คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยว

ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว

ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2564

 

  • การระบาดของไวรัส COVID-19 สายพันธุ์เดลตารอบใหม่ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่วางแผนเดินทางเข้ามายังประเทศไทยในช่วง ม.ค. – ก.ย. 2564
  • คาดการณ์ว่าการเดินทางเข้าไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวดีขึ้น จากการดำเนินโครงการ Phuket Sandbox การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงข้ามเกาะ (Island Hopping) “สูตร 7+7″
  • หากสถานการณ์ดีขึ้น ตลาดในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวจากแรงหนุนของจำนวนผู้ได้รับวัคซีนแล้วและการเก็บตัวอยู่ในบ้านเป็นเวลานานโดยเฉพาะจากกลุ่มนักท่องเที่ยว Gen Y และ Millennials

 

แนวโน้มสถานการณ์การท่องเที่ยวไทย 

โดย กองกลยุทธ์การตลาด (ททท.)

 

สถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดในประเทศครึ่งปีแรก

 

ตลาดในประเทศ

 

คาดว่าจะยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรุนแรงของเชื้อไวรัส COVID-19  โดยเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2564 สัญญาณการแพร่ระบาดระลอก 3มีความชัดเจนและยืดเยื้อรุนแรงกว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้มีการประกาศมาตรการกึ่งล็อกดาวน์และเคอร์ฟิวกับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด (มีกรุงเทพฯ รวมอยู่ด้วย) ในเดือนสิงหาคม พร้อมกับขอให้ประชาชนงดการเดินทางข้ามจังหวัดโดยไม่จำเป็น รวมถึงมาตรการควบคุมการระบาดผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดฯ ต้องกักตัวเมื่อเดินทางไปจังหวัดอื่น ตลอดจนการห้ามรับประทานอาหารในร้านหลายจังหวัดที่มีการระบาด ขณะเดียวกันระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภทได้ปรับลดจำนวนเที่ยว และบางเส้นทางยกเลิกการให้บริการระหว่างจังหวัดเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งผลจากการระบาดระลอกล่าสุดและการใช้มาตรการต่าง ๆ ส่งผลให้เศรษฐกิจทุกภาคส่วนของประเทศตกอยู่ในภาวะทรุดตัวลงอีกครั้ง และการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศช่วง 9 เดือน ตกอยู่ในภาวะชะลอตัวลง ทำให้จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยอยู่ที่ 28.49 ล้านคน-ครั้ง ติดลบร้อยละ 49 และมีรายได้ 151,100 ล้านบาท ติดลบร้อยละ 53 

 

 

ปัจจัยสนับสนุน

  •  การจัดโปรโมชั่นราคาที่พักจากผู้ประกอบการในพื้นที่ ก่อนที่จะมีการประกาศกึ่งล็อกดาวน์และเคอร์ฟิว 29  จังหวัด ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้คนไทยตัดสินใจซื้อแพ็กเกจ เนื่องจากบางพื้นที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย โดยนักท่องเที่ยวประเมินแล้วว่าโอกาสที่จะติดเชื้ออยู่ในระดับต่ำ จึงเป็นแรงหนุนให้คนไทยกล้าออกเดินทางท่องเที่ยว 

 

ปัจจัยอุปสรรค

  • การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง กระจายเป็นวงกว้าง และเกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส 
  • การกระจายฉีดวัคซีนไม่เป็นไปตามแผน ทำให้คนไทยกังวลไม่มั่นใจที่จะออกเดินทาง
  • เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว หนี้ครัวเรือนและอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้คนไทยระมัดระวังในการใช้จ่าย

 

คาดการณ์ท่องเที่ยวตลาดในประเทศไตรมาส 4 (ตุลาคม – ธันวาคม 2564)

 

 

คาดว่า ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2564 การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศจะมีการขยับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากจำนวนคนไทยได้รับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น กอปรกับประเทศไทยเคยใช้มาตรการล็อกดาวน์และมาตรการเคอร์ฟิว จนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ ซึ่งในไตรมาสที่ผ่านมาได้มีการใช้มาตรการดังกล่าว จึงน่าจะส่งผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดลดความรุนแรงลงและสามารถควบคุมได้

