Retro Market ในกระแส Nostalgia Tourism

ปรากฏการณ์สำคัญอย่างหนึ่งในกระแสท่องเที่ยวไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ การเกิดขึ้นอย่างมากมายของแหล่งท่องเที่ยวชนิดใหม่ที่เรียกว่า ‘Retro Market’ (ตลาดย้อนยุค)

Retro Market มิใช่การฟื้นฟูตลาดเก่าที่ซบเซาให้กลับมามีชีวิตใหม่เพียงอย่างเดียว เช่น ตลาดสามชุก หรือตลาดเก่าทั้งหลายที่นิยมพ่วงท้ายชื่อตลาดแบบใหม่ด้วยคำฮิตว่า ‘100 ปีแต่ในกรณีนี้ยังหมายรวมถึงการก่อสร้างพื้นที่ตลาดขึ้นมาใหม่โดยตั้งใจออกแบบให้มี
ลักษณะของการจำลองกลิ่นอายและบรรยากาศอันหวนรำลึกย้อนไปถึงตลาดในอดีต เมื่อเกือบ 100 ปีที่ผ่านมา อาทิ ตลาดน้ำ 4 ภาค (พัทยา), ตลาดน้ำอโยธยา, เพลินวาน, เชียงคาน, หรือแม้กระทั่ง Cicada Market หัวหิน เป็นต้น

ที่น่าสนใจเป็นพิเศษจนต้องนำมาเขียนถึง ก็เพราะในทัศนะผม Retro Market มิได้เกี่ยวข้องสักเท่าไรเลยกับสำนึกว่าด้วยความต้องการที่จะอนุรักษ์หรือรื้อฟื้นแบบแผน
วิถีชีวิตดั้งเดิมที่ปรากฏอยู่ในตลาดเก่าทั้งหลายในแบบที่คนส่วนใหญ่มักจะพูดถึงกัน เวลาเมื่อกล่าวถึงโครงการรื้อฟื้นตลาดเก่าให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้งแต่อย่างใด

โครงการเหล่านี้โดยเนื้อแท้มิได้เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองเป้าหมายและผู้ใช้สอยแบบเก่า
อีกต่อไปแต่ตัวมันเองคือพื้นที่ชนิดใหม่ที่มิใช่ทำหน้าที่ขายแต่สิ่งของเครื่องใช้หรือของกินตามนิยามของตลาดแบบเดิมเพียงอย่างเดียวแต่ยังเป็นพื้นที่ที่เสนอขายภาพลักษณ์และ
ความแปลกใหม่ในสถานะของการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของคนชั้นกลางในเมืองไป
พร้อมๆ กัน

กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือRetroMarketเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมการท่องเที่ยวของคนชั้นกลางในเมืองโดยเฉพาะอันเป็นผลพวงสืบเนื่องโดยตรงมาจากปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่เราเรียกว่า ‘Nostalgia Tourism’ (การท่องเที่ยวแบบโหยหาอดีต)

 

Nostalgia Tourism : การท่องเที่ยวบนจิตนาการว่าด้วยวันชื่นคืนสุข

 

Nostalgia Tourism คือปรากฏการณ์ในเชิงการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่ง ที่ตอบสนองความต้องการ‘โหยหาอดีต’(Nostalgia)และนำมาสู่ความต้องการที่จะหวนย้อนกลับไปมีประสบการณ์ ‘วันชื่นคืนสุข’ ในอดีตนั้นๆ อีกครั้ง

วันชื่นคืนสุขในที่นี้มิได้หมายถึงอดีตในลักษณะประสบการณ์ตรงที่นักท่องเที่ยวแต่ละคน
เคยประสบพบเจอมาเองในวัยเด็กแต่เพียงอย่างเดียวแต่ยังหมายรวมไปถึงวันชื่นคืนสุขที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นจินตนาการร่วมกันของสังคมว่า ยุคสมัยหนึ่งสมัยใดในอดีตคือช่วงเวลาแห่งความสุข เจริญรุ่งเรือง หรือสวยงามที่สุด เป็นต้น

