ท่องเที่ยววิถีไทยเก๋ไก๋ถึงชุมชน
ปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ได้เวียนมาถึงอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้เป็นสิ่งที่เห็นพ้องต้องกันว่า การท่องเที่ยวของไทยจะต้องก้าวไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมดังนั้นการที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พาให้ใครต่อใครเข้าไปท่องเที่ยวในชุมชนจึงเป็นสาระสำคัญ เพราะจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้คนไทยและชาวต่างประเทศได้ไปรู้จักกับความจริงแท้ของวัฒนธรรมไทย
คนที่รักษาวัฒนธรรมไทยนานที่สุดโดยสม่ำเสมอก็คือคนในชุมชน
กิจกรรมท่องเที่ยวในวันนี้จึงนำสินค้าและกระบวนการการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการไปพบกับวัฒนธรรมท้องถิ่นการไปพบกับวัฒนธรรมจริงแท้ที่เป็นของชาวบ้านและที่เป็นของชุมชนจึงเป็นสาระสำคัญการทำงานท่องเที่ยวแบบที่ร่วมถักทอประสานงานกันที่ให้ภาค
ส่วนต่าง ๆทั้งภาคราชการทั้งภาคเอกชนภาคชุมชนภาคท้องถิ่นได้มามีส่วนร่วมกัน
ในการเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมเป็นเจ้าของวัฒนธรรมและมีความเป็นเจ้าของในเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวด้วยกันจึงเป็นเรื่องสำคัญ
อย่างไรก็ดี ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับ ท่องเที่ยวชุมชน 2-3 เรื่อง
เรื่องแรกก็คือ ไม่ได้แปลว่าทุกชุมชนมีศักยภาพในการรองรับจำนวนของนักท่องเที่ยว และลักษณะกิจกรรมของนักท่องเที่ยวได้เสมอภาคเสมอกันทุกคนดังนั้นการไปเที่ยวชุมชนจึงต้องทำการบ้านสักหน่อยว่าควรจะไปที่ไหนเมื่อไหร่ให้นึกถึงเจ้าบ้านคือตัวชุมชนเขา
ด้วย ไม่ได้นึกถึงเฉพาะตัวผู้เที่ยว
เรื่องที่ 2 เราจะต้องช่วยกันไปเที่ยวแบบมีสำนึกว่าเราจะต้องไปช่วยรักษาความจริงแท้
ของเขา เราจะไม่ไปเปลี่ยนแปลงวิถีที่เป็นสิ่งที่ทำให้เขารักษาตัวเองมาได้นับ 10 นับ
100 ปี เราต่างหากที่กำลังไปดูเขา ไปศึกษาจากเขา และเอาวิถีที่เขารักษาตัวเขาเองได้ มาใช้วิถีทางของชีวิตพวกเรา
ส่วนสุดท้ายก็คือว่า หลายแหล่งท่องเที่ยวกำลังทรุดโทรมและเราก็ได้ใช้ประโยชน์
จากแหล่งท่องเที่ยวทั้งประเภทธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นนานจนแทบจะไม่ได้ซ่อมมัน
เลย ดังนั้นในภารกิจของผมที่มาทำหน้าที่ ก่อนจะคืนประเทศให้เข้าสู่การเลือกตั้ง จึงอยากจะทำในเรื่องโครงสร้างและโครงสร้างนอกเหนือจากการปฏิรูปในระบบขององค์กรหน่วยงานและวัฒนธรรมการทำงานของรัฐที่จะทำกับภาคส่วนต่าง ๆ แล้วผมคิดว่าน่าจะ
เปิดโอกาสที่จะให้ประชาชนและภาคธุรกิจ รวมทั้งชุมชน ได้มีโอกาสบอกกล่าวเข้ามาว่า แหล่งท่องเที่ยวของเราค่อนข้างจะทรุดโทรมไปพอสมควร แต่ไม่มีใครทราบว่าที่ว่า
ทรุดโทรมนั้นทรุดโทรมอย่างไร มีจำนวนเท่าไหร่ อยู่ที่ไหน มีใครกด GPS
ไว้แล้วบ้างหรือไม่
Line ‘@Tourism1’
ผมได้กำหนดให้มีการเปิดไอดี Line ‘@Tourism1’เพื่อที่จะได้ให้ใครที่ไปตาม
แหล่งท่องเที่ยวแล้วรู้สึกว่า ยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ให้แอดเข้าไปในไอดี Line นี้ ส่งภาพและเล่าเรื่องมาสั้น ๆ จากนั้นกด Location เข้ามา ผมเชื่อว่าตัวเลขที่จะเข้ามานั้น เรากำลังพูดถึงหลักหมื่นแห่งด้วยซ้ำไป และเราจะได้เข้าไปทำการจำแนกแยกแยะ เพื่อที่จะได้รู้ว่าทั้งประเทศ มีแหล่งท่องเที่ยวที่ทุกคนรู้สึกอยากจะเห็นมันปรับปรุง
ได้ทยอยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
เรากำลังพูดถึงจำนวนหลักพันหลักหมื่นหลักแสนแห่ง ก็สุดแท้แต่เรากำลังจะทยอยเปลี่ยน
