7 GEN กับ Event Tourism

 

 

 

งานวิจัย กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว ททท.

 

 

 

การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม (Event Tourism) เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่สำคัญและกำลังเติบโตในระดับนานาชาติ นอกจากจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวแล้ว กิจกรรม (Event) ยังมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อระบบเศรษฐกิจของเมืองและชุมชนใกล้เคียง รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนให้นักท่องเที่ยวรู้จักผ่านการจัดกิจกรรม เป็นการสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โดยเฉพาะรูปแบบความสนใจของนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินทางเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมที่ให้ประสบการณ์เฉพาะมากขึ้น 

 

 

ความสนใจการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย

  • สัดส่วนของเพศหญิง (50.05%) และเพศชาย (49.95%) ใกล้เคียงกัน
  • เป็นคนกลุ่ม Gen-Y (อายุ 27-42 ปี) มากที่สุด (30.50%)
  • มีรายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง 10,001-30,000 บาทต่อเดือน
  • ความถี่ในการท่องเที่ยวเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อปี
  • มีโอกาสในการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมมากที่สุดในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ / ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ โดยใช้เวลา 1 วัน (ทั้งช่วงเช้าและบ่าย หรือเลยไปถึงกลางคืน)
  • แรงจูงใจในการท่องเที่ยวคือ “เพื่อพักผ่อน เยียวยาจิตใจ ฟื้นฟูพลังให้กลับมาสดใสอีกครั้ง” และ “เปิดหู  เปิดตา เพิ่มประสบการณ์ ได้รับมุมมองใหม่ ๆ ในชีวิต”
  • นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เคยเข้าร่วมงานวัฒนธรรม ความเชื่อ อาหาร โชว์แสงสีเสียง
  • Gen-Y และ Gen-Z เคยเข้าร่วมงานดนตรี การแสดง มากกว่าคนกลุ่มอื่น
  • กลุ่มครอบครัว กลุ่ม Silver Age และ กลุ่ม Gen-X เคยเข้าร่วมงานพืชพันธุ์ ดอกไม้ มากกว่าคนกลุ่มอื่น และส่วนใหญ่สนใจสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จัก มีชื่อเสียง
  • ปัจจัยสำคัญที่นักท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมใช้ในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ 
    1. สิ่งอำนวยความสะดวก 
    2. วิธีการเดินทางไปยังงาน 
    3. กิจกรรมมีความหลากหลาย น่าสนใจ
    4. ช่วงเวลาในการจัดงาน 
    5. สถานที่จัดกิจกรรม, การต้อนรับของคนในพื้นที่ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  • นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะให้น้ำหนักกับสถานที่ ช่วงเวลาในการจัดงาน และค่าใช้จ่าย
  • ช่องทางการรับสื่อ ได้แก่ 
    1. บุคคลใกล้ชิด 
    2. สื่อออนไลน์ 
    3. รีวิว คอมเมนต์ในโซเชียลมีเดีย
    4. โทรทัศน์
  • นักท่องเที่ยวถึง 83.20% เดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวโดยรอบก่อนหรือหลังร่วมกิจกรรม โดยปัจจัยที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้เคียง และจับจ่ายในพื้นที่มากขึ้นขณะไปร่วมงาน ได้แก่ 
    1. มีการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้มาขายสินค้าหรือจัดกิจกรรมในสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่
    2. มีการสร้างสรรค์เรื่องราวหรือกิจกรรมของแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ โดยรอบ ให้เชื่อมโยงกับกิจกรรมที่ไปร่วมงาน
    3. มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในพื้นที่โดยรอบ
  • หมวดงานกิจกรรมที่ทำให้นักท่องเที่ยวท่องเที่ยวนานขึ้น ได้แก่ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม, ศาสนา ความเชื่อ, งานท่องเที่ยว ไทยเที่ยวไทย, พืชพันธุ์ไม้ ดอกไม้ ผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์
  • หมวดงานกิจกรรมที่ทำให้นักท่องเที่ยวยอมจ่ายเงินสูงขึ้น ได้แก่ อาหาร ขนมและเครื่องดื่ม, พืชพันธุ์ไม้ ดอกไม้ ผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์, งานท่องเที่ยว ไทยเที่ยวไทย
  • หมวดงานกิจกรรมที่ทำให้นักท่องเที่ยวยอมเดินทางไกลไปร่วมงาน ได้แก่ งานท่องเที่ยว ไทยเที่ยวไทย, ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม, ศาสนา ความเชื่อ
  • นักท่องเที่ยวชาวไทยสนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่มีแนวคิดหลักเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มีความสนุกสนานและสร้างสรรค์มากที่สุด ถึงแม้ว่ากิจกรรมที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันยังไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าไรนัก แต่ในอนาคตจะเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกิจกรรมระดับนานาชาติที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมด้วย รวมไปถึงกลุ่ม Gen-Z ที่มีความตระหนักถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

 

นักท่องเที่ยวชาวไทยกับมุมมองการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมของประเทศไทย สู่งานกิจกรรมระดับนานาชาติ

  • กิจกรรมระดับประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวไทยมองว่าสามารถผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมในระดับนานาชาติได้ ได้แก่ เทศกาลสงกรานต์ ประเพณีบุญบั้งไฟ และประเพณีแห่เทียนพรรษา
  • สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการ 5 อันดับแรก ภายในงานกิจกรรมระดับนานาชาติ ได้แก่
    1. มีการจำหน่ายสินค้า OTOP/สินค้าพื้นเมือง/สินค้าชุมชนแต่ละจังหวัด
    2. มีการแสดงแสงสีเสียง เพิ่มสีสันให้กับงาน/จัดการแสดงแสงสีเสียงให้ยิ่งใหญ่
    3. มีการประชาสัมพันธ์ โปรโมตงาน/กิจกรรมต่าง ๆ ให้ทั่วถึงมากขึ้น/เชิญสื่อมวลชนมาทำข่าว
    4. มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละภาค
    5. มีการแสดงดนตรี/เทศกาลดนตรี/ดนตรีสด/คอนเสิร์ต
  • ผลกระทบที่อยากให้ผู้จัดงานในระดับนานาชาติให้ความสำคัญ ได้แก่ งบประมาณในการจัดงานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า การประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านในพื้นที่และนักท่องเที่ยวรับรู้ และการกระจายรายได้สู่ธุรกิจหรือชาวบ้านในพื้นที่
  • ปัจจัยที่ผู้จัดงานควรให้ความสำคัญในการจัดงานระดับนานาชาติ ได้แก่ 
    1. ความมีลักษณะเฉพาะของกิจกรรมที่สถานที่อื่นไม่มี/ไม่สามารถทำที่อื่นได้
    2. สิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานที่จัดกิจกรรม
    3. ผลงาน ของรางวัล หรือของที่ระลึกที่ได้จากการร่วมทำกิจกรรม

 

ความสนใจใน Event Tourism ของแต่ละ Gen

 

แหล่งข้อมูล : โครงการศึกษาศักยภาพกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ระดับนานาชาติของประเทศไทย (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)



Share This Story !

0.7 min read,Views: 4589,

Related projects

  • ¡Hola! Spanish Travelers

    ตุลาคม 4, 2024

  • ‘เรื่องเล่น’ เรื่องเล็กน้อยมหาศาล

    ตุลาคม 4, 2024

  • ‘DESERT SUPERCITY’ มหานคร แห่งทะเลทราย

    ตุลาคม 4, 2024