นอกจากนี้ นโยบายเปิดประเทศภายใน 120 วันของรัฐบาล รวมถึง Sentiment คนไทยที่ต้องการออกเที่ยวหลังจากอัดอั้นเก็บตัวอยู่ในบ้านมาเป็นเวลานาน จะเป็นแรงผลักดันให้คนที่ฉีดวัคซีนแล้วตัดสินใจออกเดินทางท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y และ Millennials จะออกเดินทางท่องเที่ยวได้ก่อนกลุ่มอื่น

อย่างไรก็ตาม การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศจะเป็นการฟื้นตัวบางพื้นที่ โดยภูมิภาคระยะใกล้สามารถขับรถเที่ยวได้จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าและบางจังหวัดในภูมิภาคระยะไกลที่เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของคนไทยจะมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วเช่นกัน อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย นครศรีธรรมราช และอุดรธานี ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว คนไทยมีกำลังซื้อน้อย จะส่งผลให้สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศเป็นการเติบโตด้านจำนวนการเดินทางมากกว่ารายได้ ดังนั้นในไตรมาส 4 ปี 2564 คาดว่าจำนวนการเดินทางท่องเที่ยวและรายได้ขยับตัวเพิ่มขึ้นมาก แต่ก็ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อเทียบกับปีก่อนเกิดวิกฤติ COVID-19

 

แนวโน้มสถานการณ์การท่องเที่ยวไทย มกราคม – กันยายน ปี 2564

 

ตลาดต่างประเทศ

 

การเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยในช่วง ม.ค. – ก.ย. 2564 ยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง จากปัจจัยลบหลัก คือ การระบาดของไวรัส COVID-19 สายพันธุ์เดลต้ารอบใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางระหว่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดเอเชียแปซิฟิกที่จำเป็นต้องคงมาตรการคุมเข้มการระบาดในประเทศและจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศต่อเนื่อง เสริมซ้ำด้วยสถานการณ์การระบาดระลอกเดือน

เมษายนของไทย ที่ยืดเยื้อทวีความรุนแรงและยังไม่สามารถควบคุมได้ ได้ลดทอนความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้หลายประเทศ ยกระดับประเทศไทยให้อยู่ในกลุ่มประเทศความเสี่ยงสูงในการเดินทางท่องเที่ยว กอปรกับคู่แข่งที่เป็นเมืองปลายทางยอดนิยมของโลกผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทางท่องเที่ยวฤดูร้อนสำหรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีน ครบโดส มุ่งดึงตลาดยุโรปและอเมริกาที่มีศักยภาพพร้อมเดินทางเข้าประเทศ

 

สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมามากกว่าครึ่งมาจากตลาดยุโรปและอเมริกา ที่มีการฉีดวัคซีนให้ประชากรแล้วเป็นจำนวนมากและยังมีแนวโน้มที่จะเดินทางเข้าไทย

เพิ่มขึ้นผ่านโครงการPhuket Sandbox การเปิดเมืองระยะแรกตามแผนเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นสัญญาณบวกที่บ่งชี้ว่าไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวต้องการ

เดินทางท่องเที่ยว หากมีการผ่อนคลายมาตรการเดินทางระหว่างประเทศของประเทศต้นทางในช่วงต่อไป

 

นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยแบ่งตามภูมิภาคช่วง 9 เดือนแรก ปี 2564

 

หมายเหตุ: ประมาณการ โดย ททท. ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2564

 

5 อันดับสูงสุดจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ ช่วง 9 เดือนแรกปี 2564

 

 

หมายเหตุ: ประมาณการ โดย ททท.ณ วันที่ 17 มิ.ย. 2564

 

ปัจจัยสนับสนุน

  • นักท่องเที่ยวตลาดหลักที่ได้รับวัคซีนแล้วจำนวนมาก: จีน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิสราเอล กลุ่มประเทศยุโรป และสิงคโปร์
  • หลายประเทศผ่อนคลายเงื่อนไขการเดินทางระหว่างประเทศสำหรับผู้ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว: สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา อิสราเอล เยอรมนี และฝรั่งเศส 
  • การผ่อนคลายมาตรการให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย เช่น ออกวีซ่าให้นักท่องเที่ยวประเภทต่าง ๆ , อนุญาตให้ทำการบินแบบ Semi-Commercial Flight
  • ไทยเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่เปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบโดส ผ่านโครงการ Phuket Sandbox (1 ก.ค. 2564) และ Samui Plus (Sealed Route) (15 ก.ค. 2564) 
  • มีเที่ยวบินรองรับการเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อสนับสนุนโครงการ Thailand Reopening จากภูมิภาคตะวันออกกลาง ยุโรป และเอเชีย รวม 14 ประเทศ
  • การส่งเสริมตลาดอย่างต่อเนื่องของ ททท. อาทิ 
    • สร้างความเชื่อมั่นและสร้างการรับรู้ในต่างประเทศ ให้ ประเทศไทยยังคงเป็น “Top of mind” ในใจนักท่องเที่ยว 
    • สร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยด้วยมาตรฐาน SHA: Amazing Thailand Safety & Health Administration 
    • ส่งเสริมการขาย Pre-sale และกระตุ้นการซื้อล่วงหน้า เช่น “Book Now, stay Later” “Book now, travel later”  “Flexible deal” 
    • ต่อยอด Phuket Sandbox ด้วยโครงการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวข้ามเกาะ (Island Hopping) สูตร 7+7 (ภูเก็ต+สุราษฎร์ฯ,ภูเก็ต+กระบี่, ภูเก็ต+พังงา) 
  • ภาพลักษณ์เชิงบวกของไทย: ภูเก็ตติด TOP10 สถานที่ท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก (มิ.ย. 2564)  มาตรฐาน SHA เทียบเท่าระดับสากล (เม.ย. 2564)

 

ปัจจัยอุปสรรค

  • การระบาดระลอกใหม่จากไวรัส COVID-19 สายพันธุ์เดลต้าในต่างประเทศ
  • ตลาดหลักของประเทศไทยเกิดการระบาดรอบใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และกลุ่มประเทศในอาเซียน
  • ประเทศไทยระงับออก COE สำหรับประเทศที่มีการระบาดโควิดรุนแรง: ได้แก่ ประเทศแถบเอเชียใต้ และแอฟริกา
  • ประเทศต่าง ๆ กลับมาคุมเข้มมาตรการจำกัดการระบาด เช่น Lockdown ปิดพรมแดน ห้ามเดินทางต่างประเทศ กำหนดกลุ่มรายชื่อประเทศที่พลเมืองสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ตามระดับความเสี่ยง (Traffic Light System) 
  • ความล่าช้าในการฉีดวัคซีนของประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชีย ยกเว้นประเทศจีน  
  • จุดหมายปลายทางคู่แข่งขันติดอันดับ TOP 5 ของโลกเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบโดส เช่น ฝรั่งเศส สเปนและอิตาลี (มิ.ย. 2564) 
  • สหภาพยุโรปถอนประเทศไทยออกจากบัญชีรายชื่อ“กลุ่มประเทศที่มีความปลอดภัย” (วันที่ 15 ก.ค. 2564)
  • ประสิทธิภาพการรับมือ COVID-19 ของประเทศไทยลดลง: ดัชนีฟื้นตัวจากโควิด (COVID-19 Recovery Index) อยู่อันดับสุดท้ายจากทั้งหมด 120 ประเทศ/ดินแดนทั่วโลกโดย Nikkei (ก.ค. 2564) การรับมือ COVID-19 ตกจากอันดับ 9 ไปอยู่อันดับ 13 ของโลกโดย Bloomberg (พ.ค. 2564) 
  • ภาพลักษณ์เชิงลบของประเทศไทยเกี่ยวกับความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว กรณีเหตุฆาตรกรรมนักท่องเที่ยวต่างชาติในจังหวัดภูเก็ต (ส.ค. 2564)
  • หลายประเทศห้ามการเดินทางมาประเทศไทย (Travel Advisory) อาทิ มาเลเซีย ตุรกี นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ไต้หวัน และบราซิล 
  • ประเทศไทยกลับมาดำเนินมาตรการกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศ 14 วัน ยกเว้นผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสเข้าโครงการ Phuket Sandbox  (ตั้งแต่ 1 พ.ค. 2564) 

 