ยิ่งสังคมไหนตกอยู่ในสภาวะที่ขาดความมั่นใจหรือมีวิกฤติต่อสภาพสังคมในยุคปัจจุบัน และรู้สึกหมดหวังต่อสังคมในอนาคตของตนเองมากเท่าไรปรากฏการณ์โหยหาอดีตก็จะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นและแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของสิ่งที่
เรียกว่า Nostalgia Tourism ผลการศึกษาของ University College London เมื่อ .. 2007 พบว่า 90% ของนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษเลือกที่จะท่องเที่ยวในสถานที่ที่เกี่ยวพันเชื่อมโยงกับประสบการณ์หวานชื่นในอดีตของตนเองมากกว่าที่จะเลือกท่องเที่ยวในสถานที่แปลกใหม่ที่ไม่เคยไปมาก่อน ปรากฏการณ์ Nostalgia Tourism นี้มิใช่เกิดขึ้นในสังคมใดสังคมหนึ่งแต่มันกำลังเป็นกระแสการท่องเที่ยวในระดับสากลที่มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี ไม่เว้นแม้กระทั่งในสังคมไทย  ซึ่งเมื่อมองสำรวจย้อนกลับไปประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่า Nostalgia Tourism ของไทย ที่โดดเด่นที่สุดคือ การเกิดขึ้นของ Retro Market ในรูปแบบต่างๆ

 

Retro Market : Nostalgia Tourism แบบไทยๆ

อาจกล่าวได้ว่าสถานที่แรกๆ ที่เป็นตัวจุดกระแสนี้ขึ้นในสังคมไทยคือ
ตลาด 100 ปีสามชุก ที่สุพรรณบุรี ซึ่งเริ่มมีการปรับปรุงขึ้นจนเป็นลักษณะ
ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันราวปี พ.ศ. 2543

และนับตั้งแต่ตลาดสามชุกเป็นต้นมาการรื้อฟื้นตลาดเก่าในรูปแบบเช่นที่ตลาดสามชุกทำก็ได้แพร่หลายกระจายไปทั่วประเทศ ที่ชัดเจนและประสบความสำเร็จที่สุดก็คือ เชียงคาน และในที่สุด ปรากฏการณ์นี้ก็ได้ยกระดับไปสู่การออกแบบก่อสร้าง Retro Market
ขึ้นใหม่โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องยึดโยงอยู่กับพื้นที่ตลาดเก่าอีกต่อไป อาทิ ตลาดน้ำ
4 ภาค (พัทยา) เมื่อ .. 2551, เพลินวาน เมื่อ .. 2552, ตลาดน้ำหัวหิน สามพันนาม ..2554,และCicadaหัวหินพ..2554เป็นต้นทั้งนี้ยังไม่นับรวมเทรนด์ในการออกแบบ
โรงแรมแนวใหม่ที่เริ่มมองเห็นการใช้รูปแบบและบรรยากาศของตลาดเก่ามาเป็นแนวคิดหลักของโรงแรม เช่น พระนครนอนเล่น เป็นต้น

 

หากพิจารณาดูแนวโน้มการเกิดขึ้นของRetroMarketในสังคมไทยเราจะพบข้อสังเกต
สำคัญประการหนึ่งคือ เป็นกระแสที่เกิดขึ้นเชื่อมโยงไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจเมื่อ .. 2540 อย่างมีนัยสำคัญที่เป็นเช่นนี้เพราะRetroMarketคือปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวพัน
โดยตรงกับ ปรากฏการณ์ Nostalgia ในสังคมไทยหลังวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อ .. 2540

 

วิกฤติดังกล่าวส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนชั้นกลางถึงคนชั้นสูงในเมือง คนกลุ่มนี้ตกอยู่ในสภาวะที่ขาด
ความมั่นใจต่อสภาพสังคมในยุคปัจจุบัน และเกิดความรู้สึกหมดหวังต่ออนาคต คนชั้นกลางไปจนถึงคนชั้นสูงในเมืองต่างพากันผิดหวังต่อระบบทุนนิยมและกระแส
โลกาภิวัตน์หากย้อนกลับไปศึกษาบรรยากาศในยุคดังกล่าวเราจะพบเห็นบรรยากาศใน
ลักษณะที่ต่อต้านทุนนิยมโลกาภิวัตน์อย่างขนานใหญ่ในสังคมไทย กระแสชาตินิยมทางเศรษฐกิจถูกปลุกขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมกระแสเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการพูดถึงในวงกว้างวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมในสังคมบ้านนอกต่างจังหวัดถูกสร้างขึ้นเป็นภาพในจินตนาการของคนชั้นกลางที่อยากจะย้อนหวนกลับไปสัมผัสอีกครั้ง

 

ภาพของชุมชนต่างจังหวัดบ้านเรือนทุ่งนาและตลาดเก่าถูกสร้างขึ้นเป็นแบบจำลองใน
จินตนาการที่สวยงามเป็นสุขของสังคมไทย และถูกโฆษณาสั่งสอนผ่านสื่อต่างๆ แทบไม่เว้นแต่ละวัน จนภาพเหล่านี้ได้ถูกสถาปนาขึ้นเป็นภาพแห่งวันชื่นคืนสุขของสังคมไทยในอุดมคติ

