภคภัณฑ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราคานํ้ามัน) การฟื้นตัวของภาวะหนี้สินของประเทศอาร์เจนตินา และความน่าดึงดูดใจของการจัดการแข่งขัน Cricket World Cup
การจัดอันดับรายเมือง
เมืองที่มีการเติิบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสหราชอาณาจักรมากเป็นพิเศษ (อันดับสูงขึ้น 4 อันดับหรือมากกว่า) ได้แก่
- อาบูจา (ประเทศไนจีเรีย) เพิ่มจากปี 2018 +21.2% (อันดับ 48 ปี 2019 / อันดับ 53 ปี 2018)
- เดลี (ประเทศอิินเดีย) เพิ่มจากปี 2018 +21.1% (อันดับ 7 ปี 2019 / อันดับ 11 ปี 2018)
- ไมอามี (สหรัฐอเมริิกา) เพิ่มจากปี 2018 +20.9% (อันดับ 39 ปี 2019 / อันดับ 43 ปี 2018)
- ซีแอตเทิล (สหรัฐฯ) เพิ่มจากปี 2018 +17.1% (อันดับ 28 ปี 2019 / อันดับ 32 ปี 2018)
ปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของจำนวนนักท่องเที่ยวแต่ละเมืองเดินทางเข้าสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น และลดลง ประกอบด้วย เสถียรภาพ/ศักยภาพทางเศรษฐกิจของแต่ละท้องที่การผันผวนของค่าเงิน การแข่งขัน ของสายการบิน และการจัดงาน/เทศกาลใหญ่ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ผลสํารวจยังได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญคือ ‘การเติบโตของเมืองรองในแต่ละประเทศ’ ที่มีจํานวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้า สหราชอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในหลายประเทศ
◊ 2. Brexit, Trade Wars & Populism : 2020 Outlook & Risks
Brexit สงครามการค้า ประชานิยม : อนาคตปี 2020 และความเสี่ยง
จากผลการศึกษาของ Oxford Economics พบว่าอัตราการเติิบโตของ GDP โลก มีการเติบโตที่ลดลงจาก 3.2% ในปี 2018 เหลือ 2.6% ในปี 2019 โดยสาขาที่มีการเติบโตช้าลงอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ การผลิิตและการค้าขาย ในส่่วนของการใช้จ่ายของผู้บริโภคนั้นกลับพบว่ามีการจับจ่ายที่เติบโตเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้น ทวีปยุโรปมีอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 6% ตามด้วยเอเชียแปซิฟิก และอเมริกา 4% ปัจจัยสําคัญของอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้นคือ เงินเฟ้อ
จากผลการศึกษาของ Oxford Economics พบว่าอัตราการเติบโตของ GDP โลก มีการเติิบโตที่ลดลงจาก 3.2% ในปี 2018 เหลือ 2.6% ในปี 2019 โดยสาขาที่มีการเติบโตช้าลงอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ การผลิตและการค้าขาย ในส่่วนของการใช้จ่ายของผู้บริโภคนั้นกลับพบว่ามีการจับจ่ายที่เติบโตเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้น ทวีปยุโรปมีอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 6% ตามด้วยเอเชียแปซิฟิก และอเมริกา 4% ปัจจัยสําคัญของอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้นคือ เงินเฟ้อ
Brexit
ผลสํารวจของ STR และ Oxford Economics เรื่องผลกระทบของ BREXIT พบว่า ส่งผลกระทบต่อ ความล่าช้าด้านการตัดสินใจของ นักท่องเที่ยว 1 ใน 3 โดยมี รายละเอียดย่อยดังนี้
สงครามการค้าจีน−สหรัฐฯ แข่งขึ้นกําแพงภาษีสินค้านําเข้า ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อม บทสรุปจะไม่มีผู้ใด ที่ชนะสงครามในครั้งนี้ สหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ภาพรวมการเดินทางท่องเที่ยว เข้าประเทศของสหรัฐฯ จะเติบโตแบบชะลอตัวในอัตรา 1.7% ส่วนหนึ่งจะมาจากจีนใช้การท่องเที่ยวมาเป็นอาวุธ ทางเศรษฐกิจ (Tourism as economic weapon)
ประเทศจีนเคยใช้กลยุทธ์รูปแบบนี้มาแล้วตั้งแต่ปี 2017 ด้วยการแบนแพ็กเกจทัวร์ท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ เพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจที่เกาหลีใต้ให้อเมริกาติดตั้งระบบต่อต้านขีปนาวุธ การแบนในครั้งนั้นฉุดการเติบโต ทางเศรษฐกิจทั้งปีของเกาหลีใต้ลง 0.4%
สรุปภาพรวม ปี 2020
ปี 2020 การเติบโตของเศรษฐกิจโลกยังเติบโตในทิศทางบวกแต่ชะลอตัวลง เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากผลพวง ของนโยบายต่างๆ รวมถึง BREXIT เอเชียแปซิฟิกยังเติบโตแต่ช้าลง การประท้วงที่ฮ่องกงคาดว่าจะดําเนินต่อไป ในปีหน้า จํานวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสหรัฐฯ อาจไม่เพิ่มขึ้นหรือเติบโตช้าลง ความเสี่ยงจากสงครามการค้า ยังคงมีอยู่ และการให้ความสําคัญในความยั่งยืนจะมีเพิ่มมากขึ้น
◊ 3. What’s Next for LGBTQ Travel in the 2020’s?
ยังไงต่อสําหรับท่องเที่ยว LGBTQ ในปี 2020
ปัจจัยสำคัญในการทำการตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยว LGBTQ คือ ความเข้าใจในตัวลูกค้ากลุ่ม LGBTQ การสื่อสารและแสดงออกถึง ความเข้าใจอย่างแท้จริง และการต้อนรับที่จริงใจและเปิดกว้างต่อพวกเขา นักการตลาดหรือจุดหมายปลายทางที่ต้องการจะทําตลาดกลุ่มนี้ควร หลีกเลี่ยงการเหมารวมคุณลักษณะของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ เพราะนักท่องเที่ยว กลุ่มนี้มีลักษณะที่แตกต่าง หลากหลาย และไม่ชอบการถูกจํากัดความ ในสิ่งที่พวกเขาเป็น สิ่งสําคัญที่นักการตลาดควรทําก็คือ ทําให้คนกลุ่มนี้ รู้สึกปลอดภัย รู้สึกดีจากการปฏิบัติและวิธีสื่อสาร หากพวกเขาสามารถ รับรู้ได้ถึงสิ่งเหล่านั้น แบรนด์หรือจุดหมายปลายทางก็จะได้รับความสนใจ จากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้
จากผลสํารวจของบริษัท Outnow บริษัทแนวหน้า ของโลกที่ทําการศึกษาวิจัยประชากรกลุ่ม LGBTQ พบว่าสัดส่วนของ ประชากร LGBTQ นั้นมีอยู่ 6% (ผลการวิจัยบางสํานักกล่าวว่า จํานวน ประชากรกลุ่มนี้มีอยู่ 8−10%) นอกจากนี้ ตลาดผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQ มีมูลค่าการใช้จ่ายอยู่ที่ 218.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ
บริษัท Outnow ได้ศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงกลุ่ม LGBTQ ที่เดินทาง เป็นครอบครัว (คู่ LGBTQ + บุตร) ผลสํารวจพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยว LGBTQ ที่เดินทางเป็นครอบครัว 39% คํานึงเป็นอย่างมากเกี่ยวกับ ทัศนคติของนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ ที่อาจปฏิบัติต่อพวกเขาไม่ปกติ มีเพียง 7% เท่านั้นที่ไม่คํานึงถึง ในขณะเดียวกัน เมื่อสอบถามถึงความกังวล เรื่่องการปฏิบัติของพนักงานที่พัก ก็พบว่านักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQ 28% กังวลและคํานึงถึงเป็นอย่างมาก ว่าพนักงานโรงแรมจะไม่รู้วิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมสําหรับพวกเขา
เมื่อสอบถามเรื่องการเลือกประเทศจุดหมายปลายทางที่จะเดินทาง 83% ให้ความสำคัญและมองว่าสถานการณ์ด้านกฎหมายของแต่ละประเทศ เรื่องเพศทางเลือก ส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจเดินทางของพวกเขา นอกจากนี้ 83% ชอบและสนใจที่จะเดินทางไปยังสถานที่ที่ประชากร กลุ่ม LGBTQ ได้รับความเคารพและยอมรับ 77% ให้คุณค่ากับการบริการ และการต้อนรับนักท่องเที่ยว LGBTQ ที่แท้จริงที่ไม่เสแสร้ง
จะเห็นได้ว่านักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQ ให้ความสำคัญเรื่องกฎหมาย และการยอมรับของจุดหมายปลายทางที่เดินทาง 6 ประเทศดังต่อไปนี้ คือประเทศที่นักท่องเที่ยว LGBTQ ควรหลีกเลี่ยงทั้งด้านเหตุผลทางกฎหมายและทัศนคติของประชากรในประเทศ
1. อัฟกานิสถาน (โทษประหารชีวิต)
2. ซาอุดิอาระเบีย (ประหารด้วยการขว้างหิน)
3. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ตายสถานเดียว)
4. รัสเซีย (กฎหมายปรับ)
5. จาเมกา (โทษจำคุกสูงสุด 10 ปี)
6. บรูไน (ประหารด้วยการขว้างหิน)
◊ 4. Best Practices of Smart Tourism in Cities
แนวทางปฏิบัติที่ดีของ Smart Tourism ในเมือง
ความชาญฉลาด (Smartness) คือการนํํ าเอาประโยชน์ของการเชื่อมต่อ และการทำงานร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับโครงสร้างการบริหารจัดการด้านข้อมูลใหม่ แล้วำไปสร้างหรือพัฒนาสินค้าและการให้บริการใหม่โดยวิธีการที่สร้างสรรค์เพื่อก่อให้เกิดคุณค่ามากที่สุดสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนที่เกี่ยวข้อง
การปรับปรุงโครงสร้างนี้ช่วยทำให้สินค้าและบริการ รวมถึงการดำเนินงาน ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปเป็นร่าง เป็นระเบียบ และสามารถใช้งานได้้แบบ real-time มากยิ่งขึ้น Smart Tourism คือการนำเอาความชาญฉลาดหรือ Smartness เข้ามาใช้เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวยุคดิจิทัลมองหาคุณค่าและประสบการณ์เวลาเดินทางท่องเที่ยว สิ่งที่พวกเขาต้องการเมื่อท่องเที่ยว ประกอบด้วย
การบริการที่ตอบสนองความเป็นปัจเจกบุคคล (Personalisation) มีบริบทที่น่าดึงดูด ประสบการณ์ของการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สินค้า และการบริการ (Co-creation of Experiences) ความพึงพอใจแบบทันทีทันใด (Instant gratification) ประสบการณ์การแบ่งปัน (Shares experiences) มีส่วนร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ (Engage with new technologies) สามารถควบคุมประสบการณ์ได้ด้วยตัวเอง (Control of own experience) และความเป็นปัจเจกบุคคลในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังการเดิินทาง (Personalisation across all stages of travel)
เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวยุคดิจิทัล อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจำเป็นต้องนำความชาญฉลาดและความว่องไวของเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างคุณค่า การทำงานร่วมกัน และต่อยอดสู่การพัฒนาศักยภาพสู่จุดหมายปลายทางนั้นๆ ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่สามารถนำมาช่วยสนับสนุนสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ เทคโนโลยีเครือข่ายสำหรับทำงาน และเชื่อมต่อร่วมกันระหว่างหน่วยงาน อินเทอร์เน็ตเซนเซอร์ เครื่องบอกตำแหน่ง ข้อมูล Big Data เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์โซเชียลมีเดีย/Web 2.0/คอนเทนต์ที่ผลิตจากผู้บริโภค (UGC) และเทคโนโลยีสําหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เมืองที่สามารถนำเสนอสภาพแวดล้อมชาญฉลาด (Ambient Intelligence) คือเมืืองที่เป็น Smart City อย่างสมบูรณ์และแท้จริง เมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่ชาญฉลาดซึ่งออกแบบการจัดเก็บข้อมูลผ่านโลกดิจิทัล และมีระบบที่เชื่อมต่อและทำงานร่วมกัน 360 องศา จนสามารถเชื่อมต่อระหว่างยานพาหนะและอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต มีการนำเทคโนโลยี AI และ Machine Learning มาใช้ โดยมีการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 5G ที่ครอบคลุมอย่างทั่วถึง
ตัวอย่างการส่งเสริม Smart Tourism ของแต่ละเมือง
ปักกิ่ง
การพัฒนา Smart Tourism ของปักกิ่ง = Culture + Tourism + Technology
ปักกิ่งยกระดับความสำคัญของ Smart Tourism สู่นโยบายการปกครองของภาครัฐ และได้วางกลยุทธ์แผนการดำเนินงานระหว่างปี 2017-2020 รัฐบาลปักกิ่งเน้นให้ความสำคัญในการขับเคลื่อน Smart City จากนวัตกรรมโมเดลการทำธุรกิจใหม่ และการส่งเสริมประสบการณ์ที่มีคุณค่า ผ่านการใช้้งานเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Big Data Cloud Computing 5G Internet of Things (IoT) และเทคโนโลยีวิดีโอตรวจตรา
ปัจจุบันปักกิ่งได้ใช้งานระบบขับเคลื่อน Smart Tourism หลายชนิิด ได้แก่ ระบบ E-government Office และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ออฟฟิศการท่องเที่ยวเพื่อข้อมูลพื้นฐานการปกครอง (tourism business electronic office system for data-based tourism governance) และมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Smart Tourism ที่โดดเด่น ได้แก่ Haidian ‘city brain’ project และ AI Technology Park (Haidan)
บัวโนสไอเรส
Big Data => Strategic Knowledge
กรุงบัวโนสไอเรสให้ความสําคัญกับการพัฒนา Smart Tourism โดยมองว่าความรู้ทางกลยุทธ์ ถูกพัฒนาจากการใช้งาน Big Data ภายในกรุงบัวโนสไอเรสมีการติดตั้งเซนเซอร์วัดปริมาณและความเคลื่อนไหวของคนและยานพาหนะ โดยเครือข่ายเครื่องเซนเซอร์สามารถตรวจจับระดับปริมาณก๊าซ CO2 เสีียง รังสีโซลาร์ และอุณหภูมิแบบเรียลไทม์ได้ นอกจากนี้ยังมีการให้บริการ Interactive Map จักรยานสาธารณะ บัตร Smart Card สำหรับเดินทางและคู่มือแนะนำ
บัวโนสไอเรสมีแพลตฟอร์มหอสังเกตการณ์ท่องเที่ยว (Tourism Observatory) ให้บริการ ซึ่งเป็นการให้บริ การข้อมูล Market Intelligence สำหรับผู้ประกอบการ ภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลในแพลตฟอร์มดังกล่าว ประกอบด้วย การวิเคราะห์ สถานการณ์เศรษฐกิจ (อาทิ การวิเคราะห์สถานการณ์และผลกระทบทางเศรษฐกิจในแต่ละช่วง การจ้างงาน การคาดการณ์การลงทุนภายในเมือง) ข้อมูลการวิจัยเชิงลึก (อาทิ อัตราการเข้าพักโรงแรม การแบ่งกลุ่ม นักท่องเที่ยว การวิจัยเชิงลึก) และข้อมูลประเภท Big Data (อาทิ การเชื่อมต่อทางอากาศ Mobile GPS Data ข้อมูลการจองบัตรโดยสารทางอากาศ)