คาดการณ์สถานการณ์การท่องเที่ยวไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2564 (ตุลาคม – ธันวาคม)

ตลาดต่างประเทศ

 

 

ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 คาดว่า การเดินทางเข้าประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 3 จากการดำเนินการตามโครงการ Phuket Sandbox การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงข้ามเกาะ (Island Hopping) “สูตร 7+7” และการทยอยเปิดเมืองเพิ่มเติม ตามแผนการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนตุลาคมเป็นต้นไป โดยมีปัจจัยสนับสนุนคือ การฉีดวัคซีนของนักท่องเที่ยวตลาดหลักเพิ่มจำนวนมากขึ้น นานาประเทศผ่อนคลายข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศ การจองการเดินทางเข้าไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว และความสะดวกในการเดินทางด้วยเที่ยวบินตรงสู่ไทยในช่วงฤดูท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นที่ต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดซึ่งอาจส่งผลให้ การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวประเทศไทยเป็นไปได้ช้า อาทิ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลกยืดเยื้อรุนแรง ตลาดนักท่องเที่ยวหลักคงมาตรการห้ามการเดินทางมาประเทศไทย รวมถึงการทำการตลาดเชิงรุกด้านการท่องเที่ยวเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการแข่งขันของคู่แข่งในแถบเอเชีย         

 

ปัจจัยสนับสนุน

  • การเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตามโครงการ Phuket Sandbox และขยายไปยังพื้นที่นำร่องอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง
  • ผู้ได้รับวัคซีนจำนวนมากในตลาดหลักมีโอกาสเดินทางออกต่างประเทศ
  • เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิสราเอล จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ 
  • แนวโน้มการจองการเดินทางเข้าประเทศไทยล่วงหน้าเริ่มดีขึ้นจากตลาดตะวันออกกลาง อเมริกา และยุโรป
  • ความสนใจในการเดินทางมาไทยของตลาดหลัก เช่น สหราชอาณาจักร:“กรุงเทพฯ” อันดับ 1 จุดหมายปลายทางระยะไกลที่มีการค้นหาเพื่อท่องเที่ยวมากสุดในเดือน ต.ค. ของชาวอังกฤษโดย Skyscanner ญี่ปุ่น: “กรุงเทพฯ” ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 3 และ “ภูเก็ต” ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 10 ในการในการใช้เป็นคำค้นหาสำหรับวางแผนเดินทางในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่โดย Expedia Japan
  • แผนการบินเข้าประเทศไทยในฤดูท่องเที่ยวไทย รวม 96 เที่ยว/สัปดาห์ มาจากทวีปยุโรปและตะวันออกกลาง (11 ประเทศ) และเอเชีย (7 ประเทศ)

 

ประเด็นติดตาม 

  • ถานการณ์การแพร่ระบาดในตลาดหลัก อาทิ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย 
  • การควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย และการเร่งฉีดวัคซีนให้คนไทย หากสถานการณ์ยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาส 4 อาจส่งผลต่อการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในพื้นที่นำร่องอื่น ๆ อาทิ  ชลบุรี (พัทยา) เชียงใหม่ หัวหิน และชะอำ
  • การปรับสถานะเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูง หากสถานะของประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงขึ้น อาจทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมีขั้นตอนเดินทางกลับเข้าประเทศยุ่งยากขึ้น 
  • การอนุญาตให้เดินทางต่างประเทศและมายังไทยของตลาดหลัก อาทิ กลุ่มประเทศในเอเชียใต้ จีน และออสเตรเลีย 
  • การส่งเสริมการตลาดเชิงรุกของคู่แข่งขันในทวีปเอเชียเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบโดส อาทิ ประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเวียดนาม

 

แนวโน้มการเปิดประเทศของประเทศคู่แข่งขัน

 

Share This Story !

Published On: 12/10/2021,2.6 min read,Views: 322,

Related projects

  • ¡Hola! Spanish Travelers

    กันยายน 24, 2023

  • ‘เรื่องเล่น’ เรื่องเล็กน้อยมหาศาล

    กันยายน 24, 2023

  • ‘DESERT SUPERCITY’ มหานคร แห่งทะเลทราย

    กันยายน 24, 2023