จากความรู้สึกมาเป็นความรู้ ความรู้นั้นจะช่วยให้เราสามารถสื่อสารกับหน่วยงานของรัฐและกับภาคประชาสังคม ไม่ว่าจะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัททั่วไป บริษัทใหญ่ ๆ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งต่างก็สนใจไปทำงาน CSR เราจะได้ชักชวนพวกเขา แทนที่จะไปทำความดีแบบตามใจชอบก็ลองมาทำความดีแบบปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ทำให้ใคร ๆ ก็เข้ามาช่วยทำกันได้
ปัจเจกชนที่เคยเข้าไปเที่ยว เป็นแฟนคลับของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใดแห่งหนึ่ง ก็จะได้
รู้ว่ามีแหล่งท่องเที่ยวที่กำลังร้องขอความช่วยเหลือในการปรับปรุงพัฒนาว่าอยู่ที่
ไหนบ้าง ถ้าอยู่ใกล้บ้าน เป็นบ้านเกิด หรือเป็นพื้นที่ที่มีความรักเป็นพิเศษจะได้มี
จิตอาสาในการเดินทางเข้าไปในพื้นที่เหล่านั้น
เรากำลังจะทำให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือ สร้างความสุข ลดความเหลื่อมลํ้าให้กับชุมชนให้กับประชาชนและนั่นคือเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดที่ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีมิติสำคัญทั้งทางด้านมูลค่า และทางด้านคุณค่า
นโยบายการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวปี 2561
รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์
1 การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว
2 การบูรณาการระหว่างทุกหน่วยงานและภาคเอกชน
3 การจัดการเมืองท่องเที่ยวหลัก กระจายโอกาสไปยังเมือท่องเที่ยวรอง
4 การใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ ลดความเหลื่อมล้ำ
คลินิกท่องเที่ยว (Tourism Clinic)
มีหลายบทบาทหน้าที่ ทั้งงานซ่อมแหล่งท่องเที่ยว และสร้างพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งคลีนิกท่องเที่ยวจะทำให้เกิดการบูรณาการการทำงานกันระหว่างฝ่ายที่ดูแล demand และฝ่ายที่ต้องบริหาร supply
ปัจจุบัน ททท. ทำงานได้ดีอยู่แล้วในด้านการตลาด ดึงนักท่องเที่ยว เข้าประเทศไทยมา (~34 ล้านคน) แต่ด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวยังตามไม่ทัน
ตอนนี้เมืองไทยประสบความสำเร็จ ในหลายด้าน เช่น
1 หลุดจากภาวะเสื่อมถอยจากเหตุการณ์ในอดีต เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
2 ไทยเริ่มปรับพื้นฐานสำหรับเรื่องอนาคต เช่น โครงการรถไฟรางคู่
3 ปี 2018 เราพร้อมที่จะขึ้นมาโดดเด่นมากขึ้น ทั้งด้านการท่องเที่ยวและด้านต่างๆ
เพราะการท่องเที่ยวช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มความมั่งคั่งให้กับชุมชนซึ่งเป็นรากฐานของเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทย
ประเด็นนำเสนอเพิ่มเติม :
– สายการบินราคาต่ำ (Low cost airlines) จะช่วยเรื่องการส่งนักเดินทางเข้าสู่
แหล่งท่องเที่ยว และการพัฒนาเมืองรอง โดยเฉพาะเมืองที่มีศักยภาพพร้อมสามารถ
เริ่มพัฒนาได้เลย
– สินค้าโอทอป (OTOP) ควรตั้งขายอยู่ในหมู่บ้าน จะได้เป็นการเชื่อมกับเรื่องราว (Story) ให้กับแหล่งท่องเที่ยว
– ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรอง รวมทั้ง ททท. ซึ่งนำแนวนโยบายไปเริ่มปฏิบัติแล้ว
– MICE สามารถช่วยทำโปรแกรมเข้าชุมชน อาจจัดเป็นกิจกรรมระหว่างวัน แต่อาจจะพักแรมหรือจัดประชุมในเมืองได้แล้วไปร่วมสร้างประสบการณ์ต่อร่วมกันในชุมชน
เรื่อง : วีรศักดิ์ โควสุรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา