
การท่องเที่ยวโดยชุมชมอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์การยกระดับการท่องเที่ยวไทยให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชม
(Community-Based Tourism : CBT Thailand)
เชื่อหรือไม่ว่าปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากกว่า 32.5 ล้านคน
สร้างรายได้ให้ประเทศมากกว่า 1.6 ล้านล้านบาท นับเป็นตัวเลขที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับ
ประเทศไทยที่ไม่ว่า จะเดินทางไปมุมไหนของโลก เรามักจะได้พบเจอกับผู้คนจากหลากหลายชาติ
ที่ล้วนเคยมาเยือนประเทศไทยแล้วทั้งนั้น ดังนั้นประเทศไทยของเราที่ถือเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยว
ในฝันของประชาชนชาวโลกเลยทีเดียว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยนั้น ไม่ว่าจะเกิดเหตุภัยธรรมชาติ ภัยการเมือง หรือ เหตุการณ์ใดๆ นักท่องเที่ยวยังคงหลั่งไหลเข้าประเทศอย่างไม่ขาดสาย เพราะประเทศไทยขึ้นชื่อว่า มาแล้วคุ้มค่า เพราะเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งหาดทรายที่สวยงาม ภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งมีประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ อาหารที่โดดเด่นหลากหลายชนิด และไมตรีจิตของคนไทยที่ใครได้พบเจอก็ล้วนประทับใจ ถือเป็นประเทศที่มาที่เดียวได้ทุกอย่างครบจริงๆ
อีกทั้งมาง่ายคุ้มค่าเงินถ้าเทียบกับการไปท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่ประเทศไทยจะติดอันดับประเทศที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา
และสเปนเท่านั้น
การที่นักท่องเที่ยวเข้ามามากมายรายได้ที่ล้นหลามทุกอย่างดูจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับประเทศไทยแต่คำถามสำคัญคือคนเข้ามาเยอะขึ้นรายได้เพิ่มขึ้นแล้วทำไมชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวหลักไม่ว่าจะเป็น
กรุงเทพ เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา ถึงยังไม่มีความสุขแถมยังลุกขึ้นมาต่อต้านการท่องเที่ยว ออกมาสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวไม่ว่าจะรถติดความแออัดการย้ายถิ่นเพราะสู้ค่าครองชีพ
ไม่ไหวฯลฯถ้าเช่นนั้นการท่องเที่ยวสร้างประโยชน์ให้คนท้องถิ่นจริงหรือไม่นี่คือสิ่งที่เราต้องหันมาลองคิดหาคำตอบกันอย่างจริงจังมากขึ้นจะดีกว่าหรือไม่หากเราสามารถทำให้คนในชุมชนมีความสุขกับการเติบโตของการท่องเที่ยวโดยคนในชุมชนได้รับประโยชน์ในแบบที่ตนเองต้องการไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้น
สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นการได้ฟื้นฟูวิถีชีวิตดั้งเดิมการที่ลูกหลานกลับมาอยู่บ้านหรือการที่ชุมชนมีความสามัคคีกันมากขึ้นซึ่งกระบวนการที่จะผลักดันให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้คือ‘การท่องเที่ยวโดยชุมชน’การท่องเที่ยวที่จะช่วย
สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นที่มีฐานะเป็น ‘เจ้าบ้าน’ ในทุกแหล่งท่องเที่ยวนั่นเอง
ทำไมประเทศไทยต้องมีแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชม
การจะพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม
ตั้งแต่ต้นแต่ความท้าทายที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทำให้ชุมชนไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่อง
เที่ยว มี 2 ปัจจัยหลักคือ
1) ชุมชนไม่เข้าใจว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมทำไมเพื่อประโยชน์ใดตนเองอยู่ตรงไหนของการท่องเที่ยว และ
2) ชุมชนไม่รู้ว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการก้าวข้ามปัจจัยท้าทายทั้ง2ประการนั้นได้คือการพัฒนาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นให้มีความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการเข้ามามีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการรู้เท่าทัน
ข้อดีและข้อเสียของการท่องเที่ยว การบริหารจัดการและการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่น การเป็นเจ้าบ้านที่ดี การเล็งเห็นถึงโอกาสในการเชื่อมโยงชุมชนกับการท่องเที่ยว เป็นต้น
ในการพัฒนาศักยภาพชุมชนนั้นมีภาคส่วนต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาท
หลากหลาย ภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยตรง หรือภาควิชาการทั้งสถาบัน
การศึกษาและองค์กรพัฒนาเอกชนหรือNGOsต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายการมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
มากมายหลากหลายเช่นนี้ ทำให้ทิศทางในการพัฒนามีความหลากหลายแตกต่างไปตามภารกิจหรือ
แนวทางของแต่ละหน่วยงาน ดังนั้น ภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคประชาชนจึงจำเป็นจะต้องหันหน้าเข้ามา ‘ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์’ ทำให้เกิดทิศทางการ
พัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบที่จะเกิดประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นสูงสุดเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ เพราะเมื่อทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น เมื่อเกิดผลประโยชน์หรือผลเสีย ทุกฝ่าย
จะได้ร่วมกันรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์ในระยะยาวร่วมกันการร่วมคิดร่วมวางแผนเพื่อให้เกิดทิศทางการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวได้
จึงก่อให้เกิด ‘แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559-2563 (CBT Thailand)’ จัดทำขึ้นโดยคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยว
แห่งชาติ (ท.ท.ช.) ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2560 โดยมี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธานและองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว
อย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน)หรืออพท.เป็นฝ่ายเลขานุการเพื่อประสานการทำงานกับภาคีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนดังกล่าวจึงถือเป็นแผนยุทธศาสตร์การท่อง
เที่ยวฉบับแรกของประเทศไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาในระดับชุมชนเป็นหลักเพื่อให้เกิดการกระจายประโยชน์
จากการท่องเที่ยวไปสู่เศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง โดยมีวิสัยทัศน์ว่า “การท่องเที่ยวโดยชุมชนของไทย
พัฒนาสู่สากลอย่างมีเอกภาพบนฐานการรักษา และจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืนสู่ชุมชนแห่งความสุข” นั่นเอง
แผนยุทธศาสตร์นี้ จะขับเคลื่อนเรื่องอะไรบ้าง
แผนยุทธศาสตร์ CBT Thailand ฉบับนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว หรือทำให้
การท่องเที่ยวไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น หรือเน้นการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว แต่แผนยุทธศาสตร์นี้
มีวัตถุประสงค์ในการ ‘ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน’
ซึ่งหมายถึงการทำงานทั้งระบบเพื่อใช้การท่องเที่ยวมาเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีการกระจายรายได้มากขึ้น เน้นการเชิดชูทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น กระตุ้นจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นโจทย์ในการทำงานร่วมกันดังนั้นจึงมีกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยยกระดับให้การท่อง
เที่ยวเกิดประโยชน์ต่อชุมชน 5 กลยุทธ์สำคัญ ดังนี้
1 การพัฒนาคนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนในชุมชนและท้องถิ่นเพื่อ
ให้สามารถบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของตนเองได้
2 การเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่นโดยมุ่งเน้นให้ชุมชนเข้าใจตัวเองว่ามีดีอะไรและต่อยอดนำเสนอจาก
ทรัพยากรที่มี ไม่จำเป็นต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่อาจจะไม่ใช่อัตลักษณ์ของท้องถิ่น
3 การตลาดที่เหมาะสมกับชุมชน เพื่อแสวงหาตลาดนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับแต่ละชุมชน และสร้างความสามารถในการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวโดยไม่เสียอัตลักษณ์ของชุมชน นอกจากนั้น เพื่อเชื่อมโยงผู้ประกอบการนำเที่ยวให้นำเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสม
เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าเส้นทางการท่องเที่ยว
4 การสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถเชื่อมโยงแลก
เปลี่ยนทรัพยากร ความรู้และประสบการณ์ร่วมกันเพื่อทำงานเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็งได้ใน
ระยะยาว โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการสนับสนุนของภาครัฐหรือภาคเอกชนเสมอไป
5 การประเมินผลด้วยตัวชี้วัดความสุขของชุมชนและนักท่องเที่ยวเนื่องจากวัตถุประสงค์หลักในการ
พัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์ ดังนั้นตัวชี้วัดความสำเร็จจึงไม่ใช่เพียงรายได้
ที่เพิ่มขึ้นหรือนักท่องเที่ยวที่มากขึ้น แต่เป็นความอยู่ดีมีสุขในมิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับเป็นการแลกเปลี่ยนของเจ้าบ้านและผู้มา
เยือนที่เท่าเทียม มีความสุขร่วมกัน
ใครที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์นี้บ้าง
แผนยุทธศาสตร์ CBT Thailand นี้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง กับหลากหลายภาคส่วน โดยมีกลไกการขับเคลื่อน
ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค ดังนี้
ระดับนโยบาย
ในระดับนโยบายโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ(ท.ท.ช.) ซึ่งทำหน้าที่ดูแลนโยบาย
การท่องเที่ยวในระดับประเทศทั้งหมด ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชนขึ้นเพื่อเป็นกลไก
ในการขับเคลื่อนและติดตามแผนยุทธศาสตร์ CBT Thailand โดยมีองค์ประกอบจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาชน รายงานผลการทำงานต่างๆ ทั่วประเทศให้ระดับ
นโยบายได้รับทราบ และผลักดันในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดเป็นรูปธรรมในเชิงนโยบายได้ต่อไป
ระดับปฏิบัติ
คณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาการท่องเที่ยว ร่วมกันขับเคลื่อนสนับสนุนการพัฒนาให้เป็นไปตามแนวทางในแผนยุทธศาสตร์ CBT Thailand ซึ่ง อพท. เป็นเลขานุการของคณะอนุกรรมการชุดนี้
ระดับพื้นที่
ในระดับพื้นที่ในแต่ละเขตพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศไทยจะมีคณะทำงานประชารัฐขับเคลื่อน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนประจำเขต ซึ่งมีองค์ประกอบครอบคลุมภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ
และภาคประชาชนในพื้นที่เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนดังกล่าว
ให้เป็นไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ตามความเชื่อมโยง ตามแผนภาพดังต่อไปนี้
แผนยุทธศาสตร์นี้จะก่อให้เกิดอะไรที่เป็นรูปธรรมบ้าง
การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ CBT Thailand นี้มีระยะเวลาอย่างน้อย 4 ปีในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในการยกระดับและเชื่อมโยงให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยเกิด
ประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ดังนี้
1 ชุมชนที่มีศักยภาพในการเชื่อมโยงรับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวอย่างน้อย 200 ชุมชนกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นรูปธรรม
2 หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่นด้านต่างๆให้มีความรู้ความเข้าใจทักษะใน
การเก็บเกี่ยวและบริหารจัดการผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว
3 บุคลากรด้านการท่องเที่ยวในทุกระดับตั้งแต่ระดับนโยบายในหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน
ที่ทำงานกับชุมชนและชุมชนท้องถิ่นเองที่มีความเข้าใจในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้การท่องเที่ยว
ของประเทศไทยมีแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4 มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการท่องเที่ยวของประชาคมอาเซียน
และเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ Global Sustainable Tourism Criteria (GSTC)
5 การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสู่เส้นทางท่องเที่ยวหลักและเส้นทางแหล่งท่องเที่ยว
รองเพื่อช่วยกระจายประโยชน์จากการท่องเที่ยวไปยังชุมชนท่องเที่ยวในเมืองหลักและเมืองรอง หรือแหล่งท่องเที่ยวรองเพื่อให้ชุมชนได้รับประโยชน์ในวงกว้างขึ้นและนักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์
ท่องเที่ยวที่แปลกใหม่และลึกซึ้งขึ้น
6 ผู้ประกอบการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อร่วมกันพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวให้เหมาะสม
กับความต้องการของนักท่องเที่ยวคุณภาพ เพื่อให้การท่องเที่ยวไทยมีคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม
7 เครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็ง สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และทรัพยากรซึ่งกันและกัน เพื่อให้ภาคประชาชนสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาโดยไม่จำเป็นต้องรอภาครัฐหรือภาคเอกชน
8 เครื่องมือในการวัดผลลัพธ์ความสุขของชุมชนและนักท่องเที่ยวเพื่อให้การพัฒนาการท่องเที่ยว
มีตัวชี้วัดที่ช่วยสร้างสมดุลระหว่างความต้องการของเจ้าบ้านและผู้มาเยือนเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับ
ประโยชน์ร่วมกัน
นอกจากนั้น ยังมีผลลัพธ์อีกมากมายที่จะเกิดขึ้นระหว่างทางของการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้
ด้านต่างๆ กรณีศึกษาการพัฒนาที่สามารถขยายผลได้ และเยาวชนเล็งเห็นโอกาสทางการท่องเที่ยว
ในการกลับมาประกอบอาชีพและพัฒนาบ้านและชุมชนของตนแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่ชุมชนท้องถิ่น
ที่เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ วางแผน มีภูมิคุ้มกัน และมีภาคภูมิใจและ
หวงแหนในทรัพยากรของตนเอง สืบทอดและรักษาวิถีวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนภายใต้
กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก หรือโลกาภิวัตน์เพื่อบรรลุเป้าหมายในการใช้การท่องเที่ยวเป็น
เครื่องมือ ในการพัฒนาชุมชนของตนและให้ได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนซึ่งหากทุกชุมชน
เรียนรู้ที่จะดูแลบ้านตัวเองให้ดี ให้น่าไปเยือน การท่องเที่ยวของประเทศไทยในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศก็จะมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง
เรื่อง : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)