ทุนนิยม คือ กิเลสบาทหยาบช้าภูมิปัญญา คือ ทางออกใหม่

ทุนนิยม/บริโภคนิยม คือ กิเลสบาป หยาบช้า โลกาภิวัตน์ คือ ผู้ร้ายที่จ้อง ทำลายความเป็นไทย ภูมิปัญญา ท้องถิ่น คือ ทางออกใหม่ คือ พระเอกที่จะช่วยเยียวยาไม่ให้ สังคมไทยดำดิ่งลงไปยังเหวลึก ของความเลวร้าย

สิ่งเหล่านี้คือสมการในความคิดของคนชั้นกลางและสูงในสังคมไทย เป็นจำนวนมากภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งภาพดังกล่าวนี้ได้ถูก ประกอบสร้างขึ้นจนเป็นมาตรฐานการรับรู้หลักของคนชั้นกลางไทย ในสมัยต่อมาด้วย แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นคนรุ่นต่อมาที่มิได้ประสบ พบวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อ พ.ศ. 2540 ด้วยตนเองก็ตาม

 

หากกล่าวเฉพาะในมิติของการท่องเที่ยวภาพของการท่องเที่ยวในรูปแบบเดิมๆถูกมองว่าเป็นสิ่งฟุ้งเฟ้อภายใต้กระแสทุนนิยม บริโภคนิยม และด้วยบริบทเช่นนี้เองที่ Retro Market ได้ถือกำเนิดขึ้น และเข้ามา เติมเต็มช่องว่างในกระแสการท่องเที่ยวไทยยุคหลังวิกฤติเศรษฐกิจ

 

Retro Market มิได้ทำให้ ทุนนิยม/บริโภคนิยม อันเป็นกิเลสบาป ลดน้อยหายไปแต่อย่างใด เพราะตัวมันเองก็คือผลผลิตโดยตรงของ เศรษฐกิจแบบทุนนิยม/บริโภคนิยมเพียงแต่RetroMarketมีเปลือกนอกของรูปแบบที่ทำหน้าที่เป็นรูปสัญลักษณ์อันสอดคล้องและตอบรับ กับภาพ ‘วันชื่นคืนสุข’ ของวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมในสังคมแบบบ้านนอก ต่างจังหวัด อันเป็นภาพสมมติในจินตนาการของคนชั้นกลางในเมือง ได้เป็นอย่างดีก็เท่านั้นเอง

 

Retro Market ได้เข้ามาช่วยเติมเต็มและเยียวยาอาการโหยหาอดีตของคนชั้นกลางในเมืองที่ประสบกับสภาวะไม่มั่นคงและไร้ความไว้วางใจ ต่อปัจจุบันและอนาคตของตนเอง

 

โดยไม่ต้องทำการสำรวจอย่างจริงจัง ก็จะพบได้ชัดเจนว่า Retro Market ทั้งหลายกลุ่มที่เข้าไปใช้สอยหลักล้วนแล้วแต่เป็นคนชั้นกลางขึ้นไปทั้งสิ้นตลาดเหล่านี้มิได้ทำหน้าที่สนอง
ตอบต่อผู้คนในละแวก ตลาดในความหมายเดิมอีกต่อไป แต่ทำหน้าที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวใน รูปแบบโหยหาอดีตของคนชั้นกลางในเมืองตลาดสามชุก,เชียงคาน,และเพลินวานคือตัวอย่างที่ชัดเจนของปรากฏการณ์นี้

 

องค์ประกอบสำคัญของ Nostalgia Tourism ในกรณี Retro Market ทั้งหลายของสังคมไทย คือ การออกแบบพื้นที่, ฉากร้านค้า ตลอดจน องค์ประกอบต่างๆ ของพื้นที่ให้เต็มไปด้วยวัตถุสัญลักษณ์แห่งอดีตกาล ในระดับที่ล้นเกิน ไม่ว่าจะเป็น การระดมจัดวางสิ่งของย้อนยุค แผ่นเสียง ป้ายโฆษณาย้อนยุค ขนมโบราณ พัดลมเก่าแก่ ขวดน้ำอัดลมยุคเก่า ฯลฯ ซึ่งการระดมใส่ในระดับที่ล้นเกินเช่นนี้ เป็นไปเพื่อเป้าหมายใน การทำเป็นฉากสำหรับถ่ายภาพโดยเฉพาะ ซึ่งการถ่ายภาพถือว่าเป็น วัฒนธรรมการโหยหาอดีตที่เป็นลักษณะเฉพาะโดดเด่นมากของคน ชั้นกลางในเมืองในสังคมไทย


การถ่ายภาพตนเองโดยมีฉากหลังเป็นตลาดเก่า ไม่ว่าจะทั้งเป็นตลาด เก่าจริงหรือตลาดเก่าแบบปลอมๆ ทั้งหลาย หรือการถ่ายภาพตนเอง ร่วมกับวัตถุสิ่งของที่ย้อนกลับไปสู่อดีตเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ล้วนแล้วแต่ เป็นการตอบสนองต่ออาการโหยหาอดีตของคนชั้นกลางในสังคมไทยได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่โซเชียลมีเดียทั้งหลายเอื้อต่อการแชร์ภาพเหล่านี้ให้เพื่อนฝูงพี่น้องได้เห็นกันอย่างรวดเร็ว ในชั่วไม่กี่วินาที ก็ยิ่งทำให้ Retro Market กลายเป็นพื้นที่ที่ได้รับความ นิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


ข้อน่าสังเกตอีกประการคือRetroMarketในสังคมไทยจะมิได้ถูกออกแบบให้ย้อนยุคเก่าแก่ไปไกลจนถึงตลาดโบราณยุคต้นกรุง รัตนโกสินทร์หรือเก่าไปกว่านั้น โดย Period อันเป็นที่นิยมจะหวน ย้อนกลับไปมากที่สุดคือ ไม่เกินสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นหลัก


ทำไมต้องยุคสมัยนี้คำตอบในทัศนะส่วนตัวคือเพราะยุคสมัยดังกล่าวมีนัยในเชิงสัญลักษณ์และความหมายบางอย่างที่เชื่อมโยงไปสู่ความ ทันสมัยในระดับสากลด้วย เพราะความรับรู้ของสังคมไทยที่มีต่อสมัย รัชกาลที่ 5-7 คือภาพสังคมในอุดมคติของคนชั้นกลางไทยที่มีส่วน ประกอบทั้ง อดีตหวานชื่น สงบสุข และสวยงาม กับ ภาพความเจริญ ที่ทัดเทียมนานาอารยประเทศในระดับสากล พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นยุคสมัย ที่เก่าแต่ไม่เชย โบราณแต่เก๋ ย้อนยุคแต่ไม่ล้าสมัย


มิใช่เป็นความโบราณเก่าแก่ที่ล้าสมัยในแบบอยุธยาหรือต้นรัตนโกสินทร์ ที่มีนัยในเชิงเก่าแล้วเก่าเลย ไร้ซึ่งความเท่ เก๋ ในแบบที่คนชั้นกลางใน เมืองต้องการ ดังนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจว่า Theme ของ Retro Market ที่มุ่งตลาดคนชั้นกลางในเมือง เช่น เพลินวาน หรือ Cicada จึงเป็นไป ในลักษณะดังกล่าว


โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาด2แห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่หัวหินซึ่งในปัจจุบันหัวหินมีภาพลักษณ์อันเป็นจุดขายที่เชื่อมโยงกับยุคสมัยรัชกาลที่ 7 อย่างชัดเจนมากกว่ายุคสมัยอื่น ซึ่งก็ยิ่งเป็นเหตุผลหนุนเสริมให้แนวคิด ในการออกแบบชัดเจนยิ่งขึ้น


จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่าRetroMarketเป็นผลผลิตทางสังคมวัฒนธรรมที่สัมพันธ์สอดคล้องโดยตรงกับ
กระแส Nostalgia Tourism ในสังคมไทยยุคหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ตัวมันเองเกิดขึ้นอย่าง มีบริบทภายใต้ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมชุดหนึ่ง


หากข้อสังเกตที่บทความนี้นำเสนอถูกต้อง RetroMarketในสังคมไทยก็ดูจะยังมีอนาคตที่สดใสอีกนานพอสมควร เพราะบริบทสังคมไทยปัจจุบันยังคงตกอยู่ภายใต้วิกฤติที่ทำให้คนชั้นกลางในเมืองส่วนใหญ่รู้สึกไม่พอใจ/ไม่มั่นคงต่อปัจจุบันและอนาคตสักเท่าไร และทำให้อาการอยากย้อนอดีตกลับไปหาวันชื่นคืนสุขในจินตนาการยังคงเป็นกระแส ที่สำคัญอยู่อย่างมากซึ่งRetroMarketคงจะกลายเป็นเครื่องมือเล็กๆอย่างหนึ่งที่ช่วยเยียวยาอาการโหยหาอดีตของคนกลุ่มนี้ได้ไม่มากก็น้อย

 

เรื่อง : ชาตรี ประกิตนนทการ

ภาพ : Tanjai Paimyotsak

Share This Story !

Published On: 31/01/2018,1.8 min read,Views: 537,

Related projects

  • ¡Hola! Spanish Travelers

    กันยายน 24, 2023

  • ‘เรื่องเล่น’ เรื่องเล็กน้อยมหาศาล

    กันยายน 24, 2023

  • ‘DESERT SUPERCITY’ มหานคร แห่งทะเลทราย

    กันยายน 24